Blind Test: Flagship Battle 2017 ตอนกล้องถ่ายรูปโหมด Auto ด้วย 5 มือถือเรือธง

flagship-battle-2017-cover

Blind Test: Flagship Battle 2017 กลับมาอีกครั้งแต่รอบนี้เราจะมาทดสอบพร้อมกันทีเดียวด้วยสมาร์ทโฟนเรือธง 5 รุ่น โดยมีตั้งแต่ Samsung Galaxy S8 Plus, iPhone 7 Plus, Huawei P10 Plus, Huawei Mate 9 และ Huawei P9 Plus ซึ่งแน่นอนว่าทุกตัวเป็นสมาร์ทโฟนเรือธงหมด แต่อาจเป็นคนละช่วงเวลาหน่อยคืออยู่ระหว่างปี 2016-17 นี่ล่ะ โดยครั้งนี้กลับมาปะทะกันในเรื่องของกล้องถ่ายรูปเช่นเคย และยังคงใช้โหมดถ่ายภาพแบบอัตโนมัติในการถ่ายรูปด้วยเพื่อจะได้รู้กันไปเลยว่าแต่ละรุ่นจะทำผลงานได้เป็นเช่นไร

ก่อนจะไปดู Blind Test เรามารู้สเปคกล้องของแต่ละรุ่นกันก่อน

Samsung Galaxy S8 Plus: กล้องหลังความละเอียด 12 ล้านพิกเซล ค่ารูรับแสง (F) 1.7

iPhone 7 Plus: กล้องหลังคู่ ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล โดยเป็นเลนส์ระยะ 28มม. F1.8 พร้อม OIS และเลนส์ระยะ 56มม. F2.8 (2x optical zoom)

Huawei P10 Plus: กล้องหลังแบบเลนส์คู่ ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล (RGB) และ 20 ล้านพิกเซล (Monochrome) ค่ารูรับแสง (F) 1.8

Huawei Mate 9: กล้องหลังแบบเลนส์คู่ ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล (RGB) และ 20 ล้านพิกเซล (Monochrome) ค่ารูรับแสง (F) 2.2

Huawei P9 Plus: กล้องหลังแบบเลนส์คู่ ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล ค่ารูรับแสง (F) 2.2 โดยเลนส์ตัวนึงใช้เซ็นเซอร์สำหรับถ่ายขาวดำโดยเฉพาะ และอีกเลนส์นึงใช้เซ็นเซอร์สำหรับถ่ายรูปสีปกติ พร้อมด้วย Laser Focus ช่วยในการโฟกัส

ภาพถ่ายทั้งหมดของทุกรุ่นผมจะนำมารวมกันเป็นภาพเดียวแล้วย่อขนาดเหลือราวๆ 75% เพื่อให้อัพโหลดและฝากไฟล์ให้ชมผ่านเว็บได้ และทุกรูปจะไม่มีการตกแต่งใดๆ ทุกภาพจะใช้การโฟกัสจุดเดียวกัน และพยายามถ่ายระยะและมุมให้ใกล้เคียงกันที่สุด โดยทั้ง 5 ภาพจะเรียงลำดับดังนี้
A B C
D E

เรามาลองดูกันว่าทั้ง 5 รุ่นจะให้ภาพเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และใครชอบแบบไหน และจะเป็นรุ่นอะไร ลองเดากันดูได้เลย

cof

ภาพแรก: เริ่มต้นกันด้วยภาพกลางแจ้ง แดดแรงๆ ฟ้าสวยๆ กับทางรถไฟ สีฟ้าของภาพ B และ C จะจืดกว่าชาวบ้านหน่อย ส่วน D นี่มาเข้มมาก

cof

ภาพสอง: ยังคงอยู่กลางแจ้งเวลาประมาณบ่ายสาม ถ่ายทิศทงที่แสงส่องไป ฟ้าวันนั้นสวยเป็นสีฟ้า ตามที่เห็นนั่นล่ะ ภาพนี้ทุกรุ่นให้สีฟ้าออกมาสวยดี ซึ่งมีเข้มบ้างอ่อนบ้างแล้วแต่สไตล์ภาพของแต่ละรุ่น

cof

ภาพสาม: สิ่งก่อสร้างที่เหมือนประตูที่สวนหลวง ร.9 กลางแจ้งเช่นเคย เห็นแดดแรงๆ แบบเนี้ยเวลาประมาณห้าโมงเย็นแล้วนะนั่น ภาพนี้เกือบทุกภาพเก็บท้องฟ้าได้ค่อนข้างดี จะมีก็แค่ภาพ B,D ที่สีท้องฟ้าเข้มกว่าใครเพื่อน

cof

ภาพสี่: ภาพนี้ส่อให้เห็นความเพี้ยนของ White Balance ได้ดีจริงๆ เจ้าหุ่นที่เป็นแบบเนี่ยต้องตัวขาวนะ บางรูปนี่ออกมาสีฟ้าเลยล่ะ แต่ก็แลกกันเพราะรั้วต้องสีน้ำเงิน ซึ่งภาพที่จับตัวหุ่นมาสีขาวนั้นสีรั้วจะเพี้ยนไป คงต้องเลือกว่าชอบแบบไหน ส่วนหลังฉากก็แดดส่องแรงๆ นั่นล่ะ ฉะนั้นจะจ้ากว่าหน้าก็ไม่แปลก

cof

ภาพห้า: รถยนต์สีน้ำเงินเข้มเงาวับ จอดกลางแจ้งแดดแรงๆ เวลาบ่ายสอง ส่องมาจากทางขวาของภาพซึ่งจะให้เงาที่แรงมากตรงพุ่มไม้ รวมถึงตัวรถยนต์ ซึ่งภาพ A,C,E ให้สีตัวรถค่อนข้างเข้ม ส่วนภาพ B จะสว่างกว่าภาพอื่น และภาพ D นั้นสีจะสดกว่าใครเพื่อน

flagship-battle-2017-0006

ภาพหก: ถ่ายบุคคลกลางแจ้งกันดู แต่หลบแดดในร่มเงาบ้างไม่งั้นมีไหม้กันไปข้างอ่ะ ภาพนี้จะใช้การโฟกัสที่ตัวบุคคล ซึ่งทุกภาพให้สีของผิวที่แตกต่างกันพอสมควรเลยล่ะ โดยในภาพประตูคือสีน้ำเงิน, อิฐสีแดงๆ ส้มๆ นะ ทีนี้อยู่ที่ว่าชอบฉากสวยหรือผิวคนสวยแล้วล่ะ

cof

ภาพเจ็ด: ยังลากคนไปถ่ายกลางแจ้งเช่นเคยและโฟกัสที่คน ภาพนี้จะว่าย้อนแสงก็ไม่ใช่เพียงแต่แสงมันส่องตรงหลังคนมากกว่าแต่ละภาพให้สีผิวคนได้แตกต่างกันได้อีก แน่นอนว่ารวมถึงสีของใบไม้เขียวๆ ด้วย บางภาพนี่เขียวสดได้อีกจริงๆ

sdr

ภาพแปด: ภาพนี้เวลาประมาณเกือบหกโมงก่อนพระอาทิตย์จะลาจากไป ถ่ายโดยหันหลังให้พระอาทิคย์ แสงแดดมันจะเหลืองๆ ส้มๆลองดูว่าภาพไหนได้อารมณ์ที่ชอบมากกว่ากันละกัน เพราะมองว่าทุกภาพทำได้ดีอยุ่ ต่างแค่โทนสีที่ชอบเท่านั้น

sdr

ภาพเก้า: ลองถ่ายบุคคลย้อนแสงโดยโฟกัสที่บุคคลดู เอ้อ สถานการณ์เหมือนจะโหดร้ายมากไปหน่อย เพราะถ้าย้อนแสงจะเอาคนชัดฉากหลังมันจะหายไปเยอะ ซึ่งทุกภาพยังเก็บรายละเอียดด้านหลังได้ค่อนข้างโอเคเลยยกเว้นภาพ B ส่วนภาพ A จะมืดกว่าชาวบ้านหน่อยแต่ก็เก็บรายละเอียดของฉากได้ดีกว่าคนอื่นเช่นกัน แต่ถ้าเอาสีผิวคนสวยก็ต้อง C,D,F แล้วแต่ชอบ

cof

ภาพสิบ: ภาพนี้ย้อนแสงหนักกว่าอีกเพราะจงใจให้พระอาทิตย์อยู่เหนือแบบ จะดูว่ายังเก็บรายละเอียดหน้าคนได้ดีแค่ไหนเมื่อเจอย้อนแสงหนักๆ แน่นอนว่าเละทุกภาพ เกือบทุกภาพจะมีแฟลร์เกิดมาบังหน้าแบบหมด ซึ่งจะเหลือแค่ภาพ B ที่ยังพอเห็นหน้าแบบได้เต็มๆ หน่อย

cof

ภาพสิบเอ็ด: เปลี่ยนสถานการณ์เป็นฟ้าขาวๆ โล่งๆ เวลาประมาณหกโมงเย็นบ้าง เออ หกโมงเย็นจริงๆ แต่แสงยังเยอะอยู่เลย ต้นไม้เขียวๆ ดอกไม้ชมพูม่วงๆ นางแบบตัวขาวๆ ลองดูละกันว่าชอบโทนภาพแบบไหน แต่ภาพ B นี่สีจะจืดไปไหนจ๊ะ

cof

ภาพสิบสอง: ถ่ายภาพในร้านกาแฟกันบ้าง โฟกัสที่นางแบบเช่นเคย แต่ยังย้อนแสงอยู่ ภาพนี้ถ่ายตอนบ่ายสองได้ โดยย้อนแสงไปหากระจกด้านหลัง ภาพ B ยังคงสีแปลกกว่าชาวบ้านคือผิวคนดูขาวๆ ไม่เหลืองไม่แดง แตกต่างกับคนอื่นที่สีผิวจะเหลืองๆ แดงๆ หน่อย ดูๆ ไปภาพนี้สีผิวของภาพ E เหมือนจะดีที่สุดเพราะดูขาวอมชมพูสุดละ

cof

ภาพสิบสาม: ถ่ายภาพร้านเดียวกับเมื่อกี้แหละ แต่ภาพนี้จงใจให้แสงเข้าหน้านางแบบส่วนนึง โดยถ่ายย้อนออกไปข้างนอกที่แดดแรงแค่ไหนดูฉากหลังเอาละกัน เล่นซะหายเกลี้ยงเกือบทุกภาพ

cof

ภาพสิบสี่: มุมเดิมกับภาพสิบสาม แสงเข้าหน้านางแบบเช่นเคย แต่ถ่ายเป็นแนวตั้งแทนเพราะไม่อยากได้ย้อนแสงหนักมากนัก ซึ่งทุกภาพจะเก็บแสงเงาได้ดีหมด แต่ต่างกันที่สีของภาพซึ่งมีออกอมเหลือง อมแดง อมฟ้า

cof

ภาพสิบห้า: ภาพนี้แสงเข้าจากทางขวาของภาพ เวลาประมาณบ่ายสามโมง ก็ถือว่าแดดยังแรง ฉากหลังเป็นกำแพงสีขาว เรื่องแสงเงาน่ะทุกภาพไล่ได้ดีพอกัน แต่เรื่องสีของภาพน่ะยังมีแค่ภาพ B ที่ดูซีดๆ หน่อย ส่วนภาพ A,C ติดเหลืองเล็กๆ ภาพ D,E ก็ติดแดงหน่อยๆ

cof

ภาพสิบหก: ภาพนี้แดดส่องจากทางใต้ของภาพเลย เวลาประมาณบ่ายสามต่อจากภาพบน ฉากหลังยังเป็นกำแพงสีขาว โต๊ะไม้สีอ่อน ต้นไม้เขียวจางๆ ไม่สดมาก ภาพนี้ผมชอบภาพ E ที่สุดละ สีสันหน้าคนมันออกมาพอดีสุด ส่วนภาพอื่นยังติดเหลืองติดแดงติดซีดไปหน่อย

cof

ภาพสิบเจ็ด: กองหนังสือที่มีแสงเข้าจากทางขวาบนของภาพ เรื่องเก็บแสงเงาไล่กันได้ดีหมด ภาพ B, D จะดูโทนอุ่นๆ หน่อย ส่วน A.C.E จะออกโทนเย็นนิดๆ

cof

ภาพสิบแปด: ถ่ายกล้องสีดำบนโต๊ะไม้สีไม้อ่อน พร้อมกาแฟคาราเมลมัคคิอาโต้ที่ชั้นบนยังเป็นกาแฟเข้มๆ เต็มๆ ภาพ D นี่ฉีกแนวจากคนอื่นชัดเจนแฮะ ตัวกล้องติดฟ้าๆ โต๊ะไม้อมชมพูหน่อย ซึ่งตัวกล้องจริงๆ นั้นเป็นสีดำ

sdr

ภาพสิบเก้า: ภาพอาหารบนโต๊ะไม้สีอ่อนเช่นกัน (แต่คนละโต๊ะกับภาพบนนะ) มีแสงส่องลงมาเบาๆ ภาพ A นี่ออกสีธรรมชาติ ไม่สด, ภาพ B สีซีดและยังติดโทนเหลือง, ภาพ C, E สีอาหารสดดีแต่ติดโทนฟ้าไปหน่อย, ภาพ D สีสันอาหารสดแต่ภาพติดโทนร้อน

sdr

ภาพยี่สิบ: โต๊ะและสภาพแสงเวลาใกล้เคียงกันกับอาหารด้านบน มีแสงแดดส่องลงมาเบาๆ แน่นอนว่ากระป๋องโค้กต้องสีแดง กระป๋องพริงเกิ้ลต้องสีเขียวนะ

cof

ภาพยี่สิบเอ็ด: ขนมหวานบนจานสีขาวพร้อมช้อนส้อมเสิร์ฟบนถาดไม้ ภายใต้หลอดไฟสีเหลืองนวล ภาพ A,B ดูซีดๆ ไป

cof

ภาพยี่สิบสอง: ถ่ายแก้วกาแฟลาเต้เย็น สีกาแฟมันจะไม่เข้มเท่าไหร่ เพราะนมมันเยอะ  ฉะนั้นภาพ C,E สีจะแดงไปหน่อย ถ้าเข้มกว่านี้จะดูเป็นชาเย็นละ

mde

ภาพยี่สิบสาม: ถ่ายอะไรหว่า จะเรียกว่าอุโมงค์ก็ไม่เชิง ทางเดินที่มีต้นไม้คลุมละกัน สภาพแสงราวๆ หกโมงครึ่งเกือบทุ่ม ภาพนี้แข่งกันเพี้ยนนะ ไม่มีสีตรงสักภาพเพราะพื้นมันต้องสีเทา บางภาพอมม่วงหยั่งกะโดนหลอดไฟนีออนยิงมาแรงๆ ภาพรูปอมเขียว บางรูปก็ยังเหลืองอยู่

ดูกันมา 23 ภาพละ สำหรับ Flagship Battle 2017 พอจะเดากันออกบ้างไหมว่าภาพไหนถ่ายจากสมาร์ทโฟนรุ่นอะไร ระหว่าง Samsung Galaxy S8 Plus, iPhone 7 Plus, Huawei P10 Plus, Huawei Mate 9 และ Huawei P9 Plus ซึ่งอย่างที่บอกไปข้างต้นว่าตำแหน่งของทุกภาพนั้นผมไม่ได้มีการสับเปลี่ยนแต่อย่างใด

จากผลการทดสอบผมสรุปได้ว่ากล้องสมาร์ทโฟนแต่ละรุ่นจะให้สไตล์ของภาพที่แตกต่างกันเล็กน้อย แม้กระทั่งของ Huawei เองก็ตามซึ่งต้องบอกเลยว่าสมาร์ทโฟนตัวหนึ่งๆ มันสามารถถ่ายรูปได้เกือบทุกสถานการณ์แล้วล่ะ แต่ก็ไม่ได้เก่งทุกสถานการณ์ บางตัวรุ่นเก่ากว่าอาจถ่ายออกมาได้ดูดีและถูกใจเรากว่ารุ่นใหม่ๆ ก็เป็นได้

และนี่คือโฉมหน้าที่แท้จริงว่าใครจะอยู่ตำแหน่งไหนบ้าง เอาล่ะทุกคน ถอดหน้ากากครับ !!

.

..

….

…..

……

…….

ทาด๊าาาาาา

A = Huawei P9 Plus
B = iPhone 7 Plus
C = Huawei P10 Plus
D = Samsung Galaxy S8 Plus
E = Huawei Mate 9

:P อ้าวเฮ้ย ไม่เหมือนที่เดากันไว้นี่หว่า ถ้าใครเดาถูกหมดก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ รีวิว Blind Test: Flagship Battle 2017 นี้ผมจัดทำขึ้นเพื่อให้เห็นสไตล์ของภาพที่จะได้จากสมาร์ทโฟนแต่ละรุ่นนะ ซึ่งใครถือรุ่นไหนอยู่หรือเล็งๆ รุ่นไหนอยู่ อาจจะตัดสินใจได้ง่ายขึ้นจากรีวิวนี้ก็เป็นได้ครับ

ถูกใจบทความนี้  1