แกะกล่อง & รีวิว ASUS Zenfone Zoom คาเมร่า โฟน Optical ซูม 3X รุ่นแรกจากค่ายเอซุส !!!

1

    รับชมคลิปแกะกล่องและ Quick Unboxing แบบภาพนิ่งกันไปแล้ว วันนี้พามาชมกันต่อกับ Full Review ครับ เชื่อว่าหลายคนสนใจและรอคอยกับการมาของ Zenfone Zoom อยู่ไม่น้อย เพราะว่าออกตัวแรงมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่เข้ามาวางจำหน่ายในบ้านเราสักที และเมื่อได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการในบ้านเรา แม้จะดูช้าไปบ้างแต่กระแสตอบรับก็ถือว่าน่าพอใจครับ สำหรับจุดเด่นหรือจะบอกว่าจุดขายของ ASUS Zenfone Zoom ก็คือเรื่องกล้องตามชื่อรุ่นของเขานี่แหล่ะครับ เพียงแต่จะทำผลงานได้ดีเหมือนที่โปรโมตหรือไม่ ตรงนี้ต้องมาติดตามอ่านกันครับ

ขอขอบคุณ ASUS Thailand สำหรับเครื่องทดสอบและใช้ในการเขียนบทความนี้ครับ……

 

สเปคเบื้องต้นของ ASUS Zenfone Zoom

  • หน่วยประมวลผล Intel Atom Z3590 (Quad-core) ความเร็ว 2.5 GHz
  • หน่วยความจำภายใน 128GB และรองรับหน่วยความจำภายนอก MicroSD card ได้สูงสุดที่ 128GB
  • แรม : 4GB
  • จอแสดงผล : ชนิด IPS ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD 1080P, กระจก Corning Gorilla Glass 4
  • การเชื่อมต่อ 2G : 850MHz/900MHz/1800MHz/1900MHz
  • การเชื่อมต่อ 3G : 850MHz/900MHz/1700MHz/1900MHz/2100MHz
  • การเชื่อมต่อ 4G FDD-LTE: (WW version) 2100MHz(1)/1900MHz(2)/1800MHz(3)/1700MHz AWS(4)/850MHz(5)/2600MHz(7)/900MHz(8)/700MHz(17)/800MHz(20)
  • รองรับการใช้งานในระบบ 1 ซิมการ์ด (Micro SIM)
  • การเชื่อมต่อ Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/,ac Bluetooth V. 4.0,  NFC
  • กล้องหลักด้านหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ค่ารูรับแสง f/2.7-4.8, 3X optical zoom / 12X total zoom, OIS 4 Stop (Optical Image Stabilization) 10P HOYA lens, 0.03 second laser auto-focus, dual-color Real Tone flash
  • กล้องด้านหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ค่ารูรับแสง f/2.0, Wide View, PixelMaster
  • Android 5.0 Lollipop ครอบทับด้วย Zen UI
  • ขนาดตัวเครื่อง 158.9 x 78.8 x 12 มิลลิเมตร
  • น้ำหนัก 185กรัม
  • แบตเตอรี่ Li-Polymer 3000 mAh เทคโนโลยี Quick Charge (BoostMaster)
  • ราคาวางจำหน่าย 16,990 บาท ในรุ่นที่ใช้ชิปเซ็ต Intel Atom Z3580 และมาพร้อมกับหน่วยความจำภายในตัวเครื่อง 64GB
  • ราคาวางจำหน่าย 18,990 บาท ในรุ่นที่ใช้ชิปเซ็ต Intel Atom Z3590 และมาพร้อมกับหน่วยความจำภายในตัวเครื่อง 128GBสเปคโดยละเอียดสามารถดูได้จาก official page ASUS Zenfone Zoom Specification

 

Packaging & Accessories

5

ตัวกล่องมาในสไตล์ Gift Box คือดูมีความเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความหรูหรา ด้านหน้าพิมพ์บอกชื่อรุ่นด้วยสีทองสะดุดตา และที่เห็นวงกลมใหญ่ ๆ ด้านข้างก็เพื่อสื่อถึงงานดีไซน์ของตัวกล้องหลังนั่นเอง

6

ด้านหลังดูเรียบ ๆ เช่นกัน เพียงพิมพ์บอกโมเดลและสเปคภายในตัวเครื่องแบบสังเขป

7

เมื่อแง้มกล่องออกมาจะพบกับตัวเครื่อง Zenfone Zoom และสาย Strap คล้องข้อมือที่จัดวางอยู่ในกล่องด้านข้าง

8

สำหรับอุปกรณ์เสริมที่ให้มาในกล่องจะประกอบไปด้วย

1. อแดปเตอร์ชาร์จไฟ
2. สาย Micro USB
3. ชุดหูฟังสมอลทอร์คและจุกยางสำรอง
4. Strap สายคล้องข้อมือ
5. คู่มือการใช้งานฉบับย่อ

9

อแดปเตอร์ชาร์จไฟจะรองรับ Output ที่ 5V-2A และ 9V-2A เพื่อชาร์จไฟได้เร็วขึ้น และตัว Zenfone Zoom นั้นรองรับเทคโนโลยี Quick Charge อยู่แล้วนั่นเอง

10

สายคล้องข้อมือตัววัสดุเป็นหลังแท้ ให้อารมณ์หรูหราและมีความพรีเมี่ยมเข้ากับตัวฝาหลังได้เป็นอย่างดี ซึ่งตัวฝาหลังนั้นทาง ASUS แจ้งมาว่ารุ่นที่วางจำหน่ายในบ้านเราจะเป็นหนังแท้เช่นกันครับ

Design & Hardweare

2

3

ดีไซน์ยังคงเอกลักษณ์ของตระกูล Zenfone ไว้อย่างเหนี่ยวแน่น สังเกตได้จากภาพรวม ๆ ครับ แต่ในแง่ของตัววัสดุต้องบอกว่าดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา โดยเฉพาะขอบเฟรมของตัวเครื่องที่เลือกใช้วัสดุอะลูมิเนียมอัลลอย และตัดขอบโค้งมนและดูสวยงามลงตัวมาก ๆ

สำหรับ build quality อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากเช่นกัน ถึงแม้ตัวเครื่องจะไม่ใช่ unibody ก็ตาม ในเรื่องของงานประกอบให้สอบผ่านเลยครับ

สุดท้ายว่ากันด้วย Handle การจับถือพกพา ตัวเครื่องและน้ำหนักอาจจะไม่เข้าเกณฑ์สมาร์ทโฟนที่เน้นเรื่องความบาง เพราะยังไงด้วยความที่เน้นเรื่องกล้องแถมเป็น Optical Zoom ด้วยแล้ว เลิกคิดเรื่องความบางและนำหนักไปได้เลย แต่สิ่งที่ทดแทนกันไปก็คือการที่มีช่องสำหรับร้อยสายคล้องข้อมือ และวัสดุของตัวฝาหลังนั้นก็มีผลให้การจับถือนั้นมีความกระชับ จับได้ถนัดไม่รู้สึกลื่นมือแต่อย่างใดครับ

11

Zenfone Zoom มีจอแสดงผล IPS ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD และมาพร้อมกระจกกันรอย Corning Gorilla Glass 4

คุณภาพจอของ Zenfone Zoom อยู่ในเกณฑ์ที่ดีครับ ทั้งความสว่าง มุมมองและความคมชัด และ responding ของหน้าจอก็ตอบสนองได้อย่างลื่นไหล ไม่พบเจอปัญหาแต่อย่างใด

12

13

สำรวจ Hardware และการจัดวางเล์เอาท์ของ Zenfone Zoom กันต่อเลยครับ โดยเริ่มจากด้านหน้า

ไฟแจ้งเตือน LED Notification จะอยู่ฝั่งซ้ายมือติดกับช่องลำโพงสนทนา และถัดจากช่องลำโพงจะเป็นชุดเซ็นเซอร์และตามด้วยกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล มีค่ารูรับแสงอยู่ที่ f/2.0, เป็นเลนส์ Wide และรองรับเทคโนโลยี PixelMaster เหมือนตัวกล้องหลักด้านหลัง

สำหรับ 3 ปุ่มควบคุมของตัวระบบแอนดรอยด์ จะเป็นแบบ capacitive button แต่ไม่มีไฟล์แบ็คไลท์มาให้ใช้งานนะครับ

16

ด้านบนของตัวเครื่องจะมีช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. และไมค์ตัดเสียงรบกวน รวมถึงเป็นไมค์ที่ใช้ในการบันทึกเสียงอีกด้วย

14

สำหรับด้านล่างจะประกอบไปด้วย ไมค์สนทนาและพอร์ต Micro USB ส่วนด้านขวามือสุดที่เห็นก็คือร่องบากที่ใช้ในการแกะฝาหลังนั่นเอง

15

ชูจุดขายในเรื่องกล้องอย่างเต็มรูปแบบ Zenfone Zoom จึงมีช่องสำหรับร้อยสายคล้องข้อมือมาให้ด้วย ซึ่งปัจจุบันที่เห็นกันบ่อย ๆ จะมีแค่เพียงค่าย Sony เท่านั้น

17

ดูกันต่อที่ด้านขวามือของตัวเครื่อง

18

ปุ่มเพิ่มลดระดับเสียงที่มาในสไตล์กล้องคอมแพค คือมีสัญลักษณ์ T – W ก็คือ Tele และ Wide ช่วงระยะของเลนส์นั่นเอง ถัดลงมาจะเป็นปุ่ม Power

19

และสุดท้ายพิเศษเหนือสมาร์ทโฟนทั่ว ๆ ไป  ด้วยการให้ปุ่มชัตเตอร์กล้องและปุ่มบันทึกวีดีโอมาในสไตล์กล้องจริง ๆ

21

สำหรับด้านซ้ายจะเรียบ ๆ โล่ง ๆ ไม่พอร์ตหรือปุ่มใด ๆ

ดูกันต่อที่ด้านหลังครับ ด้านบนมุมซ้ายจะมีโลโก้พาร์ทเนอร์หลักก็คือ Intel ตรงกลางเป็นโมดูลกล้องขนาดใหญ่ ถัดลงมาจะมีโลโก้ ASUS และแถบคาดเพื่อยกให้ตัวฝาหลังลอยจากพื้น เพื่อที่เสียงจากลำโพงจะไม่ถูกบดบังนั่นเอง และสุดท้ายท้ายสุดลำโพงมีเดียหรือลำโพงหลักของตัวเครื่องจะอยู่ที่มุมซ้ายล่างครับ

นอกจากนี้ทางค่าย ASUS ส่งเมล์มายืนยันว่ารุ่นที่วางจำหน่ายในประเทศไทย ตัววัสดุที่ห่อหุ้มฝาหลังจะเป็นหนังแท้ ส่วนตัวที่ผมได้มารีวิว ก็พยายามจะพิสูจน์อยู่ครับ ว่ามันเป็นวัสดุอะไรกันแน่ เพราะฟิลลิ่งในการสัมผัสผมมองมองว่ามันเหมือนโพลีคาร์บอเนตมากกว่าหนังแท้นะ ยังไงถ้าได้เครื่องวางจำหน่ายในไทยมารีวิวอีกรอบจะมาบอกเล่าให้ฟังอีกทีในภายหลังครับ

DSC01613

โครงสร้างโมดูลกล้องดูค่อนข้างใหญ่โต แต่ข้อดีคือเมื่อเทียบกับกับสมาร์ทโฟนที่มีกล้องแบบ Optical Zoom ด้วยกัน ตัวเลนส์กล้องของ Zenfone จะไม่ยื่นนูนออกมามาก ทำให้ตัวเครื่องนั้นไม่หนาจนเกินไป

23

และในส่วนของกล้องหลังนั้นมาแบบจัดเต็มจริง ๆ ครับ ด้วยองค์ประกอบของชิ้นเลนส์แบบ 10 ชิ้น จากค่าย Hoya รองรับการซูมแบบ Optical Zoom ได้ 3 เท่า และแบบดิจิตอลซูมได้ถึง 12 เท่า การโฟกัสนั้นสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วแม่นยำด้วยเลเซอร์โฟกัส และยังมาพร้อมกับระบบกันสั่นแบบ OIS แบบ 4 Stops ส่วนไฟแฟลชจะเป็น Dual tone เพื่อให้ภาพที่สมจริงเมื่อเปิดใช้งานโหมดแฟลช

24

รองรับการใช้งาน 1 ซิมการ์ด และใช้ซิมชนิด Micro Sim ส่วนช่องใส่ MicroSD Card จะอยู่ที่ด้านบนของช่องถาดซิมครับ

25

ถอดฝาหลังเพื่อใส่ซิมการ์ดและ MicroSD Card เท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เองนะครับ

26

ในส่วนของตัว NFC ก็จะอยู่ที่ฝาหลังของตัวเครื่อง

22

เมื่อใส่สายคล้องข้อมือแล้วก็จะได้อารมณ์ประมาณนี้ และขอแนะนำเลยว่าควรใส่ไว้เพราะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยจากการใช้งานได้จริง ๆ ครับ

สำหรับการแกะกล่องและสำรวจตัวเครื่อง ASUS Zenfone Zoom ก็จะมีเพียงเท่านี้ครับ


Software & Featere

4 6 5

1 2 3

Zenfone Zoom เปิดตัวมาพร้อมกับ Android 5.0 Lollipop และครอบทับด้วย Zen UI อันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งผมเคยเขียนรายละเอียดเชิงลึกไปแล้ว จึงไม่ขอลงซ้ำเพราะว่า Zen UI ที่มาพร้อมกับตระกูล Zenfone ทั้งหลายจะไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใดครับ

7 9 8

ในส่วนของฟีเจอร์ที่น่าสนใจก็ยังมีมาให้ใช้งานอย่างครบถ้วน เช่น ASUS Mobile Manager ที่เป็นเสมือนผู้ช่วยในการบริหารจัดการการทำงานของตัวเครื่อง ร่วมไปถึง Auto-start Manager ที่ช่วยกำหนด Process เริ่มต้นการทำงานได้อย่างปลอดภัยและบริหารทรัพยากรของเครื่องได้อย่างเป็นระบบ

10 12 11

แอพรวมไปถึงฟีเจอร์อื่น ๆ อย่างเช่น Easy mode, Kids mode และรวมไปถึงแอพจากทางค่ายเช่น Splendid, Power Saver, PC Link ฯลฯ ยังมีมาให้ใช้งานอย่างครบถ้วน ซึ่งผมไม่ขอลงราละเอียดนะครับ เพราะเคยเขียนไปแล้ว สามารถอ่านได้จากบทความเก่า ๆ ที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านั้นครับ รีวิว ASUS Zenfone 6 ภาค Software ตอนที่ 1

Multimedia

16 17 18

FM ที่มีมาให้ใช้งานจะเป็แบบ ทศนิยมแบบ 1 จุด ภาครับสัญญาณอยู่ในเกณฑ์ที่ดีครับ เพียงแต่ฟีเจอร์ของตัว Software นั้นธรรมดาไปหน่อย

13 14 15

Music Player จากค่าย ASUS หน้าตาค่อนข้างเรียบง่าย ไม่มีฟีเจอร์ที่โดดเด่นอะไร และปรับ EQ ผ่านตัวแอพไม่ได้นะครับ แต่สามารถปรับผ่านแอพ AudioWizard ทดแทนได้ครับ

19

VDO Player ตรงนี้เบสิคเพลเยอร์ที่มากับตัวระบบ จึงไม่มีลูกเล่นหรือฟีใด ๆ เน้นไปที่เพลย์แบ็คอย่างเดียวครับ

Performance

28293031 

24252627

สำหรับผลคะแนน อาจจะไม่ได้แรงเท่ารุ่น Top ที่ใช้ชิปเซ็ตจากค่าย Qualcomm  แต่ก็ถือว่ามีความแรงพอตัวสำหรับชิปเซ็ตจาก Intel ที่ชูจุดเด่นในเรื่องของการประหยัดพลังงานเป็นหลัก และจากการใช้งานจริงในภาพรวมตอบสนองการใช้งานได้อย่างลื่นไหลดีครับ ยังไม่พบปัญหาร้ายแรงแต่อย่างใด

 

Camera & Sample


20

22

เมนู Interface เริ่มต้นของกล้องยังคงใช้รูปแบบเดิม ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงครับ และมีโหมด M หรือ manual mode มาให้ใช้งานด้วย

21

โหมดถ่ายภาพที่ใช้งานง่ายและมีหลากหลายเหมือนเช่นเคย แต่บางอย่างก็ดูเป็น “Gimmick” อาจจะไม่ได้ใช้งานจริงจังสักเท่าไหร่

23

สำหรับโหมด Setting การปรับตั้งค่าต่าง ๆ ของกล้องมีความยืดหยุ่นที่ดีครับ สมกับการที่เน้นความเป็น Camera Phone

จากนี้มาดูคุณภาพกล้องของ ASUS Zenfone Zoom  กันได้เลยครับ และเหมือนเช่นเคยที่ผมจะให้ความสำคัญไปที่โหมด Auto เป็นหลัก เพราะการใช้งานจริงของชีวิตประจำวันส่วนใหญ่เราจะใช้โหมดนี้กันอยู่แล้ว และเป็นการวัดคุณภาพจากฝั่ง Software ได้เป็นอย่างดีอีกด้วยครับ



ขอเริ่มจากโหมด Normal และ Zoom 3x  ซึ่งเป็นจุดขายกหลักก่อนนะครับ


ปล. คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่


P_20160201_082229

P_20160201_082244

3x optical zoom


P_20160202_091746

P_20160202_091754

3x optical zoom

P_20160209_175457

 

P_20160209_175631

Normal
P_20160209_175651

3x optical zoom


P_20160209_175701

Digital Zoom 12X



P_20160202_125025_HDR

P_20160201_082156

Normal


P_20160201_082207_HDR

HDR Mode


P_20160202_095901

P_20160202_095935


P_20160202_100129 

P_20160205_122232

 

P_20160131_103203

P_20160131_130115 


P_20160210_190105

P_20160210_190232
P_20160131_103220

 


ภาพจากกล้องหน้าในแบบ Indoor & Outdoor (เซลฟี่โหมด)

P_20160209_175837_BF P_20160209_181725_BF

 

สรุปกล้องหน้าและหลัง มาพูดถึงข้อดีทางกายภาพกันก่อน Zenfone Zoom มาพร้อมกับ Optical  Zoom 3x โดยที่ชิ้นเลนส์จะไม่ยื่นนูนนออกมาจากตัวเครื่องเหมือนกับแบรนด์อื่น ๆ ที่มีระบบ Optical  Zoom เหมือน ๆ กันอีก ตรงนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบในแง่การใช้งานและพกพา และข้อดีอีกอย่างก็คือ Zenfone Zoom มีปุ่มชัตเตอร์+บันทึกวีดีโอ ในแบบ Hardware แยกมาให้ใช้งานอีกด้วย

สำหรับคุณภาพของไฟล์ภาพ เมื่อดูจากรูปตัวอย่างจะเห็นได้ว่า Zenfone Zoom ทำผลงานได้ดี สมกับการเป็น Camera Phone  ส่วนที่จะติจริง ๆ คือ Software ที่ใช้ในการขับเคลื่อนยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรครับ เช่นความไวในการบันทึก และ Optical  Zoom ที่ยังให้ภาพไม่คมชัด และระบบกันสั่นที่จะมีปัญหาเมื่อใช้งานตอน Zoom เป็นต้น ตรงนี้ถ้าปรับแก้ในส่วน Software ได้ตรงจุด ก็น่าจะทำให้การใช้งานมีความสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเดิมครับ

สรุป ASUS ZenFone Zoom
 

ข้อดี

1. วัสดุพรีเมี่ยมและงานประกอบเรียบร้อยแข็งแรงดีมาก
2. Optical  Zoom 3x โดยที่ชิ้นเลนส์จะไม่ยื่นนูนนออกมาจากตัวเครื่อง
3. คุณภาพกล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเมื่อเทียบกับตระกูล Zenfone ที่ผ่าน ๆ มา

สิ่งที่ต้องพิจารณา

1. ตัวเครื่องค่อนข้างร้อนไวเมื่อใช้งานหนัก ๆ
2. Software กล้องยังต้องปรับปรุงอีกในหลาย ๆ ส่วน
3. แบตยังไม่ค่อยอึดเท่าไหร่เมื่อมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

ก็คงจะฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ สำหรับรีวิว ASUS Zenfone Zoom แล้วพบกันใหม่ในรีวิวทดสอบด้านเอนเตอร์เทนครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ ^^

 

สามารถพูดคุยเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่หน้าเว็บบอร์ดเดิมครับ โดยคลิ๊กที่ลิงก์นี้ครับ >>> pdamobiz.com

ถูกใจบทความนี้  0