เอ่ยชื่อ TP-LINK เชื่อว่าคนไทยเราคุ้นเคยกันมาช้านาน คงไม่ต้องอธิบายถึงที่มาที่ไปกันแต่อย่างใด แต่จากการที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เน็ตเวิร์ครายใหญ่ แล้วผันตัวเข้ามาสู่แวดวงของตลาด Smartpone ก็อาจจะทำให้ใครหลาย ๆ คนแปลกใจได้เช่นกัน โดยเฉพาะตลาดสมาร์ทโฟนในบ้านเรามีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดมาก เรียกว่าถ้าสายป่านไม่ยาว กลยุทธ์ไม่ดีจริง โอกาสม้วนเสื่อกลับบ้านมีสูงเช่นกันครับ แต่ถึงกระนั้นค่าย TP-LINK ยังมีความมั่นใจกับการโดดเข้ามาสู้ศึกในฐานะน้องใหม่ ด้วยการส่งสมาร์ทโฟนในตระกูล Neffos มาลุยตลาดด้วยกันถึง 3 รุ่น และทางเว็บของเราได้รับตัวน้องเล็กในรุ่น C5L มาทำการรีวิวเป็นที่เรียบร้อย มาติดตามอ่านกันครับ ว่าน้องใหม่ในแวดวงมือถือแต่เก๋ามาจากแวดวงเน็ตเวิร์คอย่าง TP-LINK จะสามารถเอาชนะใจผู้ใช้งานในบ้านเราได้หรือไม่
ขอขอบคุณ TP-Link thailand สำหรับเครื่องทดสอบและใช้ในการเขียนบทความนี้ครับ
สเปคเบื้องต้นของ TP-LINK Neffos C5L
- หน่วยประมวลผล Qualcomm® Snapdragon™ 210 MSM8909 ARM Cortex-A7 1.1 GHz 64-bit
- หน่วยประมวลผลกราฟฟิก Adreno 304
- หน่วยความจำภายใน 8GB และรองรับหน่วยความจำภายนอก MicroSD card ได้สูงสุด 32GB
- แรม : 1GB
- จอแสดงผล : ขนาด 4.5 นิ้ว FWVGA ความละเอียด 854×480 พิกเซล
- การเชื่อมต่อ 2G : 850, 900, 1800, 1900 MHz
- การเชื่อมต่อ 3G : 850, 1900, 2100 MHz
- การเชื่อมต่อ 4G FDD-LTE: band(1/3/7/8/20)
- รองรับการใช้งานในระบบ 2 ซิมการ์ด (Micro SIM)
- การเชื่อมต่อ Wi-Fi 802.11 a/b/g/n, Bluetooth V. 4.0
- กล้องหลักด้านหลังความละเอียด 8 ล้านพิกเซล + LED Flash
- กล้องด้านหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซล
- Android 5.1 Lollipop
- ขนาดตัวเครื่อง 136 x 67.7 x 10.15 มิลลิเมตร
- น้ำหนัก 154 กรัม
- แบตเตอรี่ 2000 mAh
- สีที่มีวางจำหน่าย ขาว ดำ
ราคาวางจำหน่าย 2,990 บาท
- ปล. รูปในบทความสามารถคลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ได้ครับ
Packaging & Accessories
ตัวกล่องมาในสไตล์เรียบ ๆ มีขนาดกะทัดรัด โดยด้านหลังกล่องจะแปะสเปคมาให้อ่านกันพอสังเขป
สำหรับอุปกรณ์ภายในกล่องที่ให้มาจะประกอบไปด้วย
1. อแดปเตอร์ชาร์จไฟชนิดขาแบบ ให้ Output มาที่ 5V-1A
2. สาย Micro USB สำหรับซิงค์และชาร์จไฟ
3. แบตเตอรี่ 1 ก้อน ความจุ 2000 mAh
4. ฟิลม์กันรอยหน้าจอ
5. คู่มือการใช้งานอย่างย่อ
Design & Hardweare
วัสดุหลักของ TP-Link C5L จะเป็นโพลีคาร์บอเนตหรือพลาสติดนั่นเอง มีการตัดขอบด้วยเส้นโลหะรอบตัวเครื่องในส่วนหน้าด้านบน ดีไซน์โดยรวมมีความโค้งมนและตัดขอบเป็นเหลี่ยมสันเล็กน้อย ในภาพรวมแล้วถือว่าพอใช้ได้ครับ ไม่ถึงกับแย่แต่ก็ไม่ได้โดดเด่นอะไรมากนัก
ในส่วนของ Build Quality ตรงนี้ทำการบ้านมาดีมาก ตัววัสดุและงานประกอบอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เมื่อจับสัมผัสแล้วให้ความรู้สึกแข็งแรงทนทาน แถมฟิลลิ่งในเรื่องของน้ำหนักตัวเครื่องก็ยังให้อารมณ์ที่หนักแน่น คือไม่เบาจนรู้สึกว่ามันเหมือนของเล่นราคาถูก ๆ สรุปในด้านวัสดุและงานประกอบของ TP-Link C5L เมื่อเทียบกับราคาตัวแล้วถือว่าสอบผ่านครับ
มาพูดถึง Handle การจับถือพกพากันต่อ TP-Link C5L มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 4.5 นิ้ว ที่ในยุคนี้จัดว่าเล็กไปแล้วสำหรับใครหลาย ๆ คน แต่ข้อดีที่เห็นชัดเจนก็คือการจับถือและใช้งานด้วยมือเดียวมีความสะดวกคล่องตัวที่ดีมาก ด้วยดีไซน์ด้านหลังที่มีความโค้งมนเล็กน้อย จึงช่วยให้สอดรับเข้ากับฝ่ามือและเพิ่มความกระชับในการจับถืออีกทั้งยังพกพาสะดวก สำหรับคนที่เน้นความคล่องตัวและใช้งานมือเดียวเป็นหลักน่าจะถูกใจกับขนาดของ TP-Link C5L ครับ
จากนี้มาสำรวจภาพรวมของตัว Hardware กันต่อครับ
TP-Link C5L มาพร้อมกับจอแสดงผลชนิด TFT LCD ขนาด 4.5 นิ้ว ความละเอียด FWVGA (854×480 พิกเซล) เนื่องจากตัวจอไม่ใช่พาเนล IPS เรื่องมุมมองจึงแคบกว่า ในกรณีใช้งานถ้ามองมุมตรงจะไม่รู้สึกมากนัก แต่เมื่อเอียงองศาของเครื่องจะเห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ความสว่างของหน้าจอก็เป็นอีกหนึ่งจุดอ่อนของ TP-Link C5L ที่ผมรู้สึกอึดอัด คือจอมันไม่ค่อยสว่างการใช้งานจึงต้องเร่งแสงจนสุดเลยครับ
ด้านหน้าส่วนบนของตัวเครื่องจะประกอบไปด้วย กล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซล และถัดจากตัวกล้องจะเป็นที่อยู่ของลำโพงสนทนาและชุดเซ็นเซอร์ Accelerometer และ Proximity Sensor
สำหรับ 3 ปุ่มควบคุมมาตรฐานของระบบแอนดรอยด์ จะเป็นแบบ Capacitive Button แต่ไม่มีไฟแบล็คไลท์มาให้ใช้งานนะครับ
ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. + พอร์ต Micro USB จะอยู่รวมอยู่ที่ด้านบนของตัวเครื่อง
ส่วนด้านซ้ายมือของตัวเครื่องจะเรียบ ๆ โล่ง ๆ ไม่มีพอร์ตหรือปุ่มใด ๆ สำหรับด้านขวามือจะประกอบไปด้วย ปุ่มเพิ่ม-ลดระดับเสียง และ ปุ่ม Power โดยวัสดุของปุ่มจะเป็นโลหะและมีการใส่ลวดลาย Texture ไว้บนปุ่มด้วยครับ เมื่อมองลงมาที่มุมด้านล่างจะเห็นร่องบากที่ใช้ในการแกะฝาหลังของ TP-Link C5L
ดูกันต่อที่ด้านหลังของตัวเครื่อง กล้องหลักมาพร้อมความละเอียด 8 ล้านพิกเซล มีไฟ LED แฟลช มาให้ใช้งาน 1 ดวง และข้าง ๆ เลนส์กล้องก็คือไมค์ตัดเสียงรบกวนครับ สำหรับหลักลำโพงมีเดียหรือลำโพงหลักจะจัดวางตำแหน่งอยู่ที่ด้านล่างมุมซ้าย เรื่องความดังอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แต่มีข้อดีคือแม้จะเร่งเสีงจนสุดก็ไม่มีอาการแตกพร้าให้ได้ยิน
รองรับการใช้งาน 4G ทั้งสองซิมการ์ดในแบบ Dual Standby แต่แอคทีฟใช้งาน Data 4G ได้ทีละซิมนะครับ ตัวเครื่องรองรับซิมชนิด Micro SIM ทั้งซิม 1-2 ส่วนช่องใส่ MicroSD จะอยู่ตรงกลางโดยรองรับความจุสูงสุดที่ 32GB
ในส่วนของการสำรวจ Hardware ภายนอกของ TP-Link C5L ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ครับ
Software & Featere
TP-Link C5L เปิดตัวมาพร้อมกับ Android 5.1.1 (Lollipop) สำหรับพื้นที่ของ ROM 8GB จะเหลือให้ใช้งานจริงราว ๆ 3.7GB
ตัว launcher จะครอบทับด้วย User Interface จากทางค่าย TP-Link ที่มาในสไตล์ Material Design และไม่มีหน้า App Drawer ตามสมัยนิยม แม้จะไม่ใช่ pure android แต่ในภาพรวมถือว่าทำ ROM ออกมาได้สะอาด ดูคลีนโดยไม่มีแอพ Bloatware มาให้รกและหนักเครื่อง
มีธีมให้เลือกปรับเปลี่ยนเพิ่มความสวยงามได้พอประมาณครับ แต่ความโดดเด่นจะไม่เท่าแบรนด์จีนเจ้าอื่น ๆ ที่เขาจะจัดเต็มได้มากกว่านี้ เช่นการที่มีธีมให้เลือกใช้งานอย่างหลากหลาย และสามารถดาวน์โหลดมาเพิ่มเติมได้ในภายหลังเป็นต้นครับ
ไม่มีแอพขยะให้รกเครื่อง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีแอพ Tools ที่ช่วยดูแลจัดการระบบมาให้ใช้งานนะครับ สำหรับ TP-Link C5L จะมีแอพ System Manager ที่เป็นศูนย์กลางในการดูแลและจัดการระบบของตัวเครื่อง เช่นลบไฟล์ขยะ, บริหารจัดการ การเชื่อมต่อข้อมูลดาต้า, เปิด-ปิดการใช้โหมดประหยัดพลังงาน, และการอนุญาตรันแอพในขณะเปิดเครื่องเป็นต้น นอกจากนี้ยังมี Tools ในแบบเบสิคมาให้ใช้งานอย่างพวก แอพบันทึกเสียง, แอพกระจกและไฟฉาย, สำหรับ Recent Apps ของ TP-Link C5L จะมีจุดเด่นตรงที่มาพร้อมระบบเคลียร์แรมในตัว ซึ่งมีประโยชน์มากครับเพราะ TP-Link C5L มีแรมให้ใช้งานเพียง 1GB นั่นเอง
มีฟีเจอร์ gesture ลาก 2 นิ้วเพื่อซ่อนแอพจากหน้าโฮม แต่โดยส่วนตัวผมมองว่าฟีเจอร์นี้ไม่ค่อยมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันสักเท่าไหร่
หน้า Dialer และแป้นพิมพ์ที่เลือกใช้คีย์บอร์ดของ Android Keyboard (AOSP)
Multimedia
มี FM Radio ให้ใช้งานแบบทศนิยม 1 จุด ภาครับสัญญาณอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง มีฟีเจอร์ Sleep Time มาให้ใช้งาน แต่ไม่สามารถบันทึกไว้ฟังในแบบออฟไลน์ได้นะครับ
Music Player อินเตอร์เฟซเรียบง่ายไม่มีฟีเจอร์ที่โดดเด่นอะไร ในหน้า Player จะเป็นรูปแผ่นเสียง เราสามารถ forward – backward ด้วยการหมุนจานแผ่นเสียง
- VDO Player เน้นไปที่ Playback จึงไม่ใส่ลูกเล่นหรือฟีเจอร์อะไรมาเลย แต่ยังดีที่สามารถเล่นในแบบหน้าต่าง Pop up ได้
Performance
สำหรับผลคะแนนถือว่าค่อนข้างธรรมดาครับ เพราะว่า TP-Link C5L ไม่ได้ชูจุดขายด้วยการอัดสเปคมาแบบจัดเต็มตั้งแต่ต้น อีกทั้งตัวชิปเซ็ตรวมไปถึง RAM ที่ให้มาเพียง 1GB ก็คงไม่ต้องไปเปรียบเทียบหรือคาดหวังอะไรมาก แต่ในแง่ของการใช้งานจริง ตัว TP-Link C5L ปรับแต่ง ROM หรือตัวเฟิร์มแวร์มาได้ค่อนข้างดีครับ หากเป็นการใช้งานทั่ว ๆ ไปก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันช้าจนอึดอัดแต่อย่างใด เรียกว่าพอประคองตัวรอดได้ แม้จะไม่ลื่นไหลสุด ๆ เท่าSmartphone beginner ในยุคนี้ที่ส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับ RAM 2GB แล้วก็ตามCamera & Sample
User interface หรือหน้าเมนูกล้องบน TP-Link C5L ดูเรียบง่ายสะอาดตา มีโหมดการถ่ายมาให้ใช้พอประมาณ ที่พอจะนับว่าโดดเด่นอยู่บ้างก็คือโหมด Intelligent ที่ตัว Software กล้องจะทำการเลือกซีนโหมดให้ตรงกับสภาพแวดล้อมแบบอัตโนมัติ และ Food Mode ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่ชื่นชอบการถ่ายอาหารและแชร์ไปยังโซเชี่ยลต่าง ๆ
เมนูการตั้งค่า มีให้เลือกปรับตั้งค่าได้เพียงเล็กน้อยครับ พวกฟีเจอร์หรือเอ็ฟเฟ็กต์สามารถเรียกใช้งานปรับแต่งในภายหลังได้จากตัวแอพ Gallery ที่มีอยู่ในตัวเครื่องครับ
จากนี้มาดูรูปถ่ายจาก TP-Link C5L กันได้เลยครับ
คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ได้ครับ
โหมดออโต้ ในวันท้องฟ้าครึ้ม ๆ หลังฝนตก
ลองเปิดใช้ HDR modeNormal mode
HDR mode
Normal mode
HDR modeNormal mode
HDR mode
กล้องหน้ากล้องหน้าไม่มีโหมดบิวตี้มาให้ใช้งานนะครับ แต่สามารถนำไปปรับแต่งในแอพ Gallery ได้ในภายหลัง
สรุป กล้อง TP-Link C5L
TP-Link C5L โปรโมตในโบว์ชัวร์ ชูจุดเด่นในเรื่องกล้องแบบพอประมาณ แต่ถ้าวัดจากเนื้อไฟล์และการใช้งานจริงของผม คุณภาพกล้อง TP-Link C5L อยู่ในระดับแค่พอใช้ได้ ไฟล์ภาพจะมีความฟุ้ง ๆ อยู่บ้างแม้จะถ่ายในสภาพแสงกลางแจ้งก็ตามที และ Software กล้องยังมีความหน่วงแบบรู้สึกได้ การใช้งานจึงไม่ราบเท่าทีควร เรียกว่าทุกรูปในบทความนี้ผมต้องใช้ฝีมือช่วยเยอะมาก ทั้งการถือกล้องให้นิ่งที่สุดเท่าที่จะทำได้ การเลือกมุมและสภาพแสงที่ไปถ่าย ถึงกระนั้นก็ต้องถ่ายเพื่อสำรองไว้เยอะกว่าจะได้ภาพที่ถูกใจ สรุปคือ มันพอใช้ได้ในระดับหนึ่งแต่อย่าไปคาดหวังอะไรมากนัก เอาไว้ใช้แชร์ขำ ๆ ผ่านโซเชี่ยลก็พอได้อยู่ครับ
สรุป TP-Link C5L
ข้อดี
1. วัสดุและงานประกอบดีมาก สมราคาค่าตัว
2. รองรับ 3G – 4G ทุกคลื่นความถี่ในบ้านเรา
3. มาพร้อม Android 5.1.1 และตัวเฟิร์มแวร์ปรับแต่งมาได้ค่อนข้างดี
4. แบตเตอรี่อึดพอประมาณสิ่งที่ต้องพิจารณา
1. ให้แรมมาเพียง 1GB ซึ่งในยุคนี้เริ่มที่จะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
2. คุณภาพกล้องยังไม่สมราคาคุย
3. หน้าจอไม่ค่อยสว่าง ต้องเร่งแสงจนสุด ซึ่งจะมีผลกับเรื่องของพลังงานอยู่บ้างก็คงจะฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ สำหรับรีวิว TP-Link C5L แล้วพบกันใหม่ในรีวิวทดสอบด้านเอนเตอร์เทนครับ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ ^^สามารถพูดคุยเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่หน้าเว็บบอร์ดเดิมครับ โดยคลิ๊กที่ลิงก์นี้ครับ >>> pdamobiz.com
You must be logged in to post a comment.