รีวิว Dell XPS 13 Laptop ดีไซน์สวย น้ำหนักเบา สเปคแรง

dell-xps-13-001

Dell ขื่อนี้มีแต่ของอร่อย เฮ้ย ไม่ใช่ ชื่อนี้เชื่อได้ในเรื่องของคอมพิวเตอร์ครับ เป็นบริษัทที่ใหญ่และผลิตฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ได้ดีเยี่ยมเสมอมา แต่หลายๆ คนก็รู้กันอยู่ว่า Dell เนี่ยชอบผลิตทรงหนาๆ  ถึกๆ ทนๆ แต่ครั้งนี้ Dell กลับมาแบบไม่หนา แต่ดูแข็งแรงถึกทนเช่นเคย  โดยออกแล็บท็อปเพื่อคนทำงานที่ต้องใช้งานนอกบ้านบ่อยๆ ออกมาอย่างรุ่นที่ผมได้มารีวิวครั้งนี้คือ Dell XPS 13 ซึ่งตัวเครื่องบางเบา  น้ำหนักเพียงกิโลนิดๆ เท่านั้น แต่แฝงสเปคที่แรงพอตัว ใช้ทำงานได้สบาย เล่นเกมส์พอได้ด้วยล่ะ

Dell XPS 13 Specifications:
– CPU: Intel Core i7-5500U (2.40 GHz, 4MB L3 Cache, up to 3.00 GHz)
– Graphic Card: Intel HD Graphics 5500
– หน้าจอขนาด 13 นิ้ว ความละเอียด (3200×1800)
– Ram 8GB DDR3L
– Harddisk: SSD256GB
– ไม่มีช่องอ่าน Disc
– มีพอร์ต USB 3.0 2 ช่อง
– มีพอร์ตอ่าน SD, SDHC, SDXC
– Wireless: Intel 802.11 ac 2×2 Dual Band with Bluetooth v4.0 Combo
– น้ำหนัก 1.37 กิโลกรัม
– แบตเตอรี่ 6-Cell Lithium ion 55 WHr
– Windows 8.1 64-bit ติดเครื่องมาเลย ปัจจุบันเป็น Windows 10 เรียบร้อย
– ราคาเปิดตัวประมาณ 62,900 บาท

 

dell-xps-13-002

มาดูหน้าตาตัวเครื่องกันก่อน จะบอกว่า Dell ยังไงก็คงเป็น Dell นี่ล่ะเรื่องการออกแบบรวมถึงวัสดุที่ใช้งานต่างๆ นั้นต้องบอกว่ายอดเยี่ยมกระเทียมเจียวเช่นเคย จับครั้งแรกก็รู้สึกดีแล้วล่ะครับ โดยตัวเครื่องก็ทำจากโลหะเช่นเคย ด้านหน้ามีเพียงโลโก้ Dell เพียวๆ  บ่งบอกถึงความคลาสสิคมาก

dell-xps-13-003

ด้านหลังตัวเครื่องมีแง่งขึ้นมานิดนึงเพื่อที่เวลาเราเอาเจ้า Dell XPS 13 ไปวางแล้วตัวเครื่องจะได้ไม่สัมผัสกับพื้นผิวที่วางโดยตรงซึ่งก็น่าจะช่วยให้ด้านหลังตัวเครื่องเป็นรอยยากขึ้นล่ะครับ ตรงกลางมีคำว่า XPS ไว้บอกรุ่นด้วย

dell-xps-13-004

แน่นอนว่าช่องระบายความร้อนต้องมีอยู่ด้านล่างตัวเครื่องแบบนี้

dell-xps-13-005

มาดูด้านข้างตัวเครื่องบางครับ เจ้า Dell XPS 13 นี่ทำผมอึ้งพอตัวเพราะปกติแล้วแบรนด์นี้จะไม่ค่อยออกแบบตัวเครื่องบางๆ เบาๆ เท่าไหร่หรอก เจ้านี่ดันหนักแค่โลกว่าๆ เองแถมตัวเครื่องก็เล็ก บางเบา พกพาง่ายด้วย ลองดูขอบเครื่องดูก็จะเห็นชัดเลยว่ามันบางจริง

dell-xps-13-006

ตัวเครื่องด้านข้างจะไล่ความหนาให้ค่อยๆ เพิ่มไปไม่งั้นเดี๋ยวทำพอร์ตต่างๆ ไม่ได้ ฮ่าๆ ว่าแต่มันมีช่องอะไรบ้างล่ะ

dell-xps-13-011

ด้านซ้ายตัวเครื่องมีช่องเสียบสายชาร์จคือรูกลมๆ มีพอร์ต USB อันนึงแล้วก็มีช่องเสียบหูฟังครับ

dell-xps-13-007

อันนี้ทางขวา

dell-xps-13-010

ด้านขวตัวเครื่องก็จะมีพอร์ต USB3.0 กับช่องอ่าน SD Card เท่านั้นครับ

dell-xps-13-008

ตรงที่พับหนาจอ

dell-xps-13-009

ส่วนลำโพงของตัวเครื่องจะมีอยู่แถวๆ ด้านข้างตัวเครื่องทั้ง 2 ด้าน ซึ่งเสียงก็อยู่ในเกณฑ์ดีครับ กระหึ่มใช้ได้เลย

dell-xps-13-012

เปิดใช้งานกันบ้าง แหม หน้าตาดูหล่อดีจริงๆ

dell-xps-13-013

หน้าจอตัวเครื่องขนาด 13 นิ้วก็จริงครับ แต่ต้องบอกว่าขอบหน้าจอเนี่ยบางมากเลยทำให้ขนาดตัวเครื่องไม่ใหญ่เท่าไหร่นัก

dell-xps-13-014

ส่วนหน้าจอคมชัดมั้ย คงต้องตอบเลยว่ามากกกก คือถ้าเอามาดูหนังนี่อย่างฟินเลยล่ะครับ

pcmark8-dell-xps-13

ทดสอบประสิทธิภาพผ่าน PCMARK8 กันหน่อย ได้คะแนนไป 2642 ซึ่งก็ไม่สูงไม่ต่ำมากครับ เรียกว่าหากเอามาใช้งานเพื่อการทำงานจริงๆ แล้วล่ะก็เหลือเฟือครับ แต่หากจะเอามาเล่นเกมส์แบบจัดหนักนี่คงไม่เหมาะหนัก ทั้งนี้สำหรับการเล่นเกมส์ทั่วๆ ไปที่ไม่ได้ใช้กราฟฟิคหนักมากก็ไม่ต้องกังวลอะไร

hdd-dell-xps-13

ส่วนฮาร์ดดิสก์ของตัวเครื่องที่ใช้งานนั้นเป็น SSD ทั้งก้อนเลยไม่มีผสมสิ่งใด เรื่องความเร็วในการอ่านเขียนนี่หายห่วงครับ เร็วมากๆ ยิ่งใครไม่เคยสัมผัส SSD แบบผมเนี่ยมาเจอถึงกับช็อคเลยล่ะว่าคอมเราช้าไปป่าวนะ

battery-dell-xps-13

ในส่วนของแบตเตอรี่ใช้งานจริง หากมีสัก 100% แล้วออกนอกบ้านก็อยู่ได้ราว 6-8 ชม. ครับซึ่งก็อยู่ที่การใช้งานของเราด้วยว่าทำอะไรบ้างนะ ซึ่งจริงๆ อยู่นอกบ้านได้นานขนาดเวลานอนเราเนี่ย ก็ถือว่าเหลือเฟือแล้วล่ะ

CPU-Z1

เช็คสเปคเครื่องกับ CPU-Z สักหน่อย

สรุป: Dell XPS 13 เป็นโน้ตบุ๊คหรือแล็ปท็อปที่ผลิตมาสำหรับคนที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่ดีไซน์เรียบหรู น้ำหนักเบา แบตเตอรี่อึด สามารถพกพาไปทำงาน ดูหนังฟังเพลงแบบฟินๆ ด้วยหน้าจอที่โคตรคมชัด เสียงลำโพงที่กระหึ่มพอตัว โดยจะพกไปที่ไหนก็ได้ แถมไม่ต้องมานั่งกังวลว่าแบตจะหมด หรือแบกแล้วจะเมื่อย ซึ่งก็ถือว่าเป็นการแก้ไขข้อเสียของเดลไปได้พอสมควร ทั้งนี้เนื่องจากมันถูกแก้ไขจุดเสียไปเยอะ ก็เลยส่งผลให้ราคาตัวเครื่องนั้นสูงตามไปด้วย ซึ่งจริงๆ จะดีกว่านี้หากทางเดลได้นำตัวเครื่องรุ่นที่ไม่ใช่ตัวท็อปเข้ามาวางจำหน่ายด้วย เพราะตัวท็อปที่ได้มารีวิวนี้มีค่าตัวค่อนข้างสูงพอตัวเลยล่ะ

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณ Dell Thailand ที่ให้ยืมเครื่องมารีวิวและทดสอบครั้งนี้ด้วยครับ



ถูกใจบทความนี้  2