แกะกล่อง รีวิว OPPO F1 สมาร์ทโฟน Selfie Expert นัมเบอร์วันของชั่วโมงนี้ !!!

1

     เทรนด์ของสมาร์ทที่ชูจุดเด่นในเรื่องเซลฟี่หรือกล้องหน้านั้นมาแรงตั้งแต่ปีที่ผ่านมา บางค่ายทำผลงานได้ดีสมราคาคุย แต่บางแบรนด์ก็ทำผลงานได้น่าผิดหวังเช่นกัน แต่สำหรับค่าย OPPO ที่ชูจุดเด่นในเรื่องคุณภาพของกล้องหน้ามาโดยตลอด ยังคงรักษามาตรฐานที่ดีไว้ได้เหมือนเช่นเคยครับ โดยเฉพาะ OPPO F1 ที่มาพร้อมกับนิยาม Selfie Expert นั้นสามารถพิสูจน์ได้เป็นอย่างดี “ว่าพี่ไม่ได้มาเล่น ๆ”  แต่พี่เอาจริงเอาจังในเรื่องกล้องหน้าอย่างแท้จริงครับ

ขอขอบคุณ OPPO thailand สำหรับเครื่องทดสอบและใช้ในการเขียนบทความนี้ครับ

สเปคเบื้องต้นของ OPPO F1

  • หน่วยประมวลผล  Qualcomm Snapdragon 616 Octa-core ความเร็ว 1.7 GHz
  • หน่วยประมวลผลกราฟฟิก Adreno 405
  • หน่วยความจำภายในตัวเครื่อง 16GB และรองรับหน่วยความจำภายนอก MicroSD card ได้สูงสุดที่ 128GB
  • แรม : 3GB
  • จอแสดงผล: ชนิด IPS ขนาด 5 นิ้ว ความละเอียด HD 720P (1280×720 พิกเซล) , กระจกหน้าจอแบบ 2.5D Corning Gorilla Glass 4
  • การเชื่อมต่อ 2G : 850/900/1800/1900MHz
  • การเชื่อมต่อ 3G : 850/900/2100MHz
  • การเชื่อมต่อ 4G LTE Bands 1/3/8
  • รองรับการใช้งานในระบบ 2 ซิมการ์ด
  • การเชื่อมต่อ Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/, Bluetooth V. 4.0
  • กล้องหลักด้านหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ค่ารูรับแสง f/2.2 ระบบโฟกัสแบบ PDAF+CAF
  • กล้องด้านหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล ค่ารูรับแสง f/2.0
  • Android 5.1  ครอบทับด้วย ColorOS 2.1
  • ขนาดตัวเครื่อง 143.5x71x7.25 มิลลิเมตร
  • น้ำหนัก 134 กรัม
  • แบตเตอรี่ความจุ 2500 mAh
  • สีที่มีวางจำหน่าย Goldenราคาวางจำหน่าย 8,990 บาท

ปล. รูปในบทความสามารถคลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ได้ครับ

 

Packaging & Accessories

 

4

 

5 

ตัวกล่องมาในขนาดกะทัดรัดกำลังดี คือไม่เล็กหรือใหญ่จนเทอะทะเกินไป ด้านหน้ากล้องพิมพ์รูปตัวเครื่อง OPPO F1 และสื่อด้านความงามด้วยภาพพักหน้าจอที่เป็นรูปตลับเครื่องสำอางค์ ส่วนด้านหลังของกล่องจะพิมพ์บอกสเปคไว้แค่พอสังเขป

6

เมื่อแง้มแกล่องออกมาจะพบกับตัวเครื่อง OPPO F1 นอนรออยู่ในถาดรอง

สำหรับอุปกรณ์ภายในกล่องจะมีอะไรบ้างมาสำรวจไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

7

1. คู่มือการใช้งานอย่างย่อ และเข็มจิ้มเปิดถาดซิม

8

2. ซิลิโคสเคสแบบใส

9

3. อแดปเตอร์ชาร์จไฟ ให้ Output มาที่ 5V-1A

10

4. ชุดหูฟังสมอลทอร์คแบบ “เอียร์บัด”

5. สาย Micro USB สำหรับซิงค์และชาร์จไฟ

Design & Hardweare

2 

3 

OPPO F1 โปรโมตในเรื่องของดีไซน์และ Hardware ภายนอกตามนี้ครับ “หรูหราด้วยดีไซน์โลหะพรีเมี่ยมแต่คงสัมผัสนุ่มนวลดุจกำมะหยี่” ตัวเครื่องนั้นมาในสไตล์ metal unibody ดีไซน์ขอบโค้ง 2.5 มิติ และตัดเส้นขอบเงินทำมุม 60 องศารอบตัวเครื่อง ส่งผลให้ตัวเครื่องนั้นมีความหรูหราพรีเมี่ยมและยังดูสวยงามยามเมื่อสะท้อนแสงอีกด้วย  ในส่วนของ build quality ของ OPPO F1 นั้นเรียบร้อยดีมากครับ เท่าที่ได้สัมผัสมา 2 อาทิตย์ยังไม่เจอ Defect แต่อย่างใด

พูดถึง Handle การจับถือพกพา เนื่องจากดีไซน์ที่เน้นความโค้งมนไม่มีเหลี่ยมสัน และเมื่อบวกกับขนาดหน้าจอ 5 นิ้ว ทำให้การจับถือและพกพา ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด และข้อดีอีกอย่างก็คือตัวเครื่องนั้นยังมาพร้อมกับความบางเบาอีกด้วย

19

OPPO F1 มาพร้อมกับจอแสดงผลชนิด IPS ขนาด 5 นิ้ว ความละเอียด HD 720P (1280×720 พิกเซล) ตัวกระจกเป็นแบบโค้ง 2.5D ตามสมัยนิยม และเสริมความแข็งแกร่งด้วยกระจกกันรอยจาก Corning Gorilla Glass 4

 

20 

21

ด้านหน้าส่วนบนของตัวเครื่องจะประกอบไปด้วย กล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล มีเซ็นเซอร์ขนาด 1/4 นิ้ว และค่ารูรับแสงกว้าง f/2.0, ซึ่งถือเป็นจุดเด่นหลักของตัวกล้องหน้า และถัดจากตัวกล้องจะเป็นที่อยู่ของลำโพงสนทนาและชุดเซ็นเซอร์ Accelerometer และ  Proximity Sensor สุดท้ายไฟแจ้งเตือน LED Notification จะอยู่ที่มุมขวามือสุดของตัวเครื่อง

ด้านหน้าส่วนล่าง 3 ปุ่มควบคุมมาตรฐานของระบบแอนดรอยด์ จะเป็นแบบ Capacitive Button แต่ไม่มีไฟแบล็คไลท์มาให้ใช้งานนะครับ โดยตัวปุ่มนั้นจะสกรีนสัญลักษณ์ด้วยสีเงิน เมื่อใช้งานกลางวันหรือในทสภาพแสงที่ไม่น้อยจนเกินไปก็ยังพอมองเห็นได้อย่างชัดเจนครับผม

13 

15

ด้านบนของตัวเครื่อง จะมีเพียงช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. เท่านั้น ส่วนด้านล่างจะประกอบไปด้วยไมค์สนทนาและพอร์ต Micro USB

11

22

ด้านขวามือของตัวเครื่องด้านบนจะเป็นที่อยู่ของช่องถาดซิม โดยถาดซิมของ OPPO F1 จะเป็นแบบไฮบริด คือใช้งานร่วมกันระหว่างซิมการ์ดและหน่วยความจำภายนอก MicroSD

ตัวถาดซิม 1 จะใช้ซิมแบบ Micro SIM ส่วนถาดซิมสองจะเป็นแบบ Nano SIM ซึ่งในถาดซิม 2 จะใช้งานร่วมกับ MicroSD จึงต้องเลือกว่าจะใช้งาน 2 ซิมหรือจะใช้งานหน่วยความจำภายนอก เพราะมันไม่สามารถใช้งานพร้อมกันได้นั่นเอง

ถัดจากช่องถาดซิมก็คือปุ่ม Power โดยตัวปุ่มนั้นใช้วัสดุเดียวกับตัวขอบเฟรมและฝาหลัง และการจัดวางตำแหน่งก็ทำได้ดีมากอีกด้วยครับ เพราะจากการใช้งานจริงแล้วมันสะดวกมาก ๆ ไม่ต้องเอื้อมนิ้วไปไกล และไม่รู้สึกเมื่อยนิ้วแต่อย่างใด


12

สำหรับด้านซ้ายมือของตัวเครื่องจะมีเพียง ปุ่มเพิ่ม-ลด ระดับเสียงเท่านั้นครับ และตัวปุ่มนั้นแข็งแรงแน่นหนาดีมาก

 

16 

17 

18 

ด้านหลังของตัวเครื่องจะประกอบไปด้วยกล้องดิจิทัลความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ที่มีรูรับแสงขนาด f/2.2 พร้อมไฟแฟลช LED 1 ดวง ส่วนลำโพงมีเดียหรือลำโพงเสียงภายนอกจะอยู่ที่มุมล่างซ้าย เรื่องความดังอาจจะไม่โดดเด่นหรือดังกระหึ่มมากนัก แต่จะได้ในเรื่องคุณภาพความใส และเมื่อเร่งเสียงจนสุดก็ไม่มีอาการแต่กพร่าแต่อย่างใด

ในส่วนของการสำรวจ Hardware ภายนอกของ OPPO F1 ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ครับ

 

Software & Featere

Screenshot_2016-03-11-16-08-53-55 Screenshot_2016-03-11-16-09-09-18 Screenshot_2016-03-11-16-10-42-91

OPPO F1 เปิดตัวมาพร้อมกับ Android 5.1.1 (Lollipop) และครอบทับด้วย user interface ” ColorOS v2.0.1i ” สำหรับพื้นที่ของ ROM 16GB จะเหลือให้ใช้งานจริงราว ๆ 8GB

Screenshot_2016-03-11-16-06-10-57 Screenshot_2016-03-11-16-06-17-60 Screenshot_2016-03-11-16-06-25-76

ColorOS เป็น User interface ที่ผู้ใช้งานค่ายนี้รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี ในภาพรวมก็จะเหมือนกับรอมจีนทั่วไป ๆ ที่เน้นความเรียบง่ายและไม่มีหน้า App Drawer ซึ่งจะคล้าย ๆ กับ iOS นั่นเอง และสำหรับจุดเด่นในช่วงหลัง ๆ ของ ColorOS ก็คือการปรับแต่ง Firmware ให้เครื่องนั้นมีความสมูทมากขึ้น ไม่อัดฟีเจอร์ Gimmick และ third party apps มาให้มากเกินไป จนส่งผลกระทบไปถึงความลื่นไหลในการใช้งาน

Screenshot_2016-03-11-16-08-04-15 Screenshot_2016-03-11-16-08-13-86 Screenshot_2016-03-11-16-08-19-40

อีกหนึ่งจุดเด่นของ ColorOS ก็คือการที่ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งหน้าตาให้ดูสวยงามด้วยธีมที่มีให้เลือกใช้งานมากมาย

Screenshot_2016-03-11-16-07-01-63 Screenshot_2016-03-11-16-07-42-39 Screenshot_2016-03-11-16-09-49-96

ฝั่งแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจก็จะประกอบไปด้วย Securit Center โดยตัวแอพจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางอำนวยความสะดวกในด้านความปลอดภัยและการใช้งานของเรา ทั้งลบไฟล์ขยะ เคลียร์แรม ควบคุมปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ต บล็อคเบอร์ที่ไม่พึงประสงค์ การประหยัดพลังงานเป็นต้น เรียกว่าเป็นแอพ Manager ที่รวมการจัดการสิ่งสำคัญ ๆ ไว้ในตัวแอพครับ

O-Cloud เป็นแอพที่ช่วยจัดการสำรองข้อมูลสำคัญอย่างเช่นรายชื่อและข้อความไปยังพื้นที่ฝากไฟล์ออนไลน์ของ OPPO เซอร์วิส

ในด้านการจัดสรรพลังงาน OPPO F1 มีโหมดประหยัดพลังงานแบบ Ultra-Long standby ซึ่งเป็นโหมดประหยัดพลังงานแบบพิเศษ ที่จะทำการปิดการเชื่อมต่อทั้งหมด โดยจะเปิดให้ใช้งานเฉพาะโหมดโทรศัพท์และข้อความเท่านั้น ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงานได้มากที่สุดนั่นเองครับ

Screenshot_2016-03-11-16-11-07-88Screenshot_2016-03-11-16-11-38-60Screenshot_2016-03-11-16-12-42-05

ฟีเจอร์อื่น ๆ ที่น่าสนใจก็จะมี Dirac HD Sound ที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพเสียงเพลงให้เต็มอรรถรสมากยิ่งขึ้นเมื่อฟังเพลงผ่านชุดหูฟัง, Eye protection display หลักการก็จะคล้าย ๆ โหมดการตัดแสงสีฟ้าของจอแสดงผล เพื่อเป็นการถนอมสายตาของผู้ใช้งานนั่นเอง ส่วน Simple mode ตรงนี้จะเป็นโหมดที่้เอื้อต่อผู้ใช้งานสูงวัยหรือในเด็กเล็กนั่นเองครับ

Screenshot_2016-03-11-16-15-47-10 Screenshot_2016-03-11-16-16-01-15 Screenshot_2016-03-11-16-16-09-90

สุดท้าย จุดขายหลักของค่ายนี้และต้องบอกว่าเป็นแบรนด์แรก ๆ ที่บุกเบิกฟีเจอร์ Gesture & motion จนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และผมเชื่อว่าหลายคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว ฉะนั้นขออธิบายคร่าว ๆ นะครับ

หลักการทำงานของ Gesture & motion คือการวาด – การเคาะบนหน้าจอ  โดยสามารถทำงานได้ทั้งบนหน้าจอที่เปิดและ wake off หรือปิดอยู่ อย่างเช่นการวาดเป็นรูปตัวอักษรบนหน้าจอเพื่อเรียกใช้งานแอพ, การเคาะหน้าจอ 2 ครั้งเพื่อ wake on, wake off หรือ Smart call ที่จะทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์เป็นต้นครับ

 

Multimedia

Screenshot_2016-03-11-16-14-12-65 Screenshot_2016-03-11-16-14-33-77 Screenshot_2016-03-11-16-14-38-91

มี FM Radio ให้ใช้งานแบบทศนิยม 1 จุด ภาครับสัญญาณอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ภาพรวม ๆ แล้ว ความสามารถน้อยไปนิดครับ เพราะไม่สามารถบันทึกไว้ฟังในแบบออฟไลน์ได้

Screenshot_2016-03-11-17-16-11-10 Screenshot_2016-03-11-17-17-10-20 Screenshot_2016-03-11-17-17-43-89

Music Player เป็นแอพบันเดิลที่พัฒนาโดยค่าย OPPO เอง หน้าตาดูสวยงามและเรียบง่าย และในส่วนของ Widget ก็ดูสวยงามดีมากครับ ตรงนี้เป็นจุดขายมานานแล้วของค่ายนี้ เพียงแต่ความสามารถโดยรวมไม่ได้เยอะอะไรนัก ที่สำคัญปรับ EQ ไม่ได้นะครับ ต้องไปเปิดในโหมด Dirac HD Sound เพื่อใช้งานทดแทนครับ

Screenshot_2016-03-11-17-13-44-72

Screenshot_2016-03-11-17-14-00-36

VDO Player มีบางฟังก์ชั่นที่สามารถใช้งานได้คล้าย ๆ กับแอพยอดนิยมอย่าง MX Player ก็คือ การ Swipe ด้านซ้ายหรือขวา เพื่อเป็นการปรับความสว่างหรือระดับเสียง นอกจากนี้ยังรองรับการเล่นในหน้าต่างป็อปอัพขนาดเล็กได้อีกด้วย

 

Performance

Screenshot_2016-03-11-13-25-29-45 Screenshot_2016-03-11-13-25-40-83

Screenshot_2016-03-11-13-25-56-23 Screenshot_2016-03-11-13-26-02-90

Screenshot_2016-03-11-14-06-41-80 Screenshot_2016-03-11-14-10-39-33

Screenshot_2016-03-11-13-54-59-79 Screenshot_2016-03-11-13-57-09-95

สำหรับผลคะแนนอาจจะไม่ได้แรงมากมายนัก แต่ถ้าเทียบกับแบรนด์อื่น ๆ ที่ใช้ตัวชิปเซ็ต Snapdragon 615 – 616 เหมือน ๆ กัน

OPPO F1 นั้นทำคะแนนได้ดีกว่าเล็กน้อยครับ อาจะเป็นเพราะ OPPO ปรับแต่ง Firmware มาค่อนข้างดี และข้อได้เปรียบอีกอย่างก็คือความละเอียดของจอแสดงผลที่ OPPO F1 นั้นมาพร้อมกับความละเอียดเพียง HD เท่านั้น  ตรงนี้มีผลในเรื่องความลื่นไหลและผลคะแนนเมื่อเทียบกับบางรุ่นที่มาพร้อมกับจอ Full HD อย่างแน่นอนครับ

และในการใช้งานจริง ภาพรวมของ OPPO F1  มีความลื่นไหลที่ดีครับ ยังไม่พบเจอ Bug ร้ายแรงแต่อย่างใด

 


Camera & Sample

Screenshot_2016-03-11-17-20-21-59 Screenshot_2016-03-11-17-18-25-18

user interface หรือหน้าเมนูกล้องบน OPPO F1 จะดูเรียบง่ายสะอาดตา สามารถใช้งานและเข้าถึงโหมดการถ่ายภาพและการตั้งค่าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

Screenshot_2016-03-11-17-18-30-44 Screenshot_2016-03-11-17-18-37-91

โหมดการถ่ายภาพที่หลากหลาย และสามารถดาวน์โหลดมาเพิ่มเติมในภายหลังได้อีกด้วย

Screenshot_2016-03-11-17-18-59-68 Screenshot_2016-03-11-17-19-14-08

โหมดการตั้งค่า อาจจะไม่ไม่เยอะหรือละเอียดยิบย่อย แต่ก็เพียงพอและช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดีครับ เช่นการสั่งถ่ายรูปด้วยเสียง หรือสั่งถ่ายรูปจากท่ามือเป็นต้น

จากนี้มาดูคุณภาพกล้องของ OPPO F1  กันได้เลยครับ และเหมือนเช่นเคยที่ผมจะให้ความสำคัญไปที่โหมด Auto เป็นหลัก เพราะการใช้งานจริงของชีวิตประจำวันส่วนใหญ่เราจะใช้โหมดนี้กันอยู่แล้ว และจรงนี้จะเป็นการวัดคุณภาพจากฝั่ง Software ได้เป็นอย่างดีอีกด้วยนะครับ

ผมขอเริ่มจากจุดขายของ OPPO F1 กันก่อนเลยนะครับ ก็คือการ Selfie จากกล้องหน้า และผมจะใช้โหมด  Beautify 3.0 ซึ่งสามารถปรับได้ 4 ระดับโดยเรียงจากระดับ 0 – 4 ดังนี้

1. Off -ปิด,  2. Weak – น้อย, 3. Medium – กลาง และ 4. Strong – มาก

 

คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ได้ครับ

IMG20160303151033 IMG20160303151040

IMG20160303151046 IMG20160303151051

IMG20160303152609

Normal mode

IMG20160303152621

HDR mode

IMG20160306181656

IMG20160306174053

IMG20160310140815

IMG20160310140715

IMG20160310183442

IMG20160310183427

IMG20160310183416

IMG20160310183408

IMG20160310183404

IMG20160310182254

IMG20160310180444

IMG20160310172730

IMG20160310172353

IMG20160310172329

IMG20160310172318

IMG20160310172300

IMG20160310172230

IMG20160310171206

IMG20160310172157

IMG20160310172204

IMG20160310172222

IMG20160303150107

IMG20160303154202

IMG20160310191010

IMG20160310190917

สรุปกล้องหน้าและหลัง คุณภาพกล้องหน้าของ OPPO F1 ทำได้สมราคาคุยครับ เรียกว่าชั่วโมงนี้ต้องยกให้ OPPO F1 เป็นเบอร์หนึ่งของการเซลฟี่อย่างแท้จริง ส่วนกล้องหลังก็ทำผลงานได้ดีไม่น้อยเลยครับ แต่จุดอ่อนเดิม ๆ ก็ยังแก้ไม่หาย คือการถ่ายในสภาพแสงน้อยยังทำผลงานได้ไม่ดีเท่าที่ควรครับ

สรุป OPPO F1 


ข้อดี

1. คุณภาพกล้องหน้าทำได้ดีมาก ๆ สมราคาโปรโมต
2. ดีไซน์สวย บางเบา วัสดุพรีเมี่ยม และมีงานประกอบที่เรียบร้อยแข็งแรงดีสมราคาค่าตัว
3. แม้จะไม่ได้ชูจุดขายเรื่องกล้องหลัง แต่คุณภาพของกล้องหลังก็น่าประทับใจไม่แพ้กล้องหน้าเลยครับ
4. Firmware หรือ ROM ของตัวเครื่องปรับแต่งมาค่อนข้างดีมาก ทำให้การใช้งานในภาพรวมมีความลื่นไหลที่ดี

สิ่งที่ต้องพิจารณา

1. ตัวเครื่องค่อนข้างร้อนไวเมื่อใช้งานหนัก ๆ
2. ความละเอียดหน้าจอ HD ในราคานี้คู่แข่งเขาให้ Full HD แล้วจร้า
3. ตัดเทคโนโลยีการชาร์จแบตเตอรี่ความเร็วสูง (VOOC Flash Charge) ออกไป ทั้งที่จริง ๆ แล้วควรจะใส่มาให้นะ

ก็คงจะฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ สำหรับรีวิว OPPO F1 แล้วพบกันใหม่ในรีวิวทดสอบด้านเอนเตอร์เทนครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ ^^

 

สามารถพูดคุยเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่หน้าเว็บบอร์ดเดิมครับ โดยคลิ๊กที่ลิงก์นี้ครับ >>> pdamobiz.com



ถูกใจบทความนี้  2