รีวิว Asus Zenfone 3 Laser (ZC551KL) รุ่นไม่ใหญ่แต่โคตรคุ้มค่า

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-001

Asus Zenfone 3 Laser เป็นสมาร์ทโฟนในระดับช่วงราคาไม่เกินหมื่นบาทที่น่าสนใจตัวหนึ่งเลย แม้จะมองจากสเปคบนกระดาษก็ตามเพราะว่ามาพร้อม CPU Octa Core, Ram 3GB, มีพื้นที่ตัวเครื่อง 32GB และยังมีหน้าจอ Full HD ขนาดใหญ่ 5.5 นิ้ว อีกด้วย แน่นอนว่าเป็นรุ่น Laser ฉะนั้นจึงเน้นในส่วนของกล้องที่ให้ Laser Focus ติดมาด้วยเพื่อช่วยในการโฟกัสภาพถ่ายให้ดียิ่งขึ้น แต่จะดีจริงอย่างที่ผมบอกไว้ในตอนต้นหรือไม่คงต้องมาดูผลการรีวิวกันล่ะ

Asus Zenfone 3 Laser Specs:
– หน้าจอ IPS LCD ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD
– Qualcomm MSM8937 Snapdragon 430 Octa Core 1.4GHz
– Ram 3GB
– หน่วยความจำภายในตัวเครื่อง 32GB
– รองรับ Micro SD Card สูงสุด 256GB
– กล้องหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ค่ารูรับแสง 2.0 พร้อม Laser Focus และไฟแฟลช LED คู่ เซ็นเซอร์กล้องขนาด 1/3 นิ้ว
– กล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล ค่ารูรับแสง 2.0
– รองรับการใช้งาน 2 ซิมการ์ด หรือ 1 ซิมการ์ด+Micro SD
– รองรับ LTE: 1(2100), 2(1900), 3(1800), 5(850), 6(900), 7(2600), 8(900), 18(800), 19(800), 28(700), 38(2600), 41(2500)
– Fingerprint Scanner
– ขนาดตัวเครื่อง 149 x 76 x 7.9มม.
– น้ำหนัก 150 กรัม
– แบตเตอรี่ 3,000mAh
– Android 6.0.1 Marshmallow
– ราคา 8,990 บาท

แกะกล่อง

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-002

กล่องของ Zenfone 3 Laser เป็นกล่องสีขาวล้วน ดีไซน์กล่องยังเหมือนรุ่นก่อนๆ คือมีโชว์หน้าตาตัวเครื่อง ด้านข้างนึงบอกรุ่นอีกข้างบอกสเปคคร่าวๆ ส่วนด้านหลังก็พวก S/N, IMEI

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-003

อุปกรณ์ในกล่องประกอบด้วย
1.ตัวเครื่อง Zenfone 3 Laser
2.Adapter จ่ายไฟ 5.2V 1A
3.สาย Micro USB
4.Small talk แบบ In Ear
5.เข็มจิ้มซิม

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-004

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-005

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-006

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-007

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-008

ตัวเครื่อง Asus Zenfone 3 ที่ได้มารีวิวนั้นเป็นสีทองซึ่งตัวเครื่องเป็นแบบ Unibody ไม่สามารถถอดแบตมาเปลี่ยนเองได้ และใช้โลหะในการทำพร้อมชุบสีเป็นทองด้าน ทำให้ไม่เป็นรอยนิ้วมือได้ง่าย

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-009

ด้านหลังตัวเครื่องเนียนสวยดูดีเกินราคา

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-010

เหนือหน้าจอมีลำโพงสำหรับสนทนา, ทางซ้ายเป็นเซ็นเซอร์ ทางขวาเป็นกล้องหน้า

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-011

ใต้หน้าจอมีปุ่มสัมผัสตามสไตล์ Asus ประกอบด้วยปุ่ม Back, Home, Recent Apps

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-012

ด้านหลังตัวเครื่องมีกล้องถ่ายรูปพร้อม Laser Focus และไฟแฟลช LED ส่วนใต้กล้องถ่ายรูปนั้นเป็นเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-013

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-014

ด้านบนของตัวเครื่องมีไมโครโฟนตัวที่สองสำหรับตัดเสียงรบกวนขณะสนทนา และมีช่องเสียบหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5มม.

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-015

ด้านซ้ายของตัวเครื่องไม่มีปุ่มอะไรอยู่ แต่มีช่องให้จิ้มถาดซิมออกมา

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-016

ซึ่งถาดซิมของรุ่นนี้จะเป็นแบบ Hybrid slot คือต้องเลือกใช้งานระหว่าง Sim + Micro SD หรือ Sim + Sim

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-017

ด้านขวาของตัวเครื่องมีปุ่มเพิ่มลดเสียงและปุ่ม Power

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-018

ด้านล่างมีช่องเสียบสายชาร์จ/ซิงค์ แบบ Micro USB, ทางซ้ายมีไมโครโฟนและทางขวาเป็นลำโพงตัวเครื่อง

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-019

ขนาดหน้าจอ 5.5 นิ้วก็จริงแต่ตัวเครื่องไม่ได้ใหญ่มากเพราะขอบบนล่างไม่ได้สูงเท่าไหร่นัก

Asus-Zenfone-3-Laser-Unbox-020

ลองเทียบขนาด Zenfone 3 Laser กับ Huawei P9 Plus ดูนี่แอบเตี้ยกว่าเล็กน้อยนั่นก็คือเล็กกว่าหน่อยนั่นเอง

User Interface

Asus-Zenfone-3-Laser-interface

Zenfone ไม่ว่าจะรุ่นไหนก็ยังคงใช้ Zen UI เหมือนกันหมดคือเป็น UI ที่มีการแบ่งหน้า App Drawer, Home Screen ซึ่งสามารถสร้าง Folder และมีการแจ้งเตือนบอกว่ามีอะไรเข้ามาบ้างจำนวนเท่าไหร่แล้ว

ส่วน Notification Bar แบ่งออกเป็น 2 ชั้นโดยชั้นแรกจะเป็นการแจ้งเตือนต่างๆ ที่เข้ามาแต่หากลากอีกครั้งจะเจอกับทางลัดในการเปิดปิด Wi-Fi, Bluetooth ฯลฯ

ZenMotion

Asus-Zenfone-3-Laser-zenmotion

ZenMotion ยังคงใส่มาให้เช่นเดิมไม่มีการตัดออก เป็นการใช้ท่าทางต่างๆ ในการควบคุมเครื่อง อาทิเช่น เคาะหน้าจอสองครั้งเพื่อเปิดปิดหน้าจอ หรือจะวาดอักษรขณะหน้าจอดับเพื่อเข้าแอพพลิเคชั่นทันทีก็สามารถทำได้เช่นกัน

ทั้งนี้ยังมี One Hand Mode เผื่อเวลาใช้มือเดียวละลากไม่ถึงก็จะทำการย่อขนาดหน้าจอลงมาด้วย

Themes

Asus-Zenfone-3-Laser-theme

Theme ของตัวเครื่องสามารถเปลี่ยนได้ด้วยซึ่งต้องไปดาวน์โหลดเพิ่มเติม ทั้งนี้มีทั้งแบบเสียเงินและแบบฟรี

Power Saver

Asus-Zenfone-3-Laser-power

การจัดการพลังงานของตัวเครื่องมีโหมดพลังงานให้เลือกหลากหลาย แต่จริงๆ ใช้ Normal ตามเดิมที่ตั้งมาก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานแล้ว นอกจากแบตใกล้หมดค่อยปรับเป็นโหมดประหยัดพลังงาน เพราะว่าตัวเครื่องใช้ชิปเซ็ตที่ไม่ได้กินพลังงานมากนัก จากการใช้งานจริงถ้าไม่เล่นหนักๆ นั้นบอกได้เลยว่ารอดวันนึงสบายๆ มาก

Benchmark

Asus-Zenfone-3-Laser-Benchmark

ทดสอบประสิทธิภาพตัวเครื่องผ่านแอพฯ Benchmark ต่างๆ ได้ผลดังนี้
– Antutu: 44278 คะแนน
– Geekbench4: Single Core 637, Multi Core 1993
– Quadrant Standard: 20730
– Multitouch: 10 จุด

กล้องถ่ายรูป

Asus-Zenfone-3-Laser-camera-001

Asus Zenfone 3 Laser มาพร้อมกล้องถ่ายรูปหลักความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ค่ารูรับแสง 2.0 พร้อม Laser Focus และไฟแฟลช LED คู่ เซ็นเซอร์กล้องขนาด 1/3 นิ้ว และมีกล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล ค่ารูรับแสง 2.0

ที่เด็ดคือตัวเครื่องสามารถตั้งถ่ายภาพแบบ HDR Auto ได้โดยตัวเครื่องจะประมวลผลเองอัตโนมัติว่าภาพไหนควรใช้ HDR หรือไม่ใช้ ซึ่งก็จะช่วยให้การถ่ายภาพง่ายขึ้นมาก

Asus-Zenfone-3-Laser-camera-mode-001

โหมดถ่ายรูปต่างๆ ของกล้องหลังมีเยอะมาก เยอะขนาดไหนลองดูในภาพเอาละกัน

Asus-Zenfone-3-Laser-pro-mode

แม้จะเป็นสมาร์ทโฟนราคาไม่แพงแต่ก็มีโหมดโปรมาให้ซึ่งสามารถปรับตั้งค่าเองได้ตั้งแต่ White Balance, EV, ISO, Speed Shutter, Focus

Asus-Zenfone-3-Laser-camera-002

Zenfone 3 Laser มีโหมด Depth of field ด้วยซึ่งโหมดนี้จะทำการถ่ายรูปสองครั้งและนำภาพทั้งสองมาประมวลรวมผลกันเพื่อทำภาพหน้าชัดหลังเบลอ พอถ่ายเสร็จก็จะให้เราปรับค่าทันทีว่าจะเอาเบลอแค่ไหน หากเลือกเสร็จแล้วจะไม่สามารถกลับมาแก้ไขความเบลอของภาพได้

Asus-Zenfone-3-Laser-camera-003
กล้องหน้ามาพร้อมโหมด Beautification ที่ยังคงจัดเต็มเหมือนเดิมคือปรับได้ทั้งตาโต หน้าเรียว หน้าเนียน หน้าบริ๊ง หรือจะแต้ม Brush ก็ได้อีก ซึ่งแต่ละค่าสามารถปรับเอาเองได้เลย อันนี้ถือว่าดีงามสำหรับสาวๆ มาก

Asus-Zenfone-3-Laser-camera-mode-002
ส่วนโหมดการถ่ายรูปจากกล้องหน้าก็มีให้เยอะไม่แพ้กันเลยล่ะ เอาจริงๆคือ ให้มาเยอะไปไหมเทออ

ต่อไปเป็นตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องของ Zenfone 3 Laser ซึ่งแน่นอนว่าภาพทุกภาพมิได้มีการตกแต่งใดๆ นอกเสียจากย่อขนาดภาพและใส่ลายน้ำเข้าไปเท่านั้น โดยภาพที่ถ่ายส่วนใหญ่จะใช้โหมด Auto และตั้ง HDR Auto และจะมีบางส่วนที่ใช้โหมด Depth of field

เริ่มจากภาพช่วงเวลาเช้าเมื่อแดดออกก่อนเลย

Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-001
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-002
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-003
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-004
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-005

ตอนกลางวันกันบ้าง
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-008
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-010
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-011
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-012
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-013

ตอนเย็น
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-014

ภาพแสงน้อยกันบ้าง
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-015

ต่อไปลองถ่ายอาหาร, วัตถุต่างๆ ดู
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-016
ภาพนี้เวลาประมาณบ่ายสองบ่ายสาม แดดส่องมาเต็มๆ

Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-017
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-018
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-019
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-020

ลองโหมด Depth of field หน่อย ถ้าระยะวัตถุห่างกับฉากหลังนี่ก็พอใช้งานได้เลยล่ะ 

Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-021

Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-022
ต่อไปลองถ่ายอาหารในสภาวะแสงน้อย เป็นแสงเหลืองๆ บางๆ ส่องลงมาที่โต๊ะ

Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-023
Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-024
แสงน้อยก็ยังใช้โหมด Depth of field ได้นะ

Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-025

Asus-Zenfone-3-Laser-Sample-Picture-026

 

ปิดถ่ายด้วยตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องหน้าที่มีแสงส่องมาจากหน้าต่างทั้งด้านหน้าด้านหลัง ยังคงเก็บรายละเอียดหน้าได้ดีอยู่จริงๆ (อันนี้ Beauty 5) แถมหน้าเด้งได้อีก ฮ่าๆๆ

สรุป: Asus Zenfone 3 Laser เป็นสมาร์ทโฟนที่อยุ่ในระดับราคาไม่เกินหมื่นบาทที่จัดเต็มทั้งวัสดุ, สเปคตัวเครื่องที่ใช้งานได้ลื่นๆ สบายๆ มีพื้นที่ในเครื่องให้ค่อนข้างเยอะเลย และให้กล้องถ่ายรูปคุณภาพดีในระดับที่หาคู่แข่งราคานี้ได้ยากอยู่ เพราะจากภาพถ่ายที่ได้หลังกล้องนี่ถือว่าประทับใจพร้อมใช้งานได้เลยนะ แต่สภาวะแสงน้อยก็ยังแย่ๆ อยู่ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติของสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว ทั้งนี้แบตเตอรี่ก็มีขนาดใหญ่ตามมาตรฐานซึ่งจากการใช้งานคือจะเล่นหนักช่วงเดินทางคือเช้าเย็น ยังมีแบตเหลือกลับบ้านสบายๆ แบบไม่ต้องกังวลอะไร

ส่วนข้อเสียนั้นจะมีเรื่องของถาดใส่ซิมที่เป็นแบบ Hybrid Slot ซึ่งไม่สามารถใช้งาน 2 Sim พร้อม Micro SD Card ได้ ซึ่งจุดนี้คู่แข่งในระดับราคาเดียวกันเค้าสามารถทำได้นี่ล่ะ แล้วก็ปุ่มสัมผัสใต้หน้าจอที่ยังคงไม่มีไฟแจ้งมาให้ ซึ่งถ้าใช้งานในที่แสงน้อยๆ นี่ต้องชินพอตัว ไม่งั้นอาจแตะผิดถูกกันได้



ถูกใจบทความนี้  7