คุณกำลังพลาดโอกาสติดต่อกับคนยุคเจนเนอเรชั่นซีอยู่หรือไม่ ?

Gen C Infographic

 สำหรับกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2524 ถึง 2543 หรือที่เราเรียกกันว่า กลุ่มมิลเลนเนียล ซึ่งเกิดและใช้ชีวิตในช่วงเริ่มต้นของยุคดิจิตอล โดยไลฟ์สไตล์ของคนกลุ่มนี้จะถูกเชื่อมต่อกับโลกดิจิตอลตลอดเวลา ทำให้พวกเขาถูกนับเป็นปัจจัยสำคัญในการทำกิจกรรมทางการตลาดสำหรับแบรนด์ต่างๆทั่วโลก   

 

Gen C Infographic
แต่เมื่อมองอีกมุมหนึ่ง หากมีกลุ่มคนที่ไม่ได้เกิดในช่วงเวลานั้นแต่มีไลฟ์สไตล์ที่คล้ายกับกลุ่มมิลเลนเนียล สิ่งนี้อาจจะทำให้หลายๆ แบรนด์ต้องพลาดโอกาสในการเข้าถึงคนกลุ่มนี้ไปเลยก็เป็นได้ ซึ่งสาเหตุข้างต้นก็นำไปสู่คำถามที่ว่า ทำไมเราจึงไม่แบ่งประเภทของกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรมการบริโภค แทนการจำแนกตามช่วงปีที่พวกเขาเกิดอย่างที่นิยมทำกันอยู่ในปัจจุบัน

 

จากผลสำรวจโดย กูเกิ้ล พบว่า กว่า 35 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มมิลเลนเนียล ยังคงมีความต้องการรับข้อมูลข่าวสาร และมีความสนใจในการค้นหาข้อมูลที่มาจากโลกออนไลน์เช่นเดียวกันกับกลุ่มมิลเลนเนียล แต่กลับถูกจัดให้อยู่ในอีกกลุ่มผู้บริโภค

 

ปัจจุบันการจัดแยกประเภทลูกค้าตามพฤติกรรมแทนอายุ จึงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับผู้ให้บริการ หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินเจนเนอเรชั่นซี (Generation C) หรือเจนเนอเรชันที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อจำแนกกลุ่มที่มี    ไลฟ์สไตล์ ความคิด และพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับกลุ่มมิลเลนเนียล ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่ต้องการเข้าถึงเนื้อหาที่เหมาะสมกับพวกเขา และยังสามารถเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ทุกแพลตฟอร์มได้ตลอดเวลาไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหน ซึ่งจากผลสำรวจอีกฉบับของกูเกิ้ล พบว่า กว่า 65 เปอร์เซ็นต์ของคนกลุ่มเจเนอเรชั่นซีอัพเดตข้อมูลบนโซเชียลเน็ต เป็นประจำทุกวัน และกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เลือกที่จะสร้างคอนเท้นท์บนโลกออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้ง แทนการเสพข้อมูลเฉยๆ

 

ถึงแม้ว่าคนกลุ่มเจนเนอเรชั่นซีจะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ แต่พวกเขาหลายๆคนไม่ยึดติดกับความคิดที่ว่า โครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย และการให้บริการเครือข่ายต้องถูกจัดการโดยคนกลุ่มเดียวกัน จึงทำให้พวกเขาเลือกที่จะให้ความสำคัญในสองด้านนี้แตกต่างกันออกไป โดยเจาะจงไปที่ ใครสามารถให้บริการและตอบสนองความต้องการได้ดีกว่ากัน โดยไม่สนใจว่า    ผู้ให้บริการเป็นเจ้าของเครือข่ายหรือไม่ ทั้งการที่พวกเขามองว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จึงทำให้ทุกคนในกลุ่มนี้ใส่ใจผลประโยชน์ของส่วนรวม และมีการตัดสินใจโดยอ้างอิงจากกระแสในสังคมเป็นหลัก ซึ่ง นีลสัน พบว่า กว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าในกลุ่มเจนเนอเรชันซีเลือกที่จะถามความเห็นจากผู้คนรอบข้างก่อนการตัดสินค้าซื้อสินค้าและบริการ

 

ใครคือคนในกลุ่มเจนเนอเรชันซี

ในฐานะผู้ให้บริการเครือข่าย การเข้าใจพฤติกรรมและความคิดของคนกลุ่มเจนเนอเรชันซีถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เราลองมาดูห้าสิ่งสำคัญในการเข้าหาและตอบสนองต่อความต้องการของคนกลุ่มนี้กัน

 

·         การสร้างคอนเท้นท์เฉพาะกลุ่ม – ข้อมูลที่กว้างและไม่เจาะจงอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในการเข้าถึงคนกลุ่มนี้ ดังนั้นกุญแจสำคัญเพื่อให้การให้บริการประสบความสำเร็จ ผู้ให้บริการควรคำนึงถึงประสบการณ์และผลลัพท์ที่อยากให้ลูกค้าได้รับเป็นจุดเริ่มต้น

 

·         ถ่ายทอดเรื่องราวอย่างเหมาะสม – หน้าเพจและข้อมูลที่กว้างไม่สามารถดึงดูดความสนใจของคนกลุ่มเจนเนอเรชั่นซีได้อีกต่อไป แต่เป็นการสร้างคอนเท้นท์ขึ้นมาโดยเฉพาะโดยไม่ต้องคำนึงถึงช่องทางการสื่อสาร ซึ่งรวมไปถึงการโฆษณาด้วย จากผลสำรวจ พบว่า 39 เปอร์เซ็นต์ของคนในเจนเนอเรชั่นซีจะไม่ต่อต้านโฆษณาบนโลกออนไลน์ หากโฆษณานั้นสามารถตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้

 

·         ใช้โซเชียลมีเดียให้เป็น – โซเชียลมีเดียกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงลูกค้าในกลุ่มเจนเนอเรชั่นซี เพราะพวกเขาส่วนใหญ่เชื่อมต่อกับทุกสิ่งบนโลกผ่านหน้าต่างโซเชียลมีเดีย และเลือกใช้ช่องทางนี้เพื่อสื่อสารถึงความเป็นตัวเอง ดังนั้นผู้ให้บริการควรสนับสนุนให้เกิดการแชร์บนโลกออนไลน์ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มขึ้นมาเพื่อเป็นเวทีให้พวกเขาใช้สื่อความเป็นตัวเองให้ทุกคนบนโลกได้เห็น เพราะคนในกลุ่มเจนเนอเรชั่นซีมักมองว่าตนเองเป็นผู้นำทางความคิดมากกว่าคนกลุ่มอื่นถึง 1.8 เท่า ทั้งยังชอบคิดว่า “มีหลายคนเข้ามาขอคำแนะนำจากเขาก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า”

 

·         สื่อสารด้วยแบรนด์ – สำหรับคนกลุ่มนี้ การมีสินค้าและบริการที่ดีอาจจะไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญเสมอไป เพราะการทำให้คนกลุ่ม เจนเนอเรชั่นซีมีความสนใจได้นั้น ผู้ให้บริการควรสื่อสารผ่านแบรนด์ไปพร้อมๆกัน ดังนั้น จุดยืนของแบรนด์จึงควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญต่อคนกลุ่มนี้ อาทิ ประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจในสังคม

 

·         เศรษฐกิจแบบผนึกกำลัง หรือ we economy – ผู้บริโภคกลุ่มนี้คาดหวังว่า ผู้ให้บริการจะรับรู้และเข้าใจความต้องการของตัวเองเป็นอย่างดี และสามารถตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้ เนื่องจากผู้บริโภคตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้ รวมไปถึงสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นแทนคนอื่นๆได้ด้วย ดังนั้น สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ให้บริการ คือการเข้าใจและสื่อสารกับผู้บริโภคโดยมองพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

 

ความสำเร็จอยู่ข้างหน้าแค่มองให้ลึกกว่าเรื่องอายุ

คนในเจนเนอเรชั่นซีถือเป็นกลุ่มคนที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน  จากผลการศึกษาพบว่า    คนยุคเจนเนอเรชั่นซี มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าและบริการสูงขึ้นถึง 3.6 เท่า หากสินค้านั้นมีความน่าสนใจ และมากกว่าครึ่งเลือกที่จะพิจารณาสินค้าและบริการนั้นหลังจากที่ได้ดูโฆษณาบนยูทูป ดังนั้นการจัดกลุ่มผู้บริโภคโดยไม่มองอายุจึงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่เต็มไปด้วยความกระตืนรือร้นอย่างกลุ่มเจนเนอเรชั่นซี ได้เป็นอย่างดี

 

###

เกี่ยวกับ แอมดอกซ์

แอมดอกซ์ ผู้นำทางด้านโซลูชั่นซอฟต์แวร์และบริการสำหรับผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสาร, เอ็นเตอร์เทนเมนต์ และมีเดีย ที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมไปถึง The New World of Customer Experience™ ที่นำเสนอนวัตกรรมการบริการส่วนบุคคลให้กับลูกค้าผ่านดีไวซ์และเน็ตเวิร์คทุกรูปแบบ กว่า 30 ปี โซลูชั่นต่างๆจากแอมดอกซ์ ซึ่งประกอบไปด้วย BSS, OSS, การจัดการเน็ตเวิร์ค และ Optimization รวมไปถึงบริการและการจัดการระดับมืออาชีพ ทำให้มูลค่าทางธุรกิจของลูกค้าเติบโตขึ้น โดยการลดความซับซ้อนของของระบบปฏิบัติการ, ลดค่าใช้จ่าย และใช้เวลาสำหรับวางแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่ๆ
แอมดอกซ์และพนักงานกว่า 24,000 คนให้บริการลูกค้าในกว่า 90 ประเทศ และอยู่ในรายชื่อ NASDAQ Global Select Market ในปีการเงิน 2015 แอมดอกซ์มีรายได้ 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

Amdocs: Embrace Challenge, Experience Success. ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.amdocs.com

แถลงการณ์จากแอมดอกซ์
ข่าวประชาสัมพันธ์นี้ประกอบไปด้วยข้อมูลตามข้อกำหนดด้านการคุ้มครองหลักทรัพย์เอกชนในการฟ้องร้อง พ.ศ. 2538 ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยรวมไปถึง ข้อมูลด้านการเติบโตและผลประกอบการทางธุรกิจในไตรมาสหน้า แม้เราเชื่อมั่นว่าการคาดการณ์ของเราจะดำเนินไปอย่างราบรื่น  แต่การลุงทุนมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่จะอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยภาวะความเสียงเหล่านี้อาจมาจากผลกระทบต่อภาวะทางเศรษฐกิจ โดยการเติบโตของแอมดอกซ์จะส่งผลในแง่ของการรวมของธุรกิจ  ผลกระทบด้านการแข่งขันในตลาด ซึ่งปัจจุบันนี้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาจจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์และการบริการล้าสมัยไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งอาจจะมีโอกาสในการสูญเสียความสัมพันธ์กับลูกค้าหลักของเรา และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในตลาดต่างประเทศ บริษัทจึงอาจจะต้องอัพเดทคำแถลงการณ์ตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม บริษัทขอสงวนสิทธ์ในการกระทำดังกล่าวตามที่เห็นสมควร สถานการณ์ที่มีความเสี่ยงต่างๆจะถูกวิเคราะห์และพูดคุยระหว่างบริษัทและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งประกอบได้วยการกล่าวถึง รายงานประจำปีในฟอร์ม 20-F สำหรับงบประมาณประจำปีในวันที่ 30 กันยายน 2559 และยื่นเอกสารภายในวันที่ 10 ธันวาคม 2558 สำหรับ 6-K forms จะสามารถยื่นได้ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ และ 17 พฤษภาคม 2559

 



ถูกใจบทความนี้  0