รีวิว Asus Zenfone Max เครื่องเดียวเอาอยู่

Asus ออกผลิตภัณฑ์ตระกูล Zenfone อย่างไม่หยุดยั้งเพื่อตอบสนองทุกๆ ความต้องการของตลาด ไม่เว้นแม้แต่ความต้องการด้านสมาร์ทโฟนจอใหญ่ แบตอึด รองรับ 2 ซิม อย่าง Asus Zenfone Max ที่กำลังจะรีวิวนี้เพราะมันสามารถใช้งานได้ทั้งวันสบายๆ เลย ด้วยขนาดแบตเตอรี่ที่ใหญ่มากถึง 5,000mAh

Asus Zenfone Max Specifications:
– หน้าจอขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด HD (267ppi)
– Snapdragon 410 Quad Core 1.2GHz
– Ram 2GB
– หน่วยความจำภายในตัวเครื่อง 16GB
– รองรับ Micro SD Card
– กล้องหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล (F2.0) พร้อมไฟแฟลช LED
– กล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล (F2.0)
– รองรับ 2 ซิม
– 4G LTE
– แบตเตอรี่ขนาด 5,000mAh
– Android 5.0.2 Lollipop
– ขนาดตัวเครื่อง 156 x 77.5 x 10.6มม.
– น้ำหนัก 202 กรัม
– ราคา 6,490 บาท

1.แกะกล่อง

Asus-Zenfone-Max-002

Asus Zenfone Max เครื่องที่ได้มารีวิวเป็นตัวเครื่องสีขาว กล่องก็เลยมาสีขาวรึเปล่าไม่แน่ใจ ด้านหน้าก็ไม่ต้องบอกอะไรมาก โชว์หน้าตานิดนึงพร้อมบอกรุ่นก็พอแล้ว

Asus-Zenfone-Max-003

ด้านขวาของกล่องบอกว่ารองรับอะไรบ้าง 4G เอย Bluetooth เอย จอ HD เอย

Asus-Zenfone-Max-004

แกะกล่องออกมาจะพบกับอุปกรณ์ทั้งหมดดังนี้
1.ตัวเครื่อง Zenfone Max
2.แบตเตอรี่
3.Adapter
4.สาย Micro USB 2.0
5.Small Talk

Asus-Zenfone-Max-005

หูฟังที่แถมมาในกล่องจะมีสีดำซึ่งส่วนตัวผมชอบสีนี้นะ อย่างน้อยก็ไม่เหลืองและไม่ดูเลอะเทอะเท่าไหร่ พร้อมด้วยจุกหูฟังสำรองอีก 2 คู่

Asus-Zenfone-Max-006

Adapter จ่ายไฟแรง 1.0A

Asus-Zenfone-Max-007

มาดูตัวเครื่องกันบ้าง ตัวเครื่องสีขาว แต่ขอบจอดันมาเป็นสีดำนะครับ และด้วยหน้าจอขนาด 5.5 นิ้วพร้อมปุ่มบนตัวเครื่องทำให้มีขนาดที่ใหญ่พอสมควร

Asus-Zenfone-Max-008

พอเป็นเครื่องสีขาวนี่ Asus ก็จัดให้แบบขาวทั้งเครื่องเลยจริงๆ เรียกว่าขาวไม่เหลือที่ดำ (เว้นกล้องและอื่นๆ)

Asus-Zenfone-Max-009

ด้านบนหน้าจอจะมีลำโพงสำหรับสนทนาและกล้องหน้าอยู่ทางขวามือ ส่วนทางซ้ายเป็นเซ็นเซอร์ให้จอดับขณะคุยโทรศัพท์และมีไฟแจ้งเตือน LED ด้วย (แต่มันเล็กมากนะ)

Asus-Zenfone-Max-010

ใต้หน้าจอมีปุ่มสัมผัสบนตัวเครื่องสามปุ่มตามสไตล์ Asus Zenfone ประกอบด้วย Back, Home, Recent Apps

Asus-Zenfone-Max-011

ด้านบนของฝาหลังมีกล้องความละเอียด 13 ล้านพิกเซลพร้อม Laser Focus และไฟแฟลช LED คู่สองสี เหนือกล้องมีไมโครโฟนตัวที่สองสำหรับตัดเสียงรบกวน

Asus-Zenfone-Max-012

ด้านใต้ของด้านหลังมีลำโพงตัวเครื่อง

Asus-Zenfone-Max-013

ด้านบนตัวเครื่องมีช่องเสียบหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5มม.

Asus-Zenfone-Max-014

ด้านซ้ายของตัวเครื่องโล่งๆ ไม่มีปุ่มใดๆ

Asus-Zenfone-Max-015

ด้านขวาของตัวเครื่องมีปุ่ม Power และปุ่มเพิ่มลดเสียง
Asus-Zenfone-Max-016

ด้านล่างตัวเครื่องมีช่องเสียบชาร์จ/Micro USB และไมโครโฟน
Asus-Zenfone-Max-017

เปิดฝาหลังดูกันหน่อย อื้อหือแบตก้อนใหญ่มาก

Asus-Zenfone-Max-018

เหนือแบตเตอรี่มีช่องใส่ทั้งซิม 1 ซิม 2 และ Micro SD Card ไม่ต้องมานั่งเลือกว่าจะใช้งาน 2 ซิมหรือใช้งาน Micro SD Card ใส่มันทีเดียวให้จบไป

Asus-Zenfone-Max-019

ลองเอามาถือดูถือว่าตัวเครื่องมีขนาดใหญ่และหนาพอสมควรเลยล่ะ

Asus-Zenfone-Max-020

หน้าจอ HD คมชัดเหลือเฟือสำหรับการใช้งาน ไม่กินไฟดีด้วย

Asus-Zenfone-Max-021

เทียบขนาดกับ LG Nexus 5X กันหน่อย จอ 5.2 นิ้ว ปะทะ จอ 5.5 นิ้ว เล็กกว่ากันนิดนึง

 

2.User Interface & Feature

Asus Launcher

asus-zenfone-selfie-launcher

User Interface ของ Zenfone นั้นมาเหมือนกันทุกรุ่นเลยก็ว่าได้ครับ คือมีความเรียบง่ายและคลาสสิคมาก โดยแบ่งออกเป็นหน้า Home และ App Drawer ซึง Asus launcher นั้นบางทีก็ฉลาดมากเกิน คือมันจัดการแอพประเภทต่างๆ เข้า Folder ให้เสร็จสรรพทันทีที่เราโหลดแอพเสร็จเลย ยกตัวอย่างเช่นผมโหลดเกมส์มาเกมส์นึง พอโหลดเสร็จมันจับโยนเข้าโฟลเดอร์เกมทันที เอ๊อะ จะฉลาดไปไหนล่ะครับท่าน ซึ่งผมว่าก็ดีนะ ไม่ต้องให้แอพกระจายๆ กันเยอะๆ หลายๆ หน้า แบ่งเป็นประเภทนี่ล่ะง่ายดี หรือใครขี้เกียจหาโฟลเดอร์ประเภทต่าง ๆ อีก ก็สามารถค้นหาโดยพิมพ์ชื่อแอพเลยก็ทำได้

Notification Bar

asus-zenfone-selfie-statusbar

Notification Bar ของ Zenfone Maxก็เหมือนกับ Zenfone รุ่นอื่นๆ นั่นล่ะครับ ฮ่าๆๆ เรียกว่าออกกี่รุ่นก็ใช้เหมือนกันหมดสำหรับ Asus และยังเหมือนกับแอนดรอยด์ที่หลายๆ คนคุ้นเคยคือลากลงมาชั้นนึงเป็นแถบการแจ้งเตือนต่างๆ และถ้าลากซ้ำลงมาครั้งที่สองจะเจอกับแถบทางลัดต่างๆ ในการปรับความสว่างหน้าจอ และเปิดปิด Wi-Fi, Bluetooth, ฯลฯ ครับ

Touch Gesture

asus-zenfone-selfie-gesture

Zenfone Max เป็นถึงใหม่ซะอย่างฉะนั้นฟีเจอร์ Touch Gesture มีให้มาด้วยแน่นอนซึ่งเป็นการจับความเคลื่อนไหวต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น หากหน้าจอดับอยู่ เราก็สามารถเคาะหน้าจอสองครั้งเพื่อให้หน้าจอติดขึ้นมาได้ หรือจะเคาะหน้าจอสองครั้งเพื่อปิดหน้าจอก็ทำได้ครับ (แต่ต้องอยู่ที่หน้าโฮมนะ) รวมถึงยังมี Gesture หลายๆ อย่างอีกที่ใช้ ณ ตอนหน้าจอดับโดยการเขียนตัวอักษรอีกดังนี้
– C เพื่อเปิดกล้องถ่ายรูป
– W เพื่อเปิดเว็บบราวเซอร์
– S เพื่อเปิดกล้องถ่ายรูป (กล้องหน้า)
– e เพื่อเปิดอีเมล
– Z เพื่อเปิด Asus Boost
– V เพื่อเปิดหน้าโทรออก

One Hand Mode

asus-zenfone-selfie-one-hand

เนื่องด้วยตัวเครื่อง Zenfone Max เองก็มีขนาดค่อนข้างใหญ่คือหน้าจอก็ปาไป 5.5 นิ้วแล้ว ฉะนั้นคนมือเล็กอาจใช้งานมือเดียวไม่ค่อยสะดวกจึงได้ใส่ฟีเจอร์ One Hand Mode มาให้ด้วยเพื่อทำการย่อหน้าจอลงมา จะได้ใช้งานด้วยมือข้างเดียวได้สะดวกมากยิ่งขึ้นครับ

File Manager

asus-zenfone-selfie-filemanager

แอพจัดการไฟล์ต่างๆ ของตัวเครื่องใช้งานเหมือนทั่วๆ ไป แบ่งออกเป็นหน่วยความจำภายในตัวเครื่องและ Micro SD Card ชัดเจน ซึ่งจะเข้าไปดูไฟล์ส่วนไหนก็กดที่แถบทางขวาออกมา รวมถึงยังเข้าดูพวก Cloud Storage ต่างๆ ในแอพนี้ได้ด้วยนะ

Instant Camera

asus-zenfone-selfie-instantcamera

ผมเองเป็นคนหนึ่งที่บางสถานการณ์ก็ต้องหยิบมือถือมาถ่ายรุปแบบด่วนๆ จะมานั่งกดให้จอติด ปลดล็อค แล้วเข้ากล้องถ่ายรูปก็จะช้าไปนะ หรือจะไปวาดเป็นตัวอักษรหรือการใช้ Gesture ต้องมานั่งนึกอีกว่าวาดอะไรเข้ากล้องฟะ แต่ละรุ่นไม่เหมือนกันเลย ฉะนั้นผมเลยชอบกดปุ่มบนตัวเครื่องเพื่อเรียกแอพกล้องถ่ายรูปขึ้นมามากกว่า ซึ่งโดยปกติของ Zenfone จะถูกปิดฟีเจอร์นี้เอาไว้ต้องมาเปิดใน Setting > Lock Screen > Instant Camera จากนั้นเวลาหน้าจอดับอยู่แล้วต้องการเข้ากล้องถ่ายรูป ก็แค่กดปุ่มเพิ่่มหรือลดเสียงสองครั้งตัวเครืองก็จะเปิดแอพกล้องขึ้นมาทันทีครับ

Power Management

asus-zenfone-2-deluxe-power-management

Zenfone ทุกรุ่นได้ใส่การปรับค่า CPU ของตัวเครื่องมาให้กับผู้ใช้งานด้วย เผื่อต้องการปรับไปตามสถานการณ์ ซึ่งปกติแล้วจะถูกตั้งค่าว่าเป็น Normal (ปกติ) คือให้ตัวเครื่องทำงานแบบพอดิบพอดี ใช้งานไม่ได้ช้าอะไร แต่ไม่ได้ใช้งาน CPU เต็มที่ แต่หากพอจะเล่นเกมส์แล้วก็สามารถมาปรับเป็น Performance ได้ ถ้าเกมส์นั้นกินแรงจริงๆ นะ หรือแบตใกล้หมดก็มาปรับเป็น Power Saving หรือ Super Saving กันไปตามสถานการณ์ ทั้งนี้ยังสามารถตั้งค่าเองได้ด้วย ว่าจะใช้ CPU, ความสว่างจอ, เครือข่าย ทำงานอย่างไร และอนุญาตให้แอพตัวใดทำงานบ้าง โดยสามารถเข้าไปปรับค่าต่างๆ ได้ที่ Setting > Power Management > Power Saver

แต่เอาจริงๆ โหมด Normal เดิมๆ ของตัวเครื่องที่ปรับให้มาก็ถือว่าลื่นและแม้จะเล่นเกมส์ก็ไม่มีปัญหาอะไรแล้วล่ะ ฮ่าๆ

asus-zenfone-max-battery

ทดสอบการใช้งานจริงของ Zenfone Max คงต้องบอกว่าวันนึงไม่ต้องกังวลว่าแบตเตอรี่จะหมดกันเลยทีเดียว เนื่องจากขนาดแบตเตอรี่ที่โคตรใหญ่แล้ว ยังใช้ชิปเซ็ตที่ไม่ได้แรงมากและไม่ได้กินไฟมาก แต่ก็เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไป รวมถึงหน้าจอก็มีความละเอียดไม่สูงนักทำให้ยิ่งไม่กินไฟเลย หากใครไม่ได้ใช้งานหนักมากนักน่าจะใช้งานได้สองสามวันเลยล่ะ

Benchmark

asus-zenfone-max-benchmark

ทดสอบประสิทธิภาพของตัวเครื่อง Zenfone Max ผ่านแอพ Benchmark ต่างๆ ได้ผลดังนี้
– Antutu: 25319
– Geekbench: Single Core 400, Multi-core 1143
– Quadrant Standard: 14726
– Multitouch 10 จุด

 

3.กล้องถ่ายรูป

asus-zenfone-max-camera

Asus Zenfone Max มาพร้อมกล้องหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล F2.0 ละมีไฟแฟลช LED ให้อีกสองดวงสองสี (True Tone Flash) และ Laser Focus

asus-zenfone-selfie-camera-002

โหมดการถ่ายรูปของ Zenfone Max มีมาเยอะมากเหมือนกับรุ่นพี่ที่ออกมาก่อนหน้านี้เลย คือจะเยอะไปไหนเนี่ย รายละเอียดดังนี้
– Auto
– Manual
– HDR
– Beautification
– Super Resolution: เป็นโหมดถ่ายภาพหลายๆ ช็อตแล้วนำมารวมกันให้ได้ภาพความละเอียดที่สูงขึ้น
– Low Light
– Night
– Depth in field: เป็นการถ่ายรูปเสร็จแล้วจัดการปรับภาพให้ฉากหลังเบลอตามความสะใจของเราครับ ฮ่ะๆ ผมว่าเอาไว้ถ่ายสิ่งของมันแจ่มมากเลยนะ
– Effect: เอฟเฟคต์สีต่างๆ
– Gif Animation
– Panorama
– Miniature
– Time Rewind
– Smart Remove
– All smiles
– Slow Motion
– Time Lapse

กล้องหน้า

asus-zenfone-max-front-camera

Asus Zenfone Max มาพร้อมกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล F2.0

กล้องหลังมีโหมดถ่ายรูปอะไรกล้องหน้ามีเกือบหมดครับ แต่ที่จะมีเพิ่มเข้ามาคือ Selfie panorama เผื่อเก็บภาพเป็นหมู่คนเยอะๆ ทั้งนี้เดิมๆ ของกล้องหน้านั้นจะมาในโหมด Beautification หรือโหมดหน้าสวยนั่นเอง

โหมด Beautification นั้นสามารถปรับแต่งได้หลากหลายมากครับ ตั้งแต่เติม Brush ว่าอยากได้สีอะไร, ทำหน้าเนียน 10 ระดับ, ทำหน้าขาวได้อีก 10 ระดับ, ตาโตก็ทำได้ 10 ระดับ และสุดท้ายทำหน้าเรียวได้อีกด้วย 10 ระดับ โอ้ว เรียกว่าใช้กันหมดนี่ออกมาสวยหล่อทุกคนแน่นอน ฮ่าๆๆ

ส่วนของซอฟต์แวร์กล้องจบลงเรียบร้อย ต่อไปก็ไปขอเชิญชมตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องของ Zenfone Max กันครับ
ซึ่งแน่นอนว่าภาพเกือบทั้งหมดถ่ายด้วยโหมด Auto และไม่ได้มีการปรับแต่งใดๆ ทำเพียงย่อขนาดและใส่ลายน้ำเท่านั้นครับ

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-001

เริ่มกันที่กลางแจ้งเลย

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-002

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-003

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-004

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-005

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-006

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-007

ต่อด้วยกลางคืน

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-008

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-009

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-010

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-011

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-012

ต่อด้วยแสงในห้างยามค่ำคืน

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-013

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-014

และพลาดไม่ได้เลยคืออาหาร

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-015

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-016

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-017

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-018

Asus-Zenfone-Max-Sample-Pic-019

ภาพสุดท้ายเป็นภาพจากกล้องหน้านะครับ

สรุป: Zenfone Max เป็น Phablet ที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการพกพาเครื่องเดียวใช้งานได้ 2 ซิม, รองรับ Micro SD Card, 4G LTE และที่สุดคือแบตอยู่ได้ทั้งวัน ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ต้องการเล่นเกมส์อะไรที่หนักมาก คือเน้นที่การเล่น Social Network เสียมากกว่า ทั้งหมดนี้หากคุณกำลังตามหาล่ะก็จัดได้เลยครับ  ในราคาหกพันกว่าๆ ทั้งนี้กล้องถ่ายรูปใช้งานได้ทั่วไป ไม่อึดอัด แต่งานกลางคืนอาจต้องทำใจเรื่องสีกับความเร็วในการจับโฟกัสและการถ่ายรูปหน่อยนะครับ อาจจะช้าหน่อย ส่วนกล้องหน้าทำสวยได้สุดๆ เลย ปรับได้ทั้งหน้าใส เรียว เด้ง ตาโต หล่อใสกันได้ทุกคน

ข้อดี
– รองรับการใช้งาน 4G, 2ซิม และ Micro SD Card
– แบตเตอรี่อึดมาก
– ใช้งานทั่วไปเร็วเหลือเฟือ ด้วย Ram 2GB และรอมที่ทำมาดี
– กล้องถ่ายรูปพอใช้งานได้ในทุกสถานการณ์ มี Laser Focus ช่วยในการจับโฟกัสด้วย

ข้อเสีย
– ขณะสนทนาหากเปิดลำโพงเสียงจะเบาไปหน่อย น่าจะเสียงดังกว่านี้คือถ้าขับรถละรับสายเปิดลำโพนี่จบอะ ไม่ได้ยิน
– ตัวเครื่องไม่ได้แรงมากหากเทียบกับรุ่นอื่นในตลาด แต่ก็แลกกับแบตเตอรี่ที่โคตรอึดนะ
– กล้องเวลาเจอแสงน้อยหรือแสงฟ้านี่ White Balance เละเทะ

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณ Asus Thailand ที่ให้ยืมเครื่องมาทดสอบครับ

==>คอมเม้นท์กันที่เว็บบอร์ดเดิมได้โดยคลิกที่นี่<==



ถูกใจบทความนี้  1