รีวิว Jimu Robot – Astrobot สนุกกับตัวต่อหุ่นยนต์ พร้อมโปรแกรมมิ่งสำหรับเด็ก

ปัจจุบันหุ่นยนต์ นับเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้าใกล้ชีวิตประจำวันเข้ามาทุกที และยิ่งมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์มากขึ้น และปัจจุบันยิ่งมีการใส่ A.I. ลงไปในหุ่นยนต์ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เป็นมากกว่าหุ่นยนต์ทั่วๆ ไป โดยงานนี้ผมขอจับเอาเจ้า Jimu Robot มาแนะนำกันหน่อยครับ งานนี้ทาง systems2000 เป็นผู้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดย Jimu Robot นี่เจ้าของคนผลิตคิดค้นก็คือ UBTECH นั่นเอง ซึ่งมีอีกหลายรุ่นที่ออกมาให้เล่นกัน รวมถึงมีเจ้า Robot ที่เป็น A.I. สุดฉลาดอีกต่างหาก เอาเป็นว่าวันนี้เอาเจ้า Jimu Robot Astrobot รุ่นหนึ่งในจำนวนหลากหลายรุ่นมารีวิว งานนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น ไม่ใช่แค่วัยทำงานที่เติมเต็มฝันในวัยเด็ก แต่ทว่าใครที่มีลูกหลานล่ะก็ ลองมาเล่นเจ้า Jimu Robot กันดีกว่า จะไปเล่นมือถืออย่างเดียวนะ

UBTECH เป็นแนวหน้าในเรื่องของหุ่นยนต์เลยก็ว่าได้ ซึ่งมีมากมายหลายรุ่นให้เลือกกัน มีตั้งแต่ Jimu Robot ที่เป็นหุ่นถอดประกอบได้ เหมือนกับต่อบล็อคหรือเลโก้ ยังมี Aphla ซีรีส์ ที่เป็นหุ่นยนต์สุดฉลาด ที่ทำตามคำสั่งและโต้ตอบได้ และยังมี Stormtrooper ออกมาด้วย สำหรับคนชอบ Starwar งานนี้มีหุ่นยนต์ออกมาให้เล่นและสะสม ไม่แค่นั้นยังมีตัวใหม่สุดๆ Cruzr ที่เป็น Intelligent Humanoid Service Robot ซึ่งเป็นหุ่นยนต์สำหรับการบริการโดยเฉพาะ เรียกว่าครบตั้งแต่การเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์ การใส่คำสั่ง AI และการนำมาช่วยในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา อนาคตที่จะอยู่ร่วมกับหุ่นยต์คงไม่ไกลอีกแล้ว

แต่วันนี้จะเอาตัวเบสิค ที่เป็นซีรีส์ Jimu มาแนะนำกันครับ เจ้า Jimu robot มีอยู่หลายรุ่นเช่นกัน และ Astrobot Kits เป็นหนึ่งในชุดสุดคุ้ม ที่สามารถประกอบร่างได้ถึง 3 รูปแบบด้วยกัน โดย Astrobot ประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญคือ  Servo 5 ชิ้นซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนข้อต่อต่างๆ มี 1 Sensor สำหรับตรวจสอบสิ่งกีดขวางด้านหน้า มีลำโพง 1 ลำโพง และ LED 2 ดวงที่เป็นตาของเจ้า Astrobot นั่นเอง

Jimu Robot Astrobot สามารถแปลงร่างได้ 3 แบบ คือเป็นทั้ง หุ่นยนต์นักสำรวจ หุ่นยนต์ร่างปกติที่เน้นการเดินและเคลื่อนไหว และหุ่นยนต์แบบผสมที่สามารถเดินไปข้างหน้าด้วยล้อและมีมือหยิบจับของได้ แต่หลักๆ วันนี้จะมาโชว์แบบสุดท้ายนะ

เจ้า Astrobot เป็นรุ่นที่แปลงร่างหรือประกอบร่างได้ 3 แบบ ซึ่งแต่ละแบบมีคู่มือการต่อไม่ยากเลย สามารถดาวโหลดแอป Jimu มาติดคเรื่องเอาไว้พร้อมสนุกไปกับ Jimu Astrobot ได้เลย มีิวิธีการต่อแบบ step by step บอกการต่อชิ้นต่อชิ้น จนเสร็จ แต่อย่าให้ชิ้นส่วนหายล่ะ

โดยข้อดีของการประกอบเป็นชิ้นๆ แบบนี้ คือการฝึกสมาธิให้อยู่นิ่งหรือจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า อันนี้เรียกว่าเป็นการฝึกเด็กๆ หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่อย่างเราได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว หลายคนที่ไม่สามารถนั่งอยู่กับที่ได้นานๆ แต่ถ้ารักและชอบการต่อตัวต่อหรือบล็อคหรือเลโก้ ก็น่าจะชอบต่อเจ้า Astrobot เหมือนกันนะ

มาดูเจ้า Astrobot กันก่อนครับ ชิ้นส่วนต่างๆ เมื่อต่อแล้ว ก็จะกลายเป็นลักษณะตืนตะขาบจอมลุย รวมเอานักสำรวจและหุ่นยนต์รวมด้วยกัน มีแขนสองข้างสำหรับหยิบจับได้ ที่สนุกกว่านั้นก็คือ การสั่งงานให้เคลื่อนไหวไปตามความต้องการของเรา หากเป็นเด็กๆ อายุตั้งแต่ประมาณ 3 ขวบขึ้นไป จะสนุกกับการคอนโทรลซะมากกว่า แต่หากเป็นเด็กโตหน่อย ก็จะมีเรื่องของโปรแกรมมิ่งเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงชิ้นส่วนที่เด็กเล็กๆ อาจจะยังไม่คล่องในการต่อ เพราะมีทั้งชิ้นเล็กและชิ้นใหญ่ การประกอบก็ต้องมีความเข้าใจ ซึ่งอันนี้พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องคอยประกอบ ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็กโตแล้วก็เช่นกันครับ ใช้เวลาอยู่กับเด็กๆ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของครอบครัวได้เลย

 

ส่วนของเซอโวข้อต่อตรงส่วนของแขน ที่ช่วยให้ขยับตามทิศทางที่ต้องการได้ โดยส่วนของเซอโวนี้ หากปิดเครื่องจะสามารถขยับได้ตามสบาย แต่ถ้าเปิดใช้งานอยู่ ต้องแนะนำเด็กๆ ด้วยว่าห้ามขยับตามใจชอบ ไม่งั้นเซอโวจะเสียเร็วขึ้นนะ

นอกจากชิ้นส่วนสำคัญก็คือเซอโวหรือตัวขับเคลื่อนตามข้อต่อต่างๆ และที่ดวงตาที่เป็นไฟ LED สามารถโปรแกรมให้แสดงความรู้สึกต่างๆ ได้ด้วย รวมถึงยังมีลำโพงในตัวส่งเสียงได้อีกด้วย

ตัวสวิทช์ปิด และเปิดเป็นแบบเลื่อนตามปกติ ใช้งานง่าย

ส่วนของ socket จุดเชื่อมต่อก็แน่นหนาด้วยตัวล็อคมาตรฐาน ตรงจุดนี้ที่เด็กเล็กๆ อาจจะยังไม่เข้าใจ ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็กโตแล้วก็ต้องสอนเรื่องทิศทางการใส่กันอีกหน่อย เพราะไม่ได้เป็นเหมือนเลโก้ตามปกติเท่านั้น ส่วนนี้เป็นส่วนของการเชื่อมต่อกลไกต่างๆ เข้าด้วยกันที่ตัวประควบคุมที่อยู่ตรงกลางนี่ล่ะ

Sensor ที่อยู่ด้านหน้าสำหรับตรวจวัตถุเป็นระยะทางไม่ไกลนัก สำหรับตรวจสอบว่าจะชนกำแพงหรือไม่ หรืออาจจะตรวจสอบว่ามีสิ่งของด้านหน้าหรือเปล่า ถ้ามีก็ใช้คำสั่งหยิบของขึ้นมาได้ อะไรลักษณะนี้ล่ะครับ

 

การโปรแกรมมิ่ง ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถฝึกให้เด็กไทยในยุคนี้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องหุ่นยนต์ให้หันมาเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมแบบง่ายได้ง่ายๆ บน Smartphone ผ่านแอป Jimu นี่ล่ะ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนเลยล่ะ

ในแง่มุมของคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สนุกกับลูกได้เช่นเดียวกัน เด็กเล็กๆ อย่าลูกผม 3 ขวบก็สนใจเล่น เข้าใจในการบังคับ ควบคุมให้เดินไปในทิศทางต่างๆ หรือทำท่าแอคชั่นที่มีให้เดิมอยู่แล้ว

 

คราวนี้มาดูเรื่องของแอปเพิ่มเติมกันบ้างครับ

ตัวแอปสามารถดาวโหลดได้ทั้งบน Android และ iOS ชื่อ Jimu โดยมีเนื้อเรืื่องพร้อมการใช้งานเบื้องต้นแนะนำกันไปจนถึงระดับ advance เรียกว่าเป็นคอร์สของ Jimu ก็ไม่ผิดครับ เมื่อเรียนรู้จบบทแรกก็จะเป็นการปลดล็อคด่านต่อไป ถือว่าเป็นการเล่นเกมส์และเรียนรู้ไปในตัว

ซึ่งไม่ใช่จะมีแต่เจ้า Astrobot เท่านั้น ยังมีหุ่นยนต์รุ่นอื่นๆ อีกเพียบเช่น Buzzbot Meebot, Inventor, Builderbot และอีกเพียบ แถมยังมีชุด Kits เพิ่มเติม ที่จะต่อยอดไอเดียให้ไม่เหมือนใครได้อีกด้วย

รองรับการเขียนคำสั่งควบคุมใหม่ๆ ได้ตามต้องการ อย่างง่ายเลย แค่ลากไปตามตำแหน่งต่างๆ

หรือถ้าหาก advance ขึ้นมาอีกหน่อย เราสามารถเขียนคำสั่งลงไปได้ตามจินตนาการเลยครับ อยากให้เจ้า Astrobot เคลื่อนไหวยังไง จัดเต็มได้หมด ไม่ต้องนั่งเขียน code แค่เพียงเลือกว่าอยากจะทำอะไร เช่นขับซ้ายหรือขวา เดินไปมา ก็เลือกที่ Move ได้เลย เมื่อใส่คำสั่งเรียบร้อยอย่าลืมเซฟเก็บไว้ด้วยล่ะ สำหรับเรียกใช้งานในภายหลัง

ส่วนใครที่ซื้อมาแล้วคิดว่าเล่นคนเดียวไม่สนุก คิดผิดแน่นอน เพราะทาง Jimu มีคอมมูนิตี้ออนไลน์ให้เล่นกับเพื่อนทั่วโลกได้ ไม่จบสิ้น มีตัวอย่างการเคลื่อนไหว คำสั่งใหม่ๆ ให้ติดตามอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แค่ดูอย่างเดียว ยังแจมได้อีกด้วยโดยการอัดวีดีโอ และโพสต์ลงไปในคอมมูนิตี้ โชว์ว่าเด็กไทยเราก็ทำได้เช่นเดียวกัน โดยผ่าน Jimu แอปนี่ล่ะครับ

Jimu Robot มีมากมายหลายรุ่นให้เลือก แต่ตัวที่คุ้มก็น่าจะเป็นเจ้า Astrobot นี่ล่ะครับ ที่สามารถประกอบร่างได้ 3 แบบ เด็ก 3 ขวบก็เล่นได้ไม่ยาก รวมถึงคุณพ่ออย่างผมที่ในวัยเด็กไม่มีของเล่นแบบนี้ให้เล่น มายุคนี้ก็ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเลย ใช้เวลาครอบครัวร่วมกัน ห่างไกลบรรดาคอนเทนต์อื่นๆ ที่เราควบคุมไม่ได้บน Smartphone และยังเสริมสร้างสมาธิได้อีกด้วย ใครที่สนใจก็อาจจะยังไม่ต้องไปลงเรียนที่โรงเรียน หรือสถาบันต่างๆ ที่เปิดสอนคอร์สละเป็นหมื่น เริ่มต้นที่เจ้า Jimu Robot กันก่อน ได้หุ่นยนต์มาติดบ้านด้วย และยังสามารถใช้งานได้อีกยาวๆ กันไป หากสนใจจริงก็เข้าไปเรียนในสถาบันกันจริงๆ จังๆ อีกทีนึงก็ไม่สายนะ

โดยตัวแทนนำเข้ามาจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยคือ บริษัท Systems2000 เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันได้ที่เว็บไซด์ http://www.systems2000.co.th/

 บทความนี้เป็นบทความ Advertorial



ถูกใจบทความนี้  39