มัลแวร์โจมตีตู้เอทีเอ็มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจาก TrendLabs Security Intelligence Blog

figure-17-annual-detection-rates


เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) นอกจากจะต้องเผชิญกับคนร้ายที่พยายามงัดแงะตัวเครื่องแล้ว ยังต้องรับมือกับการโจมตีทางคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ‘มัลแวร์เอทีเอ็ม’ ที่วงการอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยและผู้รักษากฎหมายเริ่มค้นพบว่า ‘มัลแวร์เอทีเอ็ม’ เป็นภยันตรายรูปแบบใหม่ ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อมุ่งโจมตีระบบตู้เอทีเอ็มโดยเฉพาะ ซึ่งถูกตรวจจับได้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาและเป็นการโจมตีที่ประสบความสำเร็จ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการโจมตีไปสู่ช่องทางดิจิตอลนี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนร้ายรู้วิธีในการใช้มัลแวร์เพื่อขโมยเงินและข้อมูลบัตรจากตู้เอทีเอ็มซึ่งเหล่าคนร้ายพบว่าเป็นวิธีการที่ง่ายและปลอดภัยสำหรับพวกเขามากกว่า การโจมตีผ่านช่องทางดิจิตอลมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคต และจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรตระหนักถึงช่องทางการโจมตีในรูปแบบต่างๆ ที่คนร้ายสร้างขึ้นเพื่อก่ออาชญากรรม

 

TM1

TM2

 

รูปที่ 1. สถิติการโจมตีเครื่องเอทีเอ็มในยุโรปตั้งแต่ปี 2554 ถึง 2558

 

การปลอมแปลงและการโจมตีทางกายภาพต่อเครื่องเอทีเอ็ม

สถิติข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของการโจมตีเครื่องเอทีเอ็มด้วยวิธีการปลอมแปลงบัตรในช่วงปีที่ผ่านมา (เพิ่มขึ้น 15% จากปี 2557 ถึง 2558)  นอกจากนี้ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการโจมตีด้วยซอฟต์แวร์ในทุกส่วนยังชี้ให้เห็นว่ากลุ่มคนร้ายที่มีความเชี่ยวชาญสูงได้มองเห็นโอกาสแฝงในชุดเครื่องมือสำหรับการโจมตีซึ่งสามารถนำมาใช้กับระบบเอทีเอ็มได้  สถิติดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของการใช้มัลแวร์เพื่อเจาะระบบเอทีเอ็ม แต่แน่นอนว่าแนวโน้มนี้จะยังคงดำเนินต่อไปในอนาคต

 

ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีสถิติการโจมตีของมัลแวร์เอทีเอ็มในสหรัฐฯ แต่ ทีมงานฝ่ายรักษาความปลอดภัยระบบเอทีเอ็มของยุโรป ระบุว่า “มีการรายงานความสูญเสียที่เกิดขึ้นใน 53 ประเทศนอกเขตพื้นที่ที่ใช้ระบบ Single Euro Payments Area (SEPA) และใน 10 ประเทศที่ใช้ระบบ SEPA  ประเทศที่เกิดความสูญเสียดังกล่าวมากที่สุด 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์”

 

ผลกระทบจากการแพร่กระจายของมัลแวร์เอทีเอ็ม

เทรนด์ ไมโคร และศูนย์อาชญากรรมไซเบอร์แห่งยุโรป (European Cybercrime Center – EC3) ของยูโรโพล (Europol) ได้ทำงานร่วมกันเพื่อตรวจสอบภัยคุกคามที่มุ่งโจมตีระบบเอทีเอ็ม  ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ามีปัจจัยมากมายที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ชุดเครื่องมือแฮ็กระบบเครื่องเอทีเอ็มเป้าหมายไว้ควบคู่ไปกับวิธีการโจมตีแบบเดิมๆ มากขึ้น

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ การใช้ระบบปฏิบัติการ (OS) ที่ล้าสมัย เช่น Windows XP®

ซึ่งไม่สามารถติดตั้งแพทช์ด้านความปลอดภัยได้อีกต่อไป  อีกเหตุผลหนึ่งคือ กลุ่มอาชญากร

มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นและเริ่มรู้แล้วว่าช่องทางดิจิตอลมีความเสี่ยงน้อยกว่า ทั้งยังเปิดโอกาสให้สามารถเคลื่อนย้ายเงินและปกปิดซ่อนเร้นเพื่อหลบหลีกการจับกุมได้ง่ายกว่า ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้จำหน่ายเครื่องเอทีเอ็มตัดสินใจที่จะใช้มิดเดิลแวร์ที่มี Application Programming Interface (API) เพื่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงของเครื่อง (เช่น แป้นกดรหัส เครื่องจ่ายเงินสด ฯลฯ) โดยไม่สนใจว่าจะเป็นรุ่นใด  มิดเดิลแวร์ที่ว่านี้คือ มิดเดิลแวร์ eXtensions for Financial Services (XFS)  วิธีการง่ายๆ ก็คือ ให้ลองจินตนาการว่าเครื่องเอทีเอ็มที่ทันสมัยก็เป็นเหมือนเครื่องพีซีที่ใช้ระบบ MS Windows® ที่มีกล่องเก็บเงินติดอยู่

กับเครื่องและถูกควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ จะทำให้เข้าใจได้ง่ายว่าเครื่องเอทีเอ็มตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของผู้สร้างมัลแวร์ได้อย่างไร

 

figure-17-annual-detection-rates

รูปที่ 2. สถาปัตยกรรมระบบ XFS

ตระกูลหลักๆ ของมัลแวร์เอทีเอ็มที่มีอยู่

งานวิจัยร่วมกันระหว่างเทรนด์ ไมโครกับศูนย์ European Cybercrime Center (EC3) ของ Europol ยังสำรวจตรวจสอบประเภทหลักๆ ของมัลแวร์ที่แพร่กระจายในปัจจุบัน  แผนผังข้างต้นเผยให้เห็นรูปแบบที่น่าสนใจเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของโค้ด  ธนาคารพาณิชย์ในละตินอเมริกาและยุโรปตะวันออกไม่ได้ดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอ จึงเปิดโอกาสให้อาชญากรเข้าโจมตีเครื่องเอทีเอ็มในภูมิภาคดังกล่าว  แม้ว่าการโจมตีจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่เราก็พบว่ามีการส่งต่อเทคนิคเหล่านี้ไปยังภูมิภาคอื่นๆ  ถึงแม้เรายังไม่พบว่ามีการซื้อขายมัลแวร์เอทีเอ็มในตลาดมืด แต่เราคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน

 

มัลแวร์แต่ละตระกูลที่ระบุไว้ข้างต้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน 2 ส่วนหลักๆ คือ 1) ประเภทของผู้ผลิตเครื่องเอทีเอ็ม และ 2) ความสามารถที่เฉพาะเจาะจงของมัลแวร์ เช่น ใช้สำหรับขโมยข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้าเครื่อง เช่น หมายเลขบัตรและรหัส PIN หรือใช้สำหรับจ่ายเงินสดออก

จากตู้  สิ่งที่มัลแวร์เหล่านี้มีเหมือนกันก็คือ จะต้องทำการติดตั้งผ่านทาง USB หรือซีดีไดรฟ์

figure-17-annual-detection-rates

รูปที่ 3. มัลแวร์เอทีเอ็มในตระกูลต่างๆ และแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์

 

ข้อมูลที่พบนี้อ้างอิงการตรวจสอบที่เทรนด์ ไมโครและศูนย์ European Cybercrime Center (EC3) ของ Europol ได้ทำงานร่วมกัน ในการตรวจสอบสถานะปัจจุบันของมัลแวร์เอทีเอ็ม  ผลลัพธ์ที่ได้คือเอกสารรายงานที่เน้นให้เห็นถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยพุ่งเป้าไปที่เครื่องเอทีเอ็ม  นอกจากนี้ยังมีข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีการใหม่ๆ

ที่แฮ็กเกอร์ใช้ รวมถึงแนวทางป้องกันที่สำคัญๆ ให้กับองค์กรที่ต้องการปกป้องธุรกิจและลูกค้า  รายงานที่จัดทำร่วมกันนี้นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายกับภาคอุตสาหกรรมในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

 

เกี่ยวกับ เทรนด์ ไมโคร

เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรทเต็ด ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์ความปลอดภัย มุ่งมั่นที่จะสร้างโลกที่ปลอดภัยสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิตอล จากประสบการณ์มากกว่า 27 ปีของเรา โซลูชั่นของเราได้ให้บริการทั้งสำหรับผู้ใช้ทั่วไป องค์กรธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ โดยนำเสนอระบบรักษาความปลอดภัยแบบหลายระดับขั้นการปกป้อง ในอุปกรณ์พกพา อุปกรณ์ลูกข่าย เกตเวย์ เซิร์ฟเวอร์ และระบบคลาวด์ เทรนด์ ไมโคร ช่วยปกป้องข้อมูลอย่างชาญฉลาด ด้วยเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่ก้าวล้ำ  ใช้งานและบริหารจัดการง่าย มีการพัฒนาเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง โซลูชั่นทั้งหมดของเราขับเคลื่อนด้วย ระบบวิเคราะห์และเฝ้าระวังภัยคุกคามระดับโลกแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐาน Trend Micro™ Smart Protection Network™ ที่พร้อมสนับสนุนลูกค้าด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านภัยคุกคามกว่า 1,200 คนทั่วโลก ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.trendmicro.co.th



ถูกใจบทความนี้  0