10 MHz (5MHz x 2) ที่เกินคาด! สรุป 7 ไฮไลท์ ความเปลี่ยนแปลงที่สะเทือนอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ หลังเอไอเอสได้คลื่น “Super Block” 1800MHz

แวดวงอุตสาหกรรมของผู้ให้บริการเครือข่ายในบ้านเราเกิดความเปลี่ยนครั้งสำคัญ หลังจากสิ้นสุดการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา โดยทางเอไอเอส และดีแทคต่างก็คว้าใบอนุญาตไปครองคนละ 1 ใบ ส่วนทางค่ายทรูนั้นเลือกที่จะไม่เข้าร่วมประมูล ทำให้วันนี้การถือครองคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการแต่ละรายเปลี่ยนแปลงไปแล้วเรียบร้อย

การที่เอไอเอสได้คลื่น 1800 MHz มาเสริมทัพในรอบนี้ แม้ว่าจะเป็นช่วงคลื่นจำนวน 10MHz (5MHz x2) แต่ด้วยการเลือกลงทุนอย่างมีกลยุทธ์ ทำให้เอไอเอสพลิกสถานการณ์การถือครองคลื่น ที่สะเทือนอุตสาหกรรมได้แบบที่เราคาดไม่ถึง โดยไฮไลท์ที่น่าจับตามองมีอะไรบ้าง PDAMobiz สรุปมาให้แบบสั้นๆ เจาะครบทุกประเด็นดังนี้ครับ

 

1. เอไอเอส รั้งตำแหน่งผู้นำ ที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 120 MHz (60 MHz x 2)

การประมูลครั้งนี้ ทำให้เอไอเอส มีคลื่นความถี่ในการให้บริการมากที่สุดในอุตสาหกรรม โดยมีจำนวนรวมถึง 120MHz (60 MHz x 2) ซึ่งแบ่งเป็น

1.คลื่น 2100 MHz ของเอไอเอสเอง จำนวน 30MHz (15 MHz x 2)

2.คลื่น 2100 MHz ที่ร่วมเป็นพันธมิตรกับ TOT จำนวน 30MHz (15 MHz x 2)

3. คลื่น 1800 MHz จำนวน 40MHz (20 MHz x 2)

4. คลื่น 900 MHz จำนวน 20MHz (10 MHz x 2)
ซึ่งนับเป็นการให้บริการด้วยคลื่นความถี่จำนวนมากที่สุดในไทย(รวมทั้ง Uplink และ Downlink จะเป็น 120 MHz) ที่พร้อมรองรับการให้บริการลูกค้ากว่า 40 ล้านเลขหมายได้แบบสบายๆ และการันตีได้ถึงคุณภาพเครือข่ายที่จะเร็วขึ้น แรงขึ้น หลังเปิดให้บริการคลื่นใหม่อีกด้วย

 

2. เอไอเอส ประกาศเปิดตัวย่านความถี่ 1800MHz ด้วยช่วงคลื่นที่เรียกว่า “Super Block” ทรงประสิทธิภาพสูงสุดในการให้บริการ 4G รายเดียวในไทย

“Super Block” 1800 MHz จำนวน 40 MHz (20 MHz X 2) ของเอไอเอส เป็นคลื่นความถี่ที่มีแบนด์วิธเหมาะสมที่สุดกับเทคโนโลยี LTE เพราะในเชิงเทคนิคแล้ว ตัวเทคโนโลยี LTE จะให้ประสิทธิภาพได้สูงสุด จำเป็นต้องมีคลื่น 1800 MHz ในจำนวน 40 MHz (20 MHz X 2) บนความถี่ที่ติดกัน ดังนั้นเมื่อเอไอเอสชนะประมูลคลื่นรอบล่าสุด ก็สามารถนำคลื่น 1800 MHz ใหม่อีก 10MHz (5 MHz x 2) มาควบรวมกับของเดิมที่มีอยู่ 30 MHz (15MHz x 2 ) ทำให้กลายเป็น “Super Block” 1800 MHz จำนวน 40 MHz (20 MHz X 2) แบบต่อเนื่องในบล็อคเดียวกัน
นับเป็นอีกก้าวของการพัฒนาทางด้านเครือข่าย เพื่อมอบประสบการใช้งาน 4G ที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภค ด้วยคลื่น 1800 MHz บนแบนด์วิธกว้างที่สุดจริง และพร้อมใช้ได้จริงไม่ต้องรอ

 

3. ความเร็วการใช้งาน 4G เพิ่มขึ้นทันที 15-30% และ Capacity รอบรับได้เพิ่มขึ้นอีก 33%

คลื่น 1800MHz เป็นคลื่นที่มีความสำคัญมากที่สุดในอุตสาหกรรรม เพราะเป็นคลื่นหลักในการให้บริการ 4G ดังนั้นศักยภาพของ Super Block จะเป็นจุดสูงสุดของการให้บริการ 4G ที่เต็มประสิทธิภาพ โดยประโยชน์ทั้งหมดจะตกเป็นของผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าเอไอเอส ที่จะได้ใช้งาน 4G เร็วขึ้นถึง 15 – 30% ยกตัวอย่าง จากเดิมความเร็วสูงสุดที่ 300Mbps แต่เมื่อได้คลื่นใหม่มาเสริมทัพแบบ Super Block ความเร็วจะเพิ่มขึ้นเป็น 390Mbps เลยดีเดียว รวมทั้งสามารถ เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการใช้งาน (Capacity) ของลูกค้าถึง 33 % เท่ากับว่าทั้งเร็วขึ้น แรงขึ้น คล่องขึ้น และพร้อมต่อการใช้งาน Data ที่จะสูงขึ้นในอนาคตอีกด้วย

 

4. สามารถใช้งานได้ทั่วประเทศทันที โดยไม่ต้องติดตั้งสถานีฐาน

หลังจากสิ้นสุดกระบวนการทางกฎหมายของใบอนุญาต (ราวๆ เดือนกันยายน 2561 นี้) เอไอเอส จะสามารถเปิดให้บริการคลื่นใหม่ได้ทันที โดยไม่ต้องติดตั้งสถานีฐาน หรืออุปกรณ์เพิ่ม ซึ่งมีสัญญาณครอบคลุมมากกว่า 98% ของพื้นที่ทั่วประเทศ ทุกจังหวัด ซึ่งลูกค้าเดิมก็จะได้ใช้งานคลื่นใหม่นี้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์หรือดีไวซ์ใหม่เช่นกัน เรียกว่าเป็นการ On Top ความเร็วให้ลูกค้า โดยที่ไม่ต้องเสียค่าบริการเพิ่มนั่นเองครับ

 

5. รองรับการใช้งานบนมือถือ 4G ได้ทุกรุ่น

อีกหนึ่งความดีงามของคลื่น 1800MHz คือเป็นคลื่นที่สามารถรองรับมือถือ 4G ได้ทุกรุ่น ทำให้การลงทุนเครือข่ายครั้งนี้ ลูกค้าได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบนย่านความถี่ Super Block กันถ้วนหน้า ตั้งแต่สมาร์ทโฟนไฮเอนด์ สเปคแรง ๆ ไปจนถึงมือถือรุ่นล่าง รุ่นกลาง หรือรุ่นไหนๆ งานนี้ลูกค้าเอไอเอสอุ่นใจได้เลยว่า จะได้ใช้งานแบบครอบคลุม ทั่วถึง สปีดเน็ตแรงขึ้น บนมือถือเครื่องเดิม

 

6. คลื่น 1800MHz ใช้ให้บริการ IoT ได้ด้วย!

การที่เอไอเอสที่ได้คลื่น 1800 MHz มาเสริมทัพในรอบนี้ ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้งานการให้บริการ IoT (Internet of Things) โดยปัจจุบันเอไอเอสให้บริการอยู่แล้ว ทั้งเครือข่าย NB-IoT บนคลื่น 900 MHz และเครือข่าย eMTC บนคลื่น 1800MHz นับเป็นการต่อยอด และขยายการให้บริการเครือข่ายสู่รูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้เพื่อการสื่อสารบนมือถือ ทั้งนี้ เอไอเอสเป็นผู้ให้บริการรายแรก และรายเดียวในประเทศไทย ที่มีทั้งโครงข่าย eMTC และ NB-IoT ครอบคลุมทั่วประเทศ รับรองโดย GSMA สมาคมผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมที่มีสมาชิกมากกว่า 800 รายทั่วโลก

 

7. คลื่น 1800 MHz มีแนวโน้มได้ไปต่อในยุค 5G

อีกสิ่งที่น่าจับตามองก็คือคลื่น 1800 MHz ยังเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่อยู่ในช่วงศึกษาหาความเป็นไปได้ ที่จะนำมาพัฒนาเพื่อให้สามารถให้บริการ 5G ได้ในอนาคต เพราะฉะนั้นการที่เอไอเอส มีคลื่น 1800 MHz ที่มีแบนด์วิธกว้างที่สุดถึง 40 MHz (20 MHz X 2) แบบต่อเนื่องกัน จึงเป็นการเตรียมพร้อมต่อการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีเครือข่ายในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

       สรุป

        มาถึงตรงนี้ก็คงพอช่วยคลายข้อสงสัยได้แล้วว่าการที่เอไอเอส ได้รับคลื่น 1800 MHz มาเสริมทัพอีก 10 MHz (5MHz x 2) จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในแบบสะท้านสะเทือนวงการในแง่มุมใดบ้าง อีกทั้งลูกค้าเอไอเอสทั้งรายเก่าหรือใหม่ต่างก็อดใจรอกันอีกไม่นาน เพราะตามแพลนแล้ว การขยับปรับเปลี่ยนในเชิงเทคนิคของคลื่น Super Block 1800 MHz จำนวน 40 MHz (20MHz x 2) รอบนี้สามารถเปิดให้บริการได้เลยทันที หลังจากสิ้นสุดกระบวนการทางกฎหมายของใบอนุญาต เพราะว่าไม่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข หรือต้องเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ ๆ เข้าไปเพื่อให้สามารถเปิดใช้งานแต่อย่างใด งานนี้บอกได้เลยว่าทางเอไอเอสพร้อมยกระดับการให้บริการแบบเต็มเปี่ยมประสิทธิภาพ และพร้อมต่อการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีเครือข่ายในอนาคต ให้สมกับการที่เป็นผู้นำเบอร์ 1 ตัวจริงของผู้ให้บริการธุรกิจโทรคมนาคมในบ้านเราครับ



ถูกใจบทความนี้  163