นอกจากเรื่องหน้าตาและดีไซน์ที่โดดเด่น รวมไปถึงคุณภาพของเนื้อไฟล์แล้ว จุดขายอีกอย่างของค่ายฟูจิก็คือโหมด Film Simulation นี่แหละครับ ด้วยความที่โลดแล่นสั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนานจากยุคฟิลม์ จึงทำให้ค่ายฟูจิสามารถถ่ายทอดความเป็น professional ในด้านของ “อารมณ์ และโทนภาพ” จากยุคฟิลม์มาสู่ยุคดิจิตอลได้อย่างโดดเด่นและกลมกลืน เชื่อว่าหลายคนที่มีวัย 35+(ที่เกิดทันยุคนั้น) คงประทับใจกับสไตล์และโทนของ “สีสัน อารมณ์ภาพ” จากฟิลม์ของค่ายฟูจิกันอย่างแน่นอน แม้ในปัจจุบันฟิลม์จะลดบทบาทลงไปเกือบ 100% แต่การที่กล้องดิจิตอลจากค่ายฟูจิได้พัฒนาโหมด Film Simulation มาให้ใช้งาน ตรงนี้ก็สามารถเข้ามาทดแทน และตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ในระดับหนึ่งครับ
Film Simulation Modes คืออะไร อธิบายง่าย ๆ เป็นการจำลองโทนภาพ อารมณ์ และลักษณะที่โดดเด่นจากทางค่ายฟูจิมาให้ใช้งานกันในแบบสำเร็จรูปนั่นเองครับ เช่น อยากถ่ายภาพให้ได้อารมณ์สีสันสดใส ฉูดฉาด ก็เลือกไปที่โหมด Velvia/VIVID หรืออยากจะถ่าย Portrait ในแบบซอฟท์ ๆ หรือถ่ายภาพในโทนขาวดำอะไรอย่างนี้ ก็สามารถเลือกใช้โหมดจำลองฟิลม์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของเรา
ค่ามาตรฐานของกล้องสามารถเรียกใช้ Film Simulation Modes ได้อย่างรวดเร็วจากปุ่ม Fn4 หรือปุ่ม left navigator ครับ
สำหรับดีเทลแต่ละโหมดของ Film Simulation ผมขอยกรายละเอียดจากคู่มือมาให้อ่านกันนะครับ
1. STD (PROVIA/STANDARD) : รูปแบบสีธรรมชาติ เหมาะสำหรับการใช้งานถ่ายภาพหลากหลายรูปแบบ ทั้งภาพบุคคล และวิวทิวทัศน์
2. Vl (Velvia/VIVID) : ความเปรียบต่างและความอิ่มตัวของสีสูง เหมาะสำหรับถ่ายภาพธรรมชาติ
3. S (ASTIA/SOFT) : ขยายช่วงของเฉดสีสำหรับโทนสีผิวเพื่อการถ่ายภาพบุคคล โดยยังคงรักษาความสดใสของท้องฟ้าในเวลากลางวัน แนะนำสำหรับการถ่ายภาพบุคคลกลางแจ้ง
4. Cc (CLASSIC CHROME) : ให้ภาพที่มีสีสันนุ่มและความเปรียบต่างในส่วนเงามืดที่สูง ให้โทนภาพที่ดูหนักแน่น
5. NH (PRO Neg. Hi) : ให้ภาพที่มีความเปรียบต่างสูงกว่า (PRO Neg. Std) แนะนำสำหรับถ่ายภาพบุคคลกลางแจ้ง
6. NS (PRO Neg. Std) : ให้โทนภาพที่นุ่มนวลพร้อมช่วงของเฉดสีสำหรับโทนสีผิวที่ได้รับการขยายได้ดี ขึ้น เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพบุคคลในสตูดิโอ
7. B (MONOCHROME) : ภาพขาวดำแบบปรกติ
8. BY (MONOCHROME+Ye FILTER) : ภาพขาวดำที่มีความเปรียบต่างเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตัวเลือกนี้จะให้ผลความสว่างของท้องฟ้าลดลง
9. BR (MONOCHROME+R FILTER) : ภาพขาวดำที่มีความเปรียบต่างสูงขึ้น ตัวเลือกนี้จะให้ผลที่มีความสว่างของท้องฟ้าลดลง
10. BG (MONOCHROME+G FILTER) : ให้โทนผิวที่นุ่มนวล เหมาะสำหรับการถ่ายภาพบุคคลขาวดำ
11. SEPIA (SEPIA) : ภาพซีเปีย
การ ใช้งานในโหมดถ่ายคร่อม BKT1 หรือ 2 เราสามารถกำหนดค่าในส่วนของ Drive Mode ให้เป็น Film Simulation ได้ครับ โดยค่ามาตรฐาน จะสามารถถ่ายคร่อมในโหมดจำลองฟิลม์ได้ถึง 3 รูปแบบ ซึ่งตรงนี้ช่วยตอบโจทย์ในการใช้งานให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
แต่ ข้อจำกัดก็คือในโหมดถ่ายคร่อม ฟอร์แมตของไฟล์จะเป็น .jpg เท่านั้น เลือกคุณภาพ รายละเอียดได้ แต่ไม่สามารถเลือกฟอร์แมต RAW ได้นั่นเองครับ
ก็คงจะสรุปสั้น ๆ สำหรับ Film Simulation เป็นโหมดที่ถือว่าเป็นจุดแข็งและจุดขายของค่ายฟูจิ ในด้านของคุณภาพและความหลายหลายก็ต้องบอกว่าตอบโจทย์ในระดับหนึ่ง ส่วนความยืดหยุ่นนั้นยังสู้บางค่ายไม่ได้ เพราะบางค่ายเขานอกจากโหมดสำเร็จรูปที่ให้มา ยังสามารถสร้างเป็นโปรไฟล์ใหม่ และสามารถนำเข้า ส่งออก นำไปใช้ได้อย่างสะดวกและยืดหยุ่นกว่านั่นเองครับ
สำหรับบทความแนะนำแอพก็คงต้องลากันไปแต่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ
สามารถพูดคุยเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่หน้าเว็บบอร์ดเดิมครับ pdamobiz.com