ความเสี่ยงที่ธุรกิจต้องเผชิญเมื่อไม่สามารถตรวจสอบทราฟฟิกบนเครือข่ายได้ โซฟอสเผยผลวิจัยทั่วโลกในหัวข้อ “The Dirty Secrets of Network Firewalls”

 โซฟอส (LSE:SOPH) ผู้นำด้านการให้บริการโซลูชั่นด้านความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ปลายทางและเน็ตเวิร์คระดับโลก แถลงผลการวิจัยระดับโลกที่จัดทำขึ้น ในหัวข้อ The Dirty Secrets of Network Firewalls (ความลับดำมืดของไฟร์วอลล์ที่ใช้สำหรับป้องกันบนระบบเครือข่าย) ว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีไม่สามารถตรวจสอบกิจกรรมที่เกิดขึ้นกว่า 45 เปอร์เซ็นต์ บนทราฟฟิกของเครือข่ายในองค์กรตัวเองได้ แท้จริงแล้วเกือบสามในสี่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีทั้งหมด (70 เปอร์เซ็นต์) ไม่สามารถตรวจสอบกิจกรรมหรือทราฟฟิกบนเครือข่ายของตนเองได้ การที่ไม่สามารถตรวจสอบกิจกรรมที่เกิดขึ้นได้นี้ เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาที่กระทบด้านความปลอดภัยในโลกธุรกิจในปัจจุบันและส่งผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการเครือข่าย ผลการสำรวจในครั้งนี้จึงได้รับความร่วมมือจากผู้มีอำนาจด้านการจัดการฝ่ายไอทีกว่า 2,700 คนจากธุรกิจขนาดกลางกว่า 10 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก ฝรั่งเศส เยอรมัน สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย และแอฟริกาใต้

 

ข้อมูลสำคัญจากการวิจัย

  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีไม่สามารถตรวจสอบกิจกรรมที่เกิดขึ้นกว่า 45 เปอร์เซ็นต์ บนทราฟฟิกของเครือข่ายในองค์กรตัวเองได้
  • 84 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กร ยอมรับว่า ความบกพร่องในการตรวจสอบแอพพลิเคชั่นถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่งในเชิงความปลอดภัย
  • 52 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรทั้งหมดยังกังวลถึงเรื่องประสิทธิภาพการผลิตที่ลดลงจากแอพพลิเคชั่นที่ไม่ได้ต้องการ หรือไม่จำเป็น ซึ่งพวกเขาไม่สามารถตรวจสอบได้บนเครือข่าย

หากดูจากผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อธุรกิจแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจนักเมื่อผลสำรวจออกมาว่า กว่า 84 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ทำแบบสำรวจยอมรับว่าการที่ไม่สามารถตรวจสอบกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายถือเป็นข้อกังวลด้านความปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อไม่สามารถตรวจสอบได้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีก็ไม่สามารถตรวจพบแรนซัมแวร์ มัลแวร์ที่ไม่รู้จัก การละเมิดข้อมูล และการคุกคามขั้นสูงอื่นๆ รวมไปถึงแอพพลิเคชั่นที่เป็นอันตรายและมัลแวร์ลวง นอกจากนี้ไฟร์วอลล์เครือข่ายที่มาพร้อมกับระบบตรวจจับที่ใช้ซิกเนเจอร์เป็นพื้นฐานยังไม่สามารถให้การตรวจสอบที่เหมาะสมในการระบุทราฟฟิกของแอพพลิเคชั่นได้ เนื่องมาจากหลากหลายปัจจัย เช่น มีจำนวนการใช้งานการเข้ารหัสข้อมูลเพิ่มมากขึ้น การจำลองเบราเซอร์ และเทคนิคหลบหลีกการตรวจจับจากอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เป็นต้น

นายสุมิต บันศัล กรรมการผู้จัดการ โซฟอส ประจำภูมิภาคอาเซียน และเกาหลี กล่าวว่า “คุณไม่สามารถต่อสู้กับการคุกคามที่คุณไม่สามารถมองเห็นได้ ความบกพร่องในการตรวจสอบกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายอาจทำให้องค์กรประสบปัญหาด้านการตรวจพบกิจกรรมบนเครือข่ายที่ผิดปกติ และไม่สามารถแก้ไขความผิดปกติได้ทันท่วงที ซึ่งอาชญากรทางคอมพิวเตอร์รับรู้ถึงข้อบกพร่องนี้เป็นอย่างดี และพยายามที่จะมองหาจุดบอดเหล่านี้เพื่อแทรกซึมไปขโมยข้อมูล ซึ่งใช้เวลานานกว่าระบบจะรู้ทันและตรวจจับได้ การแก้ไขปัญหานี้เป็นเรื่องที่ใช้เวลานานและแน่นอนว่าไม่ส่งผลดีต่อองค์กร”

ผลจากการสำรวจยังพบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว องค์กรต่างๆใช้เวลา 7 วันทำการในการแก้ไข 16 เครื่องที่มีปัญหาต่อเดือน องค์กรขนาดเล็ก (100 – 1,000 ยูซเซอร์) ใช้เวลาเฉลี่ย 5 วันทำการในการแก้ไข 13 เครื่องที่มีปัญหา ในขณะที่องค์กรที่มีขนาดใหญ่กว่า (1,001 – 5,000 ยูซเซอร์) ใช้เวลาเฉลี่ย 10 วันทำการในการแก้ไข 20 เครื่องที่มีปัญหาต่อเดือน

“การคุกคามทางเครือข่ายในปัจจุบันพบเจอได้บ่อยครั้งขึ้น เนื่องจากอาชญากรคอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงจุดเชื่อมต่อสู่เครือข่ายองค์กรเพียงจุดเดียวเพื่อเข้าไปยังอุปกรณ์หลายเครื่องที่เชื่อมต่อกันได้ ดังนั้น ยิ่งคุณสามารถตรวจสอบแหล่งการเข้าถึงได้รวดเร็ว ยิ่งมีโอกาสในการควบคุมการคุกคามไปยังอุปกรณ์อื่นๆได้ดียิ่งขึ้น ผลลัพธ์คือ ความเสียหายลดน้อยลง หลายบริษัทมองหาโครงสร้างเครือข่ายแบบบูรณาการยุคใหม่ และโซลูชั่นเพื่อปกป้องอุปกรณ์ปลายทางที่มีความสามารถในการหยุดภัยคุกคามขั้นสูง และควบคุมความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดก่อนที่จะกระจายไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ความต้องการนี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์จากความนิยมของ MimiKatz และ Eternal Blue ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การปกป้องเครือข่ายและความปลอดภัยของอุปกรณ์ปลายทางต้องมีทักษะในการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรงผ่านการแบ่งปันข้อมูลอัจฉริยะ โดยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าใครกำลังทำอะไรอยู่บนเครือข่ายนั้นๆ” นายสุมิต กล่าวเสริม

เจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทียังตระหนักเป็นอย่างดีว่า ไฟร์วอลล์ต้องการการอัพเดตเรื่องความปลอดภัย โดยผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า 79 เปอร์เซ็นต์ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอที ต้องการการปกป้องที่ดียิ่งขึ้นจากไฟร์วอลล์ปัจจุบันที่พวกเขาใช้อยู่ กว่า 99 เปอร์เซ็นต์ต้องการเทคโนโลยีไฟร์วอลล์ที่สามารถแยกอุปกรณ์ที่มีปัญหาออกจากเครือข่ายได้อัตโนมัติ และ 97 เปอร์เซ็นต์ต้องการให้อุปกรณ์ปลายทางและไฟร์วอลล์ได้รับการปกป้องจากผู้ให้บริการเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการแชร์ข้อมูลสถานะความปลอดภัยได้โดยตรง

ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไม่ใช่ภัยคุกคามเพียงอย่างเดียวสำหรับธุรกิจ

นอกจากความเสี่ยงด้านความปลอดภัยแล้ว 52 เปอร์เซ็นต์ของผู้ทำแบบสำรวจยังมองว่า การสูญเสียประสิทธิภาพการผลิตยังถือเป็นเรื่องน่ากังวล  ความบกพร่องในการตรวจสอบกิจกรรมบนเครือข่ายนั้นส่งผลกระทบโดยตรงในทางลบต่อประสิทธิภาพการผลิตหากเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญของแบนด์วิธสำหรับแอพพลิเคชั่นที่จำเป็นได้

สำหรับอุตสาหกรรมที่ยังพึ่งพาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเพื่องานเฉพาะด้านเพื่อรองรับความต้องการเฉพาะของธุรกิจนั้นๆ นอกจากจะมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูงแล้วยังมีขีดจำกัดในการเข้าไปดูของแอพพลิเคชั่นที่ไม่สามารถเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังได้ โดย 50 เปอร์เซ็นต์ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีที่ลงทุนกับแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาเพื่องานเฉพาะด้านยอมรับว่าไฟร์วอลล์ไม่สามารถตรวจสอบกิจกรรมบนทราฟฟิกได้ทั้งยังไม่คุ้มต่อการลงทุน ขีดจำกัดในการมองเห็นและตรวจสอบข้อมูลทำให้เกิดจุดบอดในการส่งข้อมูลที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนเครือข่ายของบริษัท และยังทำให้บริษัทมีความเสี่ยงต่อการดำเนินคดีและเกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายได้

“เพื่อประหยัดเงินลงทุนไปยังระบบ business-critical และแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาเพื่องานเฉพาะด้าน องค์กรจำเป็นต้องมีเครือข่ายไฟร์วอลล์ที่อนุญาตให้พนักงานสามารถเข้าไปจัดการแอพพลิเคชั่นที่พวกเขาต้องการได้” นายสุมิต กล่าวเสริม “การตรวจสอบเครือข่ายได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับวิธีการที่แตกต่างกันมากขึ้น ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ สามารถได้รับข้อมูลโดยตรงจากเครือข่ายไฟร์วอลล์ และยังอนุญาตให้เข้าถึงเครือข่ายและระบุตัวตนของพนักงานได้อีกด้วย”

ผลการสำรวจ The Dirty Secrets of Network Firewalls survey results สามารถดาวน์โหลดได้แล้วในรูปแบบ PDF

ผลสำรวจ The Dirty Secrets of Network Firewalls (ความลับดำมืดของไฟร์วอลล์ที่ใช้สำหรับป้องกันบนระบบเครือข่าย) จัดทำโดย Vanson Bourne บริษัทชั้นนำอิสระในการทำการวิจัยทางการตลาด ในเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2017 ที่ผ่านมาโดยได้ทำการสำรวจผู้มีอำนาจด้านการจัดการฝ่ายไอทีกว่า 2,700คนจากธุรกิจขนาดกลางกว่า 10 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริการ แคนาดา เม็กซิโก ฝรั่งเศส เยอรมัน สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย และแอฟริกาใต้ โดยผู้ที่เข้าร่วมทั้งหมดมาจากองค์กรที่มีขนาดระหว่าง 100 – 5,000 ยูซเซอร์

โซฟอส สามารถช่วยเพิ่มความสามารถการตรวจสอบเครือข่ายผ่านผลิตภัณฑ์ XG Firewall, Sophos Endpoint Protection หรือ Intercept X สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Sophos XG Firewall สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.sophos.com/en-us/products/next-gen-firewall.aspx

สามารถเข้าไปดาวน์โหลดทดลองใช้ Sophos XG Firewall ได้แล้วที่ https://secure2.sophos.com/en-us/products/next-gen-firewall/free-trial.aspx

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Sophos Synchronized Security สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.sophos.com/en-us/lp/synchronized-security-mea.aspx

โซฟอส จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน RSA ประจำปี 2018 ที่จัดขึ้นในวันที่ 16 – 20 เมษายนนี้ ที่บูธหมายเลข 3201 โดยท่านสามารถค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมที่โซฟอสนำมาเสนอในงานนี้ได้ที่ www.sophos.com/rsa

ติดตามข่าวสารและมุมมองล่าสุดด้านความปลอดภัยจากเว็บไซด์ที่ได้รับรางวัลของเรา ได้ที่ Naked Security News และอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซฟอสใน บล็อกข่าว ของเรา

ปกป้องเครื่อง Mac และ PC ในบ้านของคุณด้วยซอฟต์แวร์ Sophos Home รุ่นใหม่ ที่ได้รับการจัดการจากส่วนกลาง

เชื่อมต่อกับโซฟอส ทุกที่ ทุกเวลา

TwitterLinkedInFacebookSpiceworksYouTubeGoogle+

เกี่ยวกับโซฟอส

โซฟอส เป็นผู้นำด้านการให้บริการโซลูชั่นด้านความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ปลายทางและเน็ตเวิร์คแบบ Next Generation และเป็นผู้ริเริ่มในการนำเสนอการป้องกันที่สมบูรณ์แบบเพื่อพัฒนาความสามารถให้กับอุปกรณ์ปลายทาง เน็ตเวิร์ค การเข้ารหัส (encryption) เว็บไซด์ อีเมล์ และความปลอดภัยของมือถือ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบัน มีผู้ใช้งานกว่า 100 ล้านราย ในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ที่เชื่อมั่นและเลือกโซฟอสให้เป็นโซลูชั่นที่ดีที่สุดในการป้องกันการคุกคามที่มีความซับซ้อนและการสูญหายของข้อมูล ผลิตภัณฑ์ของโซฟอสวางจำหน่ายทั่วโลกผ่านพันธมิตรกว่า 26,000 ราย สำนักงานใหญ่ของโซฟอสตั้งอยู่ที่ เมืองอ๊อกฟอร์ด สหราชอาณาจักร และอยู่ในรายชื่อการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ภายใต้ชื่อ SOPH สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม www.sophos.com



ถูกใจบทความนี้  0