ทำความรู้จัก eSIM (Embedded SIM) ในไทย

ผมว่าหลายคนอาจจะรู้จักแล้ว แต่ว่าอีกหลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก เพราะในบ้านเราตอนนี้ น่าจะมีเพียง Apple เท่านั้นที่เริ่มต้นการใช้งาน eSIM อย่างจริงจัง โดยเริ่มต้นจาก Apple Watch 3 GPS+Cellular ในบ้านเราก็มี TrueMove H ที่เริ่มให้บริการแล้ว จริงๆ eSIM ไม่จำเป็นต้องให้บริการกับโอเปอเรเตอร์เสมอไป แต่ทาง Apple แค่ทำให้คนอยากมาใช้ eSIM โดยคิดเรื่องการใช้งานเบอร์เดียวขึ้นมาทำให้ eSIM เกิดในบ้านเราอย่างเป็นทางการ เป็นบริการ eSIM เจ้าแรกจาก Apple ที่รวมมือกับโอเปอเรเตอร์อย่าง TrueMove H ส่วน AIS และ DTAC จะตามมาอย่างแน่นอน คราวนี้เรามาทำความเข้าใจ eSIM กันให้มากกว่าเดิม

หลายคนรู้จัก eSIM กันอยู่แล้ว แต่ว่าวันนี้จะมาเจาะลงไปอีกหน่อยนึง เพราะตอนนี้มีใช้งานแล้วอย่างเป็นทางการ หลังจากเมื่อปลายปีที่แล้วได้มีกระแส eSIM มาจากต่างประเทศก็เพราะ Apple Watch 3 GPS+Cellular นั่นเอง  และวันนี้ก็มาเมืองไทยเรียบร้อย อาจจะพูดถึงเยอะหน่อย สำหรับ Apple Watch 3 GPS+Cellular เพราะว่ามีให้ใช้งานจริง ไม่ได้ใช้ตัวแสดงแทน

ก่อนจะไปรู้จักกับ eSIM เรามารู้จักกับวิวัฒนาการของ SIM กันก่อน

SIM ย่อมาจาก Subscriber Identity Module คือ ซิมที่เราใช้งานอยู่บนโทรศัพท์ในปัจจุบันนี่ล่ะครับ จริงๆ มันคือวงจรอิเล็กทรอนิกส์หรือหน่วยความจำรูปแบบนึงซึ่งเอาไว้เก็บข้อมูลเบอร์โทรและค่าต่างๆ ที่บ่งบอกว่าเป็นเบอร์ของเรา ซึ่งจะมีเลขที่ซิมอยู่ 13 หลัก ปกติเวลาซิมมีปัญหา ทางโอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการมักจะถามหาเมื่อซิมเรามีปัญหา คราวนี้เรามาดูวิวัฒนาการของ SIM กันหน่อย กว่าจะมาเป็น eSIM ในวันนี้

กำเนิดซิมครั้งแรกตั้งแต่ปี 1974 หรือประมาณ 2517 หลายๆ คนยังไม่ได้เกิดเลยเสียด้วยซ้ำ ก็เกิด patent หรือสิทธิบัตร ทางด้านหน่วยความจำและคอนเซ็ปท์เรียบร้อยแล้ว ถือว่าเป็นต้นกำเนิดซิมก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีซิมออกมาเป็รูปเป็นร่างก็ตามที  และในปี 1993 ทาง ETSI (European Telecommunications Standards Institute) ได้กำหนดมาตรฐานของ SIM card ขึ้นมา นั่นอาจจะเรียกได้ว่าเป็นครั้งแรกที่กำเนิดซิมก็ว่าได้ แต่จากหลายแหล่งแจ้งว่าเป็นปี 1991 ที่ SIM กำเนิดขึ้น แต่เราใช้มาตรฐาน SIM ในรูปแบบมาตรฐานมานานเป็นสิบปีเลยทีเดียว ซึ่งเราจะเห็นซิมใบใหญ่ แต่จะหักเจ้า Mini SIM ใส่เครื่อง


ซึ่งต่อมาในปี 2003 ขนาดของซิมก็ได้ลดลงเป็น Micro SIM และ Nano SIM ตามลำดับ ซึ่ง eSIM ถูกประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2013 โดย GSMA ซึ่งกว่าจะใช้งานได้จริง ก็เมื่อปีที่แล้วในเมืองนอก และปีนี้ที่เมืองไทยของเรานี่เอง ซึ่งหากดูจากภาพด้านบน ขนาดของ SIM จะเล็กลงเรื่อยๆ จนเหลือเป็น eSIM ขนาดเพียง 4มม. ซึ่งตอนนี้ยังมีใช้งานแค่ Apple Watch 3 GPS Cellular ในไทยเท่านั้น ที่สามารถใช้โทรออกและรับสายได้เหมือนโทรศัพท์ทั่วไป และในอนาคตจะมี eSIM บนอุปกรณ์อีกมากมาย ไม่ใช่แค่ Wearable และบน Smartphone เท่านั้น แต่จะยังไปอยู่บนอุปกรณ์ IoT และ M2M ทั้งหลายอีกด้วย

มารู้จัก eSIM ให้มากขึ้น

eSIM ในปัจจุบัน ที่ใช้งานบน Apple Watch 3 GPS Cellular นั้น เป็นขนาด SIM ที่ถูกบรรจุอยู่ในตัวเครื่อง ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้

ซึ่งในการออกแบบนั้น มีอยู่หลายแบบให้เลือกใช้งาน ซึ่งเราก็ใช้งานกันมาระยะยาวแล้ว ก็คือแบบมาตรฐาน ที่สามารถถอดเปลี่ยนซิมได้ แต่ไม่สามารถโปรแกรมหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ในขณะเดียวกัน อีกมาตรฐานนึงสามารถโปรแกรมข้อมูลต่างๆ ลงไปได้ ซึ่งตรงนี้เองไม่แน่ใจว่ารวมไปถึงเปลี่ยน ซิมซีเรียลได้หรือไม่ ส่วนที่เราอาจจะไม่ค่อยเห็นก็คือแบบมาตรฐานบวกแบบฝังในตัวเครื่อง แต่เราจะมาหยุดอยู่ตรงสุดท้ายคือ ฝังในตัวเครื่อง ณ ปัจจุบัน

แต่รู้หรือไม่ว่า อนาคตยังมี Soft SIM/vSIM

มีความเป็นไปได้ว่า หลังจากยุค eSIM ที่กำลังจะมาให้เราใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอีกไม่นานนี้ จะกลายเป็น Soft SIM หรือ vSIM ความหมายก็คือไม่มีซิมทางกายภาพเป็นวัตถุอีกต่อไป แต่ซิมจะทำงานในระดับของ software ซึ่งไม่จำเป็นต้องพึ่ง Hardware อีกต่อไป หรืออาจจะเข้าใจว่าเป็นซิมเสมือนก็ว่าได้ เพราะงานนี้ไม่ได้อยู่ในตัวเครื่อง แต่เป็น software อาจจะบรรจุอยู่ใน chipset หลักก็เป็นได้

การทำงาน eSIM ในแบบฉบับ Apple

จริงๆ eSIM ณ ปัจจุบันที่ให้บริการโดย Apple และ TrueMove H ในประเทศไทย เป็นระบบ One Number ซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบมาโดย Apple ซึ่งสามารถโทรออกและรับสายจากเครื่องใดก็ได้ สายที่โทรเข้ามาจะดังพร้อมกันทุกอุปกรณ์ แต่ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ APple อาจจะไม่ได้ใช้ระบบนี้ก็ได้


ในปัจจุบัน Apple จะใช้ลักษณะของการจัดเก็บโปรไฟล์ของ eSIM ซึ่งไม่ขึ้นตรงกับค่ายใดค่ายนึง อย่างเช่น Apple Watch 3 GPS Cellular ที่เราใช้งานอยู่ จะสามารถใส่โปรไฟล์ได้หลายโปรไฟล์ จำกัดสูงสุดที่ 5 โปรไฟล์ ดังนั้นเราสามารถนำอุปกรณ์ Apple Watch 3 GPS Cellular ไปใช้งานที่ต่างประเทศโดยใช้เครือข่ายอื่น โดยไม่ต้องซื้อซิมใส่ลงไปในตัวเครื่อง แต่หากไปเปิดบริการที่ต่างประเทศและทำตามขั้นตอนก็จะสามารถใช้งานได้ทันที ในขณะที่เรากลับมาจากต่างประเทศหรือต่างเครือข่าย โปรไฟล์นั้นหากยังไม่ถูกลบก็จะสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้เช่นเดียวกัน นับว่าเป็นข้อดีที่ไม่จำกัดการใช้งานกับโอเปอเรเตอร์ใดๆ (ยกเว้นถูกผูกสัญญา)

และในอนาคตจะไม่ใช่แค่ Smartphone และ Wearable เท่านั้น ยังมีทางด้าน IoT และ M2M (Machine to Machine) ที่จะฝังตัว eSIM ลงไปพร้อมเชื่อมต่อกับเครือข่ายมือถือได้ทันที และอาจจะมีความเป็นไปได้ว่า อนาคตโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการพร้อมอุปกรณ์ลักษณะนี้ อาจจะเกิดใหม่ได้ง่ายขึ้น หากถูกถอดข้อจำกัดเรื่องระบุผู้ใช้งานด้วยเบอร์ แต่จะเปลี่ยนไประบุการใช้งานด้วย ID อะไรสักอย่างนึงที่อาจจะเป็นมาตรฐานใหม่ในอนาคต คล้ายกับสกุลเงินที่กำลังจะเปลี่ยนไป

eSIM ในประเทศไทย?

ณ ปัจจุบันมีเพียง Apple Watch 3 GPS Cellular เท่านั้นที่ใช้งานได้ แต่อนาคตอันใกล้คงมีตามมาอีก เช่น Apple Watch 4 รวมถึงแบรนด์คู่แข่งอย่าง Samsung หรือแม้กระทั่ง Huawei ที่เป็นเจ้าพ่อแห่งอุปกรณ์สื่อสารก็คงจะคลานตามกันมาในอีกไม่ช้าไม่นาน รวมถึง eSIM บน Smartphone ที่ต้องดูกันว่าใครจะลงมาในตลาดก่อนกัน เราจะได้เห็น Smartphone ที่มีการออกแบบใหม่ ประหยัดพื้นที่ซิมได้ ก็อาจจะเพิ่มอุปกรณ์อื่นๆ ลงไปหรือไม่ก็ลดขนาดได้อีก

ส่วน Apple Watch 3 GPS Cellular ณ ปัจจุบัน ตอนที่เขียนบทความนี้ยังมีเค่เครือข่าย TrueMove H เท่านั้นที่่ให้บริการ เครือข่ายอย่าง AIS หรือ DTAC คงต้องรอประกาศ ส่วนใครที่จะใช้ Apple Watch 3 GPS Cellular เพื่อใช้งาน eSIM ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเปลี่ยนค่ายไม่ได้เพราะยังไงซะ ก็มีโปรไฟล์ให้ใส่ได้ถึง 5 โปรไฟล์เลยทีเดียว หากค่ายอื่นมาก็ใส่โปรไฟล์ลงไปเท่านั้นคือจบ ย้ายค่ายสมัยนี้ก็ไม่ยากอีกด้วย

เรียบเรียงจาก converlogic และ ey

ถูกใจบทความนี้  190

71 thoughts on “ทำความรู้จัก eSIM (Embedded SIM) ในไทย

  1. Pingback: ไพ่แคง
  2. Pingback: Buy Weed Online
  3. Pingback: enlevement epave
  4. Pingback: enlevement epave
  5. Pingback: Equality
  6. Pingback: berry pie strain
  7. Pingback: cereal milk strain
  8. Pingback: CZ P10C
  9. Pingback: Glock 43x

Comments are closed.