รีวิว Xiaomi Mi Smartband 6 ครบเครื่องเรื่องสุขภาพ และกีฬา

มาแล้วจ้า Xiaomi บนอุปกรณ์ Wearable บนข้อมือของเรา เรียกได้ว่าเป็น Smartband ในรุ่นที่ 6 แล้ว ผ่านมา 6 รุ่นมีอะไรดีขึ้นไหมต้องมาดูกัน ใช้งานมาเดือนเต็มๆ เลยเอามาบอกเล่าในช่วงโควิดแบบนี้กันสักหน่อย จริงๆ มีฟีเจอร์ติดตัวมาเพียบ ส่วน Mi Smartband 6 รุ่นนี้ที่ใช้งานคือเวอร์ชั่นจีนแต่แสดงผลภาษาไทยได้ และใช้งานเมนูเป็นภาษาอังกฤษ ที่เหลือจัดเต็มได้เลย รุ่นที่ 6 แล้ว ก็รองรับ SpO2 วัดออกซิเจนในกระแสเลือดได้แล้ว เหมาะในช่วงโควิด 19 ที่ช่วยตรวจเบื้องต้นได้ แต่ยังมีอย่างอื่นอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย 30 ชนิด พร้อมแทรคสุขภาพคุณผู้หญิงได้ด้วยนะ

 

สำหรับ Mi Smartband 6 มีฟีเจอร์ดังนี้ (จาก Thaisuperphone)

– หน้าจอแสดงผล AMOLED 1.56 นิ้ว ความละเอียดมากถึง 152×486 พิกเซล 326PPi
– หน้าจอมีขนาดใหญ่กว่า Mi Band 5 มากถึง 50%
– มาพร้อมหน้าปัดที่สามารถเลือกใช้งานได้มากกว่า 130 รูปแบบ สามารถเลือกเปลี่ยนได้ตามต้องการ
– โหมดออกกำลังกายมากถึง 30 โหมด ครอบคลุมการออกกำลังที่มากกว่า
– แบตเตอรี่ขนาด 125mAh รองรับการใช้งานได้นานสูงสุดถึง 14 วัน
– ให้เราดูแลคุณ ฟังก์ชันการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ 24 ชั่วโมง ด้วยเซ็นเซอร์ PPG
– ตรวจเช็คสุขภาพได้ง่ายด้วย Blood Oxygen Test วัดปริมาณออกซิเจนในเลือดเบื้องต้น
– อยู่ข้างคุณเสมอทุกค่ำคืน ฟังก์ชันติดตามการนอนหลับสามารถตรวจจับได้ทั้ง การหลับปกติ และหลับลึก
– ฟังก์ชันบันทึกประจำเดือน และคาดการณ์วันตกไข่ ช่วยให้คุณเตรียมพร้อมได้ล่วงหน้า
– กันน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถกันได้ถึงความลึกที่ 50 เมตร
– ใช้งานเป็นรีโมทควบคุมการเล่นเพลง และรีโมทชัตเตอร์กล้อง Smartphone ได้
– รองรับการแจ้งเตือนที่หน้าจอ อย่างครบถ้วนตามแบบฉบับของ Mi Band
– ฟังก์ชันต่างๆ ของ Mi Band 5 จะถูกยกมาไว้ใน Mi Band 6 และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
– เซ็นเซอร์ Heart Rate, SpO2, 3-axis Accelerometer Barometer และ 3-axis Proximity
– รองรับการชาร์จด้วยหัวชาร์จแบบแม่เหล็ก สามารถชาร์จได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องถอดสายนาฬิกา
– สามารถใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ผ่านแอปพลิเคชั่น Mi Wear
– เชื่อมต่อได้ง่ายผ่านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth 5.0
– น้ำหนักเบาเพียง 12.8 กรัม สามารถใส่ใช้งานได้ตลอดทั้งวัน โดยไม่รู้สึกหนักข้อมือ

มาแกะกล่อง Mi Smartband 6 กันนิดนึง

ตัวกล่องยังคงมาพร้อมกับดีไซน์เหมือนกับ Mi Smartband 5 รวมถึงรูปลักษณ์ต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน เป็นกล่องสีดำ ผมว่าอีกสักพักน่าจะเป็น major change ตอนนี้ยัง minor change ก็ยังคงเดิมๆ ไปก่อน

ส่วนอุปกรณ์ด้านในยังคงมีแค่ตัว Mi Smartband 6 สายรัด สายชาร์จและคู่มือตามปกติ ซึ่งตัวที่รีวิวนี้เป็นเวอร์ชั่น CN/EN นะครับ สามารถใช้งานภาษาไทยได้ในการเตือนต่างๆ แต่จะใช้ไม่ได้เฉพาะในส่วนของเมนู

สายชาร์จยังคงใช้ลักษณะเดียวกันกับ Mi Smartband 5 มีรุ่นเก่าอยู่ก็ใช้งานร่วมกันได้เลย

รวมถึงสายรัดข้อมือด้วย ขนาดเดียวกัน จริงๆ ขนาดตัว band ต่างกันนิดหน่อย ระดับ มม. ไม่มีผลใดๆ

สำหรับ Mi Smartband 6 มีหน้าจอแสดงผลใหญ่กว่า รุ่นที่แล้ว ทำให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งการสัมผัสใส่คำสั่ง การแสดงผลเต็มตา มีพื้นที่มากกว่าเดิมนั่นเองครับ ซึ่งเค้าเคลมไว้ว่ามีการแสดงผลมากกว่าเดิมถึง 50% เพราะจากการแสดงผลแบบสี่เหลี่ยม กลายเป็นเต็ม Smartband เลย

ทำให้สามารถแสดงผลเพิ่มเติมได้เพียบ เช่น การแสดงผลทางแนวนอน เวลาชาร์จอันนี้คือใหม่นะ เป็น UI ที่เปลี่ยนแปลงเล็กๆ

รวมถึงการแสดงผลประวัติการออกกำลังกาย ที่เพิ่มเติมเข้ามา สามารถดูประวัติและรายละเอียดได้ครบถ้วน เหมือนกับบน  และที่น่าจะถูกใจก็คือ กราฟิคตัวหน้าปัทม์ หรือ watch face ที่มีตัวเลือกมากมาย และยังแสดงเป็นรูปแบบภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย ส่วน Customize ในแอปยังไม่เห็นนะครับ แต่ก็คงทำได้ตามวิธีดั้งเดิม ซึ่งจริงๆ ผมเองไม่ถนัดเรื่องโม ก็ใช้งานที่มีให้เลือกในแอปนั่นล่ะ ถือว่าเยอะแล้วนะ แต่ถ้าไม่ถูกใจก็หาวิธีปรับแต่งกันอีกที

หน้าจอเปรียบเทียบระหว่าง Mi Smartband 6 และ Mi Smartband 5 ก็ใกล้เคียงกันนะ เพียงแต่ตัวเดิมแสดงผลเป็นกรอบสี่เหลี่ยม แต่รุ่นใหม่จัดเต็ม

ลองดูในแต่ละมุมกันครับ รูปร่างหน้าตาดีไซน์ ยังคงเดิมเหมือนกับ Mi Smartband 5 แตกต่างที่ ขนาดไม่มากนัก

การจับคู่และเริ่มใช้งาน Mi Smartband 6

การจับคู่ใช้งาน เชื่อว่าผ่านมาหลายรุ่นแล้ว คงเป็นพื้นฐานในการใช้งานที่ทุกคนทราบในปัจจุบัน แต่ทว่าสำหรับ Mi Smartband 6 แล้ว ก็เหมือนเดิมแหล่ะ แค่มีทางเลือกในการใช้งาน ยังไงน่ะหรอครับ คือสามารถจับคู่ใช้งานผ่านแอป Mi Fit ที่ใช้งานมานานแล้วเหมือนเดิม กับผ่าน Xiaomi Wear แอปที่ Xiaomi กำลังพัฒนาและกำลังจะแยกตัวฉีกออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งจริงๆ เริ่มใช้งานได้แล้วตั้งแต่รุ่น Mi Smartband 5 เพราะเหตุคือ Amazfit ที่ตอนนี้ยังเกี่ยวกันอยู่ใน Mi Fit นั่นเองครับ ที่ไม่สามารถแอคทีฟอุปกรณ์ระหว่าง Amazfit และ Mi Smartwatch พร้อมกันได้ เพราะมองว่าเป็นอุปกรณ์ในค่ายเดียวกัน ดังนั้นการแยกแอปใช้งานจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่ง AmazFIT แยกไป ZEPP สักพักใหญ่ ส่วน Xiaomi ก็ไปทาง Xiaomi Wear ส่วนในบทความนี้ หรือที่ผมใช้งานอยู่ ก็จะยังคงอยู่บน Mi Fit นะครับ ยังคงใช้ข้อมูลเดิมต่อเนื่องมาถึง 6 ปีแล้ว ตั้งแต่รุ่น Mi Band 1, 1S เรื่อยมาจนรุ่นที่ 6 นี่่ละ  ซึ่งหากต้องการใช้งาน Mi Smartband 6 ที่เพิ่มเข้ามาล่ะก็อย่าลืมแอคทีฟเปิดใช้งานด้วยนะ หลังจับคู่เสร็จแล้ว จะแจ้งไว้ว่ายังไม่ได้เปิดใช้งาน กรณีหากมี Mi Smartband รุ่นเดิมเคยใช้งานก่อนหน้านี้

การใช้งานร่วมกับแอป Mi Fit

 

เริ่มใช้งานจริง จากเวลาที่ทดสอบประมาณหนึ่งเดือน การใช้งานเปิดเรียกว่าเกือบทุกฟังก์ชั่น จะมีก็เรื่องลดแสงหน้าจออัตโนมัติตอนกลางคืน ที่มีการตั้งค่าเป็นหลักเอาไว้ ที่เหลือพวกเปิดแทรคการนอน หัวใจ ความเครียด ทั้งหมดที่เปิด auto และเปิดความถี่ที่มากที่สุด รวมถึงการแจ้งเตือนต่างๆ แต่ก็เฉพาะแอป social ต่างๆ ล่ะครับ

    การแจ้งเตือนเป็นภาษาไทย

อันนี้คือไว้ใจได้ รวมถึงเมนูบนแอป Mi Fit ก็เป็นภาษาไทยด้วย ในการตั้งค่าต่างๆ ครบ หากเมนูเป็นภาษาจีน ให้เข้ามาที่การตั้งค่าบน Smartphone ของเราแล้วเปลี่ยนเมนูในตัวเครื่องให้เป็นภาษาอังกฤษ ส่วนการแจ้งเตือนจะเป็นภาษาไทยอยู่แล้ว อันนี้แอบเสียดาย ที่ Xiaomi ไม่ยอมใส่ภาษาไทยมาในเวอร์ชั่น CN/EN ทั้งๆ ที่มีภาษาอื่นๆ ให้เลือกเพียบ ซึ่งเรื่องการแจ้งเตือนภาษาไทยไว้ใจได้ แถมมีรายละเอียดมากขึ้นด้วยหน้าจอที่ขนาดใหญ่ขึ้นอีกด้วย

การใช้งานและอายุแบตเตอรี่

เรื่องแบตเตอรี่ งานนี้เค้าโปรโมตเอาไว้ที่ 14 วัน คงจะเป็นกรณีที่ใช้งานทั่วไป ไม่ได้เปิดสุด สำหรับส่วนตัวแล้วเมื่อได้ใช้งาน และมั่นใจแน่นอนว่า การเปิดใช้งานแบบที่ผมเกริ่นไป อยู่ได้ประมาณ 7 วัน เร็วสุดครั้งแรกคือ 5 วันเท่านั้นเอง แต่เฉลี่ยแล้ว จากหนึ่งเดือนที่ใช้งาน อยู่ที่ประมาณ 7 วันนะ ดังนั้นการใช้งานควรจะมีการปรับตามสิ่งที่เราคิดว่าใช้งานจริง ถึงจะเซฟแบตได้ หรือหากใครได้ใช้งานแล้วมีการทดสอบแล้วว่าได้ 14 วันตามที่โปรโมตไว้ก็ฟีดแบ็คกันได้นะ

แอป Mi Fit กับเรื่องสุขภาพ

 

สามารถแทรคเรื่องหัวใจได้ ซึ่งอันนี้คือให้เปิดตลอดวันเอาไว้ในการตั้งค่าได้เลย แต่ก็เลือกเวลาเอาว่าจะให้ถี่แค่ไหน

การแทรคแอคทิวิตี้ระหว่างวัน ก็ยังคงมีความละเอียด แต่อย่าถามว่าแม่นไหม ก็ยังเหมือนเดิม มีตรงบ้างแต่ส่วนใหญ่เวลาเราเคลื่อนไหว ก็แอาจจะแทรคเป็นเดิน หรือออกกำลังกายเบาๆ ก็ได้ ซึ่งอันนี้ปกติเลย ไม่มีค่ายไหนที่ถูกต้องและเที่ยงตรงนะครับ กิจกรรมอันนี้แสดงให้เราเห็นว่าเรามีความเคลื่อนไหวนั่นล่ะ

 

การนอน นอกจากการแทรคสถานะการนอนได้แล้ว ยังแทรคการงีบหลับระหว่างวัน รวมถึง ระหว่างการนอนยังวัดคุณภาพการหายใจได้อีกด้วย

คุณภาพของค่า PAI ก็เป็นตัวเลขที่ Xiaomi เอามาวัดว่า เรามีคะแนนมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีน้อยเกินไปจะทำให้เราเสี่ยงกับเรื่องสุขภาพ เค้าวัดจากการออกกำลังกายและความเคลื่อนไหวในแต่ละวัน ถ้าเรามีแอคทิวิตี้ทุกวันค่านี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนค่าที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ ความเครียด สามารถแทรคได้ทั้งวัน และค่า SpO2 ที่ต้องวัดเป็นรายครั้ง อันนี้ถ้าวัดอัตโนมัติทั้งวันได้จะดีมากแต่ก็คงจะโดนเรื่องกินแบตอีก รวมถึงรอบเดือนก็สามารถตั้งค่าเปิดใช้งานได้เช่นเดียวกัน

การออกกำลังกาย

 

ในช่วงโควิด แบบนี้เลยไม่ได้ทดสอบหลายอย่าง จากที่ใช้งานตอนนี้ที่ขาดไปคือ GPS ตอนแรกข่าวว่าจะมาพร้อมกับ GPS แต่สรุปก็ยังต้องอาศัย GPS จาก Smartphone ดังนั้นการแทรคเส้นทางการวิ่ง การปั่นในที่โล่งแจ้ง ก็ยังคงต้องพก Smartphone ไปด้วย เสียดายที่ไม่ได้ทดสอบว่ายน้ำ แต่เชื่อว่าจากการแทรคการเคลื่อนไหว 6 แกนจะทำให้แทรคท่าว่ายน้ำได้ถูกต้อง ส่วนโหมดการออกกำลังกายที่ใช้บ่อยก็คงเป็น freestyle และ กระโดดเชือก แต่ก็ยังรองรับการออกกำลังกายที่หลากหลาย ในที่ร่มก็ได้อีกเพียบนะครับ

 

การออกกำลังกายเรื่องการวิ่ง มีการแทรค VO2Max ด้วยนะครับ แม้ว่าจะเป็นแค่ Smartband แต่ก็ยังจับตรงนี้ให้ด้วย ส่วนอื่นก็ยังครบถ้วน

ส่วนของการปรับแต่งก็ยังคงปรับได้ ทั้ง watchface  และรายละเอียดของ Mi Smartband 6 ยังมีเรื่องการใช้งานรับสายโทรเข้า ที่มีแจ้งเตือนสายเข้า และสามารถกดส่งข้อความกลับไปได้

สรุปการใช้งาน Mi Smartband 6

สำหรับการใช้งาน Mi Smartband 6 นั้น ยังคงตอบโจทย์การวัดค่าต่างๆ ได้เป็นอย่างดี มีการตรวจจับความเคลื่อนไหว 6 แกนทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น มีฟังก์ชั่น SpO2 เหมาะกับการใช้งานในปัจจุบันในช่วง Covid-19 พอดี กว่าจะมาได้ วัดรอบเดือน ผญ ได้ด้วยนะครับ อันนี้ดีเลยมีประโยชน์ หน้าจอใหญ่ขึ้น ทำให้การใส่คำสั่งต่างๆ และการแสดงผลดีขึ้น ละเอียดขึ้น มีกราฟิคเคลื่อนไหว ดูสวยงามขึ้น กันน้ำกันฝุ่นยังคงมาตรฐานเดิม การใช้งานทุกอย่างเรียกว่าครบถ้วนล่ะครับ ที่ยังอยากได้ก็คงเป็นการวัด SpO2 ได้แบบอัตโนมัติทั้งวัน ถามว่าจำเป็นไหมก็คงไม่ แต่จะมีประโยชน์กับคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจริงๆ นั่นเอง หน้าจอกว้างขึ้น ใช้งานได้ดีขึ้น ฟีเจอร์ดีขึ้น แต่ก็แลกด้วยพลังงานที่ใช้งานเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้อายุการใช้งานลดลงนั่นเอง โดยประมาณอยู่ได้ 1 สัปดาห์ ก็ถือว่าไม่มากไม่น้อย อยู่ในระดับกลางๆ แต่ยิ่งพัฒนาฟีเจอร์ยิ่งมีเยอะก็ยิ่งกินแบตเป็นเรื่องปกติ โดยตอนนี้ราคาค่าตัวก็ประมาณพันกว่าบาท มีขายกันแล้วนะคร้าบ สักพักใหญ่ละ ลองดูกันได้ที่ Thaisuperphone กันได้เลย



ถูกใจบทความนี้  5