รีวิว D-link Gigabit router DIR 859 มาตรฐาน AC1750 สามเสาแรงๆ

d-link-AC-1750-review-000

จริงๆ ผมก็อยู่สาย network มาก่อน ก็พอรู้ข้อมูลมาบ้างเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งวันนี้ขอเอาเจ้า D-link Gigabit router ที่มีสเปคไม่ธรรมดา น่าใช้งานมาบอกเล่าให้ฟังก็แล้วกันครับ จริงๆ router นี่มีมานมนานก็มีการพัฒนากันมาเรื่อย สมัย ADSL บูมๆ นี่เรียกว่าฟองสบู่แตกเลย จริงๆ ยุคนี้ก็คงไม่ต่างกัน มีอัพเดทกันมาทุกปี อัพเดทตลอด จนล่าสุด D-Link ก็ออกรุ่นใหม่ล่าสุด สามเสา รองรับ dual-band ทั้ง 2.4GHz และ 5GHz เรียกว่าสำหรับ network ภายในบ้านที่เร็วและแรง รวมถึงรองรับเทคโนโลยีในปัจจุบันอย่างครบถ้วนด้วย D-Link รุ่น DIR 859 สนนราคาที่ 4590 บาท เท่านั้น

d-link-AC-1750-review-000

ปัจจุบัน router มีความสามารถและประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะเลย ต้องออกตัวว่าปกติก็ใช้ที่มากับบรรดาผู้ให้บริการต่างๆ ซึ่งรู้สึกถึงความเร็ว ความเสถียรที่ได้อย่างชัดเจนแต่ทว่าก็ยังมีบางอย่างที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะการรองรับการใช้งานเยอะๆ รวมถึงส่วนใหญ่ที่แถมมาให้ก็จะรองรับการใช้งาน Wi-Fi แค่ 2.4 GHz หรือ 802.11 a/b/g เท่านั้น แต่ยังไม่รองรับ 802.11 ac โดย DIR859 รุ่นนี้จะมาเติมเต็มการใช้งานที่อาจจะขาดหายไป และเสริมเน็ทเวิร์คภายในบ้านให้แข็งแรงขึ้น

โดยสามารถดูสเปคโดยรวมได้ที่นี่

d-link-AC-1750-review-001

 

ตัว D-Link เองมีหลายรุ่นให้เลือก สำหรับ DIR 859 รุ่นนี้อาจจะราคาแรงไปสักนิดสำหรับผู้ใช้มือใหม่สดๆ ซิงๆ แต่ถ้าต้องการความแรงล่ะก็ห้ามพลาด

d-link-AC-1750-review-002

ด้านหลังมีเปรียบเทียบ AC ต่างๆ ว่ามีความเร็วและจำนวนการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้เท่าไหร่? ซึ่งบน AC1750 รองรับอุปกรณ์ได้มากถึง 25 ตัวขึ้น แถมยังเป็น dual-band ที่ทำความเร็วได้ 450Mbps และ 1300Mbps เลยทีเดียว เรียกว่าการทำสตรีมมิ่งมีเดียต่างๆ ในบ้านไร้กังวลอย่างแน่นอน

d-link-AC-1750-review-003

อุปกรณ์ภายในกล่องก็ตามมาตรฐานล่ะครับ มีสาย Lan มาให้ด้วย


d-link-AC-1750-review-005

adapter ขากลม ใช้งานในบ้านเราสบายๆ 
d-link-AC-1750-review-007

หน้าตาของ D-Link DIR 859 ดูลุ๊คขรึมดี เป็นสีดำและมีสัญลักษณ์การเชื่อมต่อพอร์ทต่างๆ อยู่ครบถ้วน
d-link-AC-1750-review-008

ที่ด้านหลังจะมีพอร์ท LAN อยู่ 4 พอร์ท และ พอร์ทความเร็วสูง สีเหลืองที่เป็น Gigabit port มาให้อีก 1 พอร์ท รองรับระดับ GB ทำให้การส่ง data ภายในบ้านดีขึ้น

d-link-AC-1750-review-010

หน้าตาด้านหลังครับ เราจะเห็นว่ามีเสาให้ถึง 3 เสาด้วยกัน

d-link-AC-1750-review-017

 

มี WPS button อยู่ตรงนี้นะ เล็กๆ ตรงขวามือสุด เผื่อใครจะใช้รหัส WPS ในการจอยเน็ทเวิร์ค

d-link-AC-1750-review-018

ตรงท้ายหากดูดีๆ จะมีข้อความบอกด้วยว่าแต่ละพอร์ทเอาไว้ทำอะไร พอร์ทที่เท่าไหร่

d-link-AC-1750-review-011

เนื่องจากเป็น dual-band ทั้ง 2.4GHz และ 5GHz จึงออกแบบมาให้มี 3 เสา เพื่อกระจายสัญญาณทั้งสองคลื่นความถี่

d-link-AC-1750-review-012

ด้านล่างเป็นลักษณะรูระบายความร้อน

 

 

d-link-AC-1750-review-013

 

หากสังเกตดีๆ จะเห็นแผ่นปริ้นวงจรด้วย อ้อ มีรูรีเซ็ทด้วยนะครับ อยู่ตรงด้านล่างนี่่ล่ะ

d-link-AC-1750-review-014

การใช้งานหากใครไม่รู้จะตั้งค่ายังไง ทาง D-Link ก็เตรียม password เอาไว้ให้อยู่แล้วนะ รวมถึง WPS PIN ด้วย แล้วแต่สะดวกใช้แบบไหน โดยดูจากรอบๆ ตัวแล้ว ก็เหมือนกับ router ทั่วๆ ไปนี่ล่ะ แต่ฟังก์ชั่นต่างกัน เพียบนะ

การตั้งค่า

หากซื้อเครื่องมาใหม่ๆ แล้ว เปิดใช้งาน จำเป็นต้องมีการตั้งค่า เพราะว่าหากเป็น default บางทีเพื่อนบ้านใจดีอาจจะเข้ามาเปลี่ยน password หรืออื่นๆ ให้เสร็จเลยนะ และการตั้งค่าของ D-Link ก็ง่ายแสนง่าย (คลิ้กดูที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่นะครับ)

Dlink-DIR859-1

การตั้งค่าก็ไม่ยาก ผมชินกับการเข้าด้วย IP นะครับ โดยเปิดเครื่อง เสียบสาย LAN เข้ากับ Notebook จากนั้นก็เปิด browser ขึ้นมาแล้ว พิมพ์ตรง address bar 192.168.0.1 จากนั้นก็จะเข้าสู่หน้าจอที่เห็นด้านบนนี่ล่ะครับ ซึ่งเป็น wizzard ให้เราเลือก ง่ายมาก

Dlink-DIR859-2

ขั้นตอนถัดมาก็ให้เราเช็คเรื่องของการเชื่อมต่อต่างๆ ให้เรียบร้อย ทำตามภาพเลย

Dlink-DIR859-3

การตั้งค่าอินเตอร์เน็ท ปกติง่ายๆ ก็คือเราเลือกแบบ DHCP หรือหากใครอยากกำหนด IP เองก็แล้วแต่เลยครับอันนี้ แต่ user บ้านๆ อย่างผมก็ต้อง DHCP ตาม default มานั่นล่ะ

Dlink-DIR859-4

และถัดไปเป็นการตั้งค่าการใช้งาน Wi-Fi จะกำหนดให้ชื่อเหมือนหรือต่างยังไงก็ได้นะ และมีให้ตั้งทั้ง 2.4 GHz และ 5 GHz

Dlink-DIR859-5

ตรงนี้ล่ะที่แนะนำให้เปลี่ยน password admin สำหรับเข้าคอนฟิค router ตั้งแล้วห้ามลืมล่ะ

Dlink-DIR859-6

หน้าสรุปการตั้งค่า จะเห็นว่ากดไปไม่กี่ครั้งก็เสร็จพร้อมใช้งานแล้ว

Dlink-DIR859-7

พร้อมใช้หรือยังเอ่ย? มาถึงตรงนี้แล้วแสดงว่าผ่านฉลุย ถ้าไม่ผ่านก็ให้ย้อนกลับไปทำขั้นตอนแรกใหม่นะครับ

มาดูรายละเอียด config ใน router กันหน่อย

 

Dlink-DIR859-8

 

ต้องบอกว่าผมไม่ได้ใช้ router D-Link มานานมาก ไม่รู้ว่าทั้ง UI และการใช้งานจะง่ายขนาดนี้ มีรูปภาพให้รู้ด้วยว่าเชื่อมต่ออยู่หรือไม่

Dlink-DIR859-18

 

รองรับการเชื่อมต่อเน็ทได้หลายรูปแบบ

Dlink-DIR859-9

มีฟังก์ชั่นเต็มเลย

Dlink-DIR859-10

ทำ QoS ได้ ง่ายด้วย แค่จับลากมาวางแค่นั้นเอง อยากให้เครื่องไหนมีความสำคัญลำดับแรกก็ได้เลย

Dlink-DIR859-11

เรื่องของความปลอดภัย ก็จัด firewall มาให้ การตั้งค่าก็ง่ายเข่นกัน

Dlink-DIR859-12

หากในบ้านมีเด็กๆ ใช้งานอยู่ด้วย หรือต้องการจำกัดการใช้งานเว็บก็มี Websiter Filter จำกัดการเข้าเว็บได้

Dlink-DIR859-13

หากมีอุปกรณ์ network ภายในบ้านหลายๆ ตัวต้องการทำ routing ก็ได้เช่นกัน

Dlink-DIR859-14

Dyns DNS อันนี้ก็ปกติล่ะ

Dlink-DIR859-15

ระหว่างใช้งานก็มีกราฟแสดงปริมาณข้อมูลที่ใช้ด้วยนะ

Dlink-DIR859-16

 

หน้า admin อันนี้ก็ตามปกติล่ะครับ เปลี่ยน password ได้

Dlink-DIR859-17

ใครที่อยากเก็บ log ของระบบเอาไว้ก็มาตั้งค่าที่นี่เลย


Dlink-DIR859-20

สามารถเปิด Guest Zone จำกัดให้ใช้งานเฉพาะได้ด้วยนะ

คือ โดยรวมแล้ว ฟีเจอร์มีเยอะมาก ผมว่าก็คงใช้งานกันไม่หมดล่ะ และจากเสา 3 ต้นที่แรงๆ มีกำลังส่งมาก จะทำให้ใช้งานได้รวดเร็วและแน่นอนมากขึ้น รวมถึง portที่เป็น GB เอง ทำให้เพิ่งเลนส์การส่งข้อมูลปริมาณสูๆ ภายในบ้านของเราได้ง่าย ไม่เป็นคอขวดอีกด้วยครับ

 

Screenshot_2016-02-16-00-17-48-horz

และยังสามารถใช้ smartphone ตั้งค่าก็ได้นะครับ อันนี้วิธีเดียวกันง่ายๆ แต่ต่อผ่าน WiFi แล้วก็เข้าหน้าตา setup wizzard ได้เลย

 

d-link-AC-1750-review-019

 

สรุปกันสักนิด

router ในบ้านเรามีมากมายหลายแบรนด์ให้เลือก แต่ D-Link ก็มั่นใจได้เรื่องของการทำตลาดมานาน มีสินค้าใหม่ๆ ออกมาตลอดรวมถึง DIR 859 รุ่นนี้ด้วย ซึ่งรองรับ dual-band ทั้ง 2.4GHz และ 5.0 GHz เทคโนโลยีต่างๆ มีพร้อมใช้ เหมาะสำหรับบ้านที่ต้องการใช้งานโอนถ่ายข้อมูล รวมถึงมัลติมีเดียภายในบ้านแบบความเร็วสูง การใช้งานสตรีมมิ่งต่างๆ ก็ทำได้ดี ด้วย AC1750 ที่มีความแรงมาก เชื่อว่าบ้านขนาด 2 ชั้นในปัจจุบันก็ครอบคลุมแทบหมดบ้านเลยครับ สิ่งเดียวที่ยังขาดไปก็คงเป็นเรื่องของ USB Port สำหรับต่อเชื่อมกับ flash drive หรือ HDD เพิมเติม ก็เป็นที่น่าเสียดาย แต่ก็คงมีรุ่นที่มี  USB Port มารองรับอย่างแน่นอน สำหรับ D-Link DIR 859 AC1750 รุ่นนี้อยู่ที่สี่พันกลางๆ ก็ถือว่าสมน้ำสมเนื้อล่ะครับ

ขอบคุณ D-Link Thailand ที่ให้ยืมอุปกรณ์ทดสอบ

ถูกใจบทความนี้  1