แคนนอนเปิดตัว ‘CANON EXPLORATORIUM’ ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์การถ่ายภาพ และการพิมพ์แห่งใหม่

Canon_1

  กรุงเทพฯ 8 กรกฎาคม 2559 – แคนนอน ผู้นำเทคโนโลยีด้านกล้องดิจิตอล และอิมเมจจิ้งชั้นนำระดับโลก ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัว “แคนนอน เอ็กซ์พลอราทอเรียม”   (CANON EXPLORATORIUM) ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์การถ่ายภาพ และการพิมพ์แห่งใหม่ใจกลางกรุง  ณ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 3 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อให้เยาวชน นิสิตนักศึกษา ที่สนใจเรื่องวิทยาศาสตร์และการถ่ายภาพได้เข้ามาเรียนรู้ด้วยตนเองแบบ Interactive ภายในยังมีพื้นที่จัดแสดงวิวัฒนาการเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพที่หาดูได้ยาก อาทิ กระบวนการดาแกโรไทป์ กล้องถ่ายภาพส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ฯ กล้องสายลับที่ใช้ในช่วงสงครามเย็น และกล้องนานาชนิดที่หาชมได้ยาก พร้อมเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมฟรี ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป   

 

Canon_3

มร.ฮารุกิ เทราฮิระ ประธานบริษัทและประธานกรรมการบริหาร บริษัท แคนนอน  มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า “แคนนอนให้ความสำคัญกับการค้นคว้าทดลองด้านเทคโลยี และ สนับสนุนการศึกษาด้านวิชาวิทยาศาสตร์มาโดยตลอด  จากความมุ่งมั่นอย่างไม่หยุดยั้งนี้ทำให้แคนนอนประสบความสำเร็จ และเป็นผู้นำด้านอิมเมจจิ้งจากอดีต จนถึงปัจจุบันนี้

 

Canon_2

Canon_4

Canon_5

Canon_6

Canon_7

Canon_8

Canon_9

ทั้งนี้ บ. แคนนอน อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อสร้าง “แคนนอน เอ็กซ์พลอราทอเรียม” (CANON EXPLORATORIUM) พร้อมกับการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพฯ ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 หรือเมื่อ 28 ปีก่อน และสนับสนุนอุปกรณ์แคนนอนครบวงจรเพื่อใช้เป็นสื่อการสอนเรื่อยมา จนกระทั่งปีนี้ (พ.ศ 2559)  เมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีแผนจะฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์ และห้องการเรียนรู้นี้ให้ทันสมัยขึ้น  บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด  ก็พร้อมสานต่อเจตนารมย์เดิมของ บ. แคนนอน อิงค์ ด้วยการปรับปรุงห้อง CANON EXPLORATORIUM ให้กลายเป็นศูนย์รวมเทคโนโลยีการถ่ายภาพและการพิมพ์ระบบดิจิตอลยุคใหม่  และเปลี่ยนวิธีการนำเสนอเป็นรูปแบบ Interactive ให้ผู้เข้าชมได้สัมผัส และทดลองใช้เครื่องมือต่างๆ ในศูนย์ฯ ได้ด้วยตนเอง ทำให้วิทยาศาสตร์กลายเป็นเรื่องง่าย ไม่ซับซ้อน  และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว”

 

Canon_59

Canon_60

 

โดยแคนนอนใช้งบประมาณทั้งสิ้น 3 ล้านบาทในการพลิกโฉม ศูนย์เรียนรู้วิทยาศาสตร์การถ่ายภาพ “แคนนอน เอ็กซ์พลอราทอเรียม” (CANON EXPLORATORIUM) ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แบบ Interactive ด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพครบวงจร ผู้เข้าชมจะได้เรียนรู้ระบบกล้องและเทคโนโลยีต่างๆ ผ่านการทดลองด้วยตัวเองและโต้ตอบกับส่วนจัดแสดงที่เป็นระบบ Interactive ทั้งหมด โดยจุดแรกเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานการถ่ายภาพ มีหน้าจอระบบสัมผัสเปรียบเทียบภาพให้เห็นความเปลี่ยนแปลงเมื่อผู้เข้าชมปรับตั้งค่าการทำงานต่างๆ ของกล้อง เช่น ขนาดเซ็นเซอร์ ขนาดรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ ค่า ISO การใช้เลนส์ ระยะโฟกัส ระบบป้องกันภาพสั่นไหว ค่าสมดุลแสงสีขาว และ HDR  เป็นต้น

 

Canon_61

Canon_62

Canon_63

Canon_64

Canon_65

Canon_66

Canon_67

Canon_68

ถัดมาเป็นเรื่องเทคโนโลยีการพิมพ์ ระบบสีที่ใช้ กระดาษ โดยมีการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างในคุณภาพของภาพที่ได้ อีกมุมหนึ่งเน้นเรื่องเทคโนโลยีและอุปกรณ์ในการบริหารจัดการเอกสารครบวงจร

ยังมีสมุดบันทึกภาพผู้มาเยี่ยมชมในระบบดิจิตอล (Digital Portrait Photo Guestbook) เปลี่ยนรูปแบบสมุดเข้าเยี่ยมชมแบบเดิมๆ ให้เป็นสมุดเยี่ยมชมในรูปแบบดิจิตอล ที่รวบรวมรูปภาพของผู้ที่มาเยี่ยมชมเป็นไฟล์ภาพ และแขกที่มาชมสามารถปรินท์ภาพกลับไปเป็นที่ระลึกได้อีกด้วย

 

Canon_69

ศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า“การเปิดศูนย์เรียนรู้วิทยาศาสตร์การถ่ายภาพ “แคนนอน เอ็กซ์พลอราทอเรียม” เป็นการเพิ่มเติมความหลากหลายให้กับพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพฯ โดยนอกจากผู้เข้าชมจะได้เรียนรู้เรื่องราวในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตของเทคโนโลยีด้านภาพจากสิ่งที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังได้สนุกกับการเรียนรู้แบบ Interactive ในห้องนี้อีกด้วย จึงเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ที่น่าสนใจซึ่งเยาวชนและผู้ที่รักการถ่ายภาพไม่ควรพลาด”

นอกจากศูนย์เรียนรู้วิทยาศาสตร์การถ่ายภาพ Canon Exploratorium แล้วในบริเวณเดียวกันนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่จัดแสดงวิวัฒนาการกล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์ กระบวนการถ่ายภาพตั้งแต่ยุคเริ่มต้น พ.ศ 2382 เช่น Daguerrotype, Wet and Dry Plate  กล้องถ่ายภาพส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กล้องถ่ายภาพยนตร์ส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 กล้องถ่ายภาพส่วนพระองค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ฯ กล้องหายากในอดีต เช่น กล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์มตัวแรกของโลก

กล้องรัสเซียที่เป็นต้นแบบของกล้องโลโม่ กล้องสายลับที่ใช้กันในช่วงสงครามเย็น ก๊อปปี้ภาพถ่ายภาพแรกของโลกที่ถ่ายโดยชาวฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1826 รวมถึงพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 4 ที่ส่งไปยังประเทศฝรั่งเศสเพื่อทำเป็นภาพขนาดจิ๋วสำหรับกล้องส่องที่เรียกว่า Stanhope เป็นต้น

 

บรรยากาศภายใน พิพิธภัณฑ์เทคโน โลยีทางภาพ ฯ

Canon_10

Canon_11

Canon_12

Canon_13

Canon_14

Canon_15

Canon_16

Canon_17

Canon_18

Canon_19

Canon_20

Canon_21

Canon_22

Canon_23

Canon_24

Canon_25

Canon_26

Canon_27

Canon_28

Canon_29

Canon_30

Canon_31

Canon_32

Canon_33

Canon_34

Canon_35

Canon_36

Canon_37

Canon_38

Canon_39

Canon_40

Canon_41

Canon_42

Canon_43

Canon_44

Canon_45

Canon_46 Canon_47

Canon_48

Canon_49

Canon_50

Canon_51

Canon_52

Canon_53

Canon_54

Canon_55

Canon_56

Canon_57

Canon_58

Canon_70

Canon_71

Canon_72

Canon_73

Canon_74

Canon_75

Canon_76

Canon_77

Canon_78

Canon_79

Canon_80

Canon_81

Canon_82

Canon_83

Canon_84

Canon_86

Canon_87

“แคนนอน เอ็กซ์พลอราทอเรียม” (CANON EXPLORATORIUM) และพิพิธภัณฑ์เทคโน โลยีทางภาพ ฯ ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ฯ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ พร้อมเปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-16.00 น. โดยไม่เก็บค่าเข้าชม ทั้งนี้หากสนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะ สามารถทำจดหมายเพื่อขอวิทยากรบรรยายได้ด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2218-5581-2

 



ถูกใจบทความนี้  0