ทักทายวันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2018

สวัสดีวันอาทิตย์วันหยุดสุดสัปดาห์ครับ กาลเวลาเดินทางไวเหลือเกินโดยเฉพาะกับวันหยุดยาวซึ่งเผลอแปปเดียวก็ผ่านช่วงสงกรานต์เมื่สัปดาห์ก่อนมาเสียแล้ว หลายคนน่าจะรู้สึกเหมือนผมคือยังไม่รู้สึกว่าได้พักเลย และยังมีข่าวไม่สู้ดีกับเครือข่ายสีส้มอีกที่ไม่ได้ล็อคการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าในส่วนของภาพถ่ายบัตรประชาชนบนคลาวด์ทำให้ใครก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลดังกล่าวได้ ซึ่งพอทราบข่าวนี้หลายคนเลยเป็นกังวลกันไม่น้อยเลยล่ะ 

ต้องบอกก่อนว่าภาพถ่ายบัตรประชาชนบนคลาวด์ที่หลุดนั้นเป็นไฟล์ในรูปแบบ .jpg และ .pdf ซึ่งทุกภาพจะมีข้อความกำกับเอาไว้ว่า “ใช้เพื่อการลงทะเบียนเลขหมายใหม่กับทรูมูฟเอชเท่านั้น”  ซึ่งแแน่นอนว่าต้องมีการลงลายเซ็นต์ประกบเอาไว้บนสำเนานั่นเอง นั่นหมายความว่าหากมีผู้ประสงค์ร้ายมาดาวน์โหลดข้อมูลบัตรประชาชนดังกล่าวไปใช้งานก็จะสามารถกระทำได้เพียงเปิดซิมใหม่หรือเบอร์ใหม่กับทางทรูมูฟเอชเท่านั้นเพราะไม่ได้ระบุให้สามารถนำไปใช้อย่างอื่นได้นั่นเอง ตรงนี้ถ้าจะเสียหายจริงๆ ก็ตรงที่เราอาจมีค่าใช้จ่ายรายเดือนเพิ่มเติม ตรงนี้แนะนำให้ตรวจสอบผ่านทางแอปพลิเคชั่น True iservice ไม่ก็ทางผู้ให้บริการอีกทีผ่านช่องทางต่างๆ

ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่หลายๆ เพจนำไปตีความต่อว่าข้อมูลหน้าบัตรทำอะไรได้บ้างเช่น

  • เปิดบัญชีธนาคาร/บัตรเครดิต:
    กรณีเปิดบัญชีธนาคารต้องไปดำเนินการที่สำนักงานธนาคารซึ่งในการเปิดบัญชีเจ้าหน้าที่ธนาคารจะต้องให้ลงนามต่อหน้าพนักงานซึ่งจะต้องมีการขอบัตรประชาชนตัวจริงเพื่อตรวจสอบด้วย ดังนั้นการเปิดบัญชีจึงเป็นไปได้ยาก ส่วนเรื่องการเปิดบัตรเครดิตในปัจจุบันต้องบอกว่ามีการขายบัตรเครดิตผ่านทางโทรศัพท์หรือทางออนไลน์เยอะซึ่งจะใช้วิธีการให้แมสเซนเจอร์วิ่งเอกสารไปให้ถึงที่และใช้เพียงสำเนาบัตรประชาชนในการเปิดในกรณีนี้หากมีผู้ประสงค์ไม่ดีนำไปขอบัตรเครดิตเพื่อเปิดใช้จริง ก็จะต้องมีเอกสารประกอบอื่นนอกจากบัตรประชาชนอีก อาทิเช่น เอกสารแสดงรายได้ ซึ่งจะต้องตรงกับชื่อเจ้าของบัตรอีกจึงจะสามารถนำมาพิจารณาอนุมัติบัตรเครดิตได้ ฉะนั้นมันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดหรอก
  • ขอสินเชื่อ/กู้เงิน:
    กรณีนี้หนักกว่าข้อแรกอีก สำหรับการขอสินเชื่อหรือกู้เงินถ้าหากผ่านสถาบันการเงินแล้วจะต้องใช้เอกสารประกอบการพิจารณาสินเชื่อมากมาย ทั้งสำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, เอกสารแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน, Statement , วัตถุประสงค์การขอสินเชื่อ่, การลงนามให้ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร (ต้องลงต่อหน้าเจ้าหน้าที่) ฯลฯ ฉะนั้นถามว่าจะเอาไปกู้เงินเนี่ยมันง่ายนักหรอ ?
  • เช็คข้อมูลภาษี: สามารถนำไปตรวจสอบได้จริง แต่ถามว่ามันจะนำไปตรวจสอบให้ได้อะไรล่ะ ? มีแค่การแสดงสถานะว่ายื่นภาษีและได้รับคืนรึยังเท่านั้นเอง
  • ใช้ยืนยันตัวตน: สำหรับโลกออนไลน์สามารถใช้งานได้แน่นอนเพราะมีข้อมูลหน้าบัตรครบ กรณีนี้จะน่ากลัวที่อาจถูกสร้างบัญชีปลอมมาหลอกคนรู้จักเราให้โอนเงินไปให้ หรือนำหน้าเราไปซื้อขายของออนไลน์แล้วโกง เราเองจะเสียเครดิตนั่นล่ะ แต่วิธีนี้แค่เข้ามาขโมยรูปโพรไฟล์บน Facebook เอาคงจะง่ายกว่า

สรุปแล้วกรณีข้อมูลหลุดเนี่ยทางต้นสังกัดที่เก็บข้อมูลถือว่าผิดจริง แต่หากมีการลงนามกำกับพร้อมเขียนวัตถุประสงค์ชัดเจนแล้วการจะนำไปใช้ต่อกับการทำธุรกรรมอื่นๆ ก็ไม่สามารถกระทำได้ ฉะนั้นอย่างที่บอกไปว่าสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุดสำหรับการนำข้อมูลที่หลุดมาใช้คือการเปิดเบอร์ใหม่เท่านั้น นอกเสียจากว่าผู้ประสงค์ไม่ดีจะดาวน์โหลดข้อมูลดังกล่าวมาแล้วจัดการลบข้อความว่าใช้ทำอะไรและลายเซ็นต์ออกจึงจะสามารถนำไปใช้ต่อได้ แต่จะทำธุรกรรมต่างๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่ได้บอกไปข้างต้นครับ

zaint
(@zaintttt)
22 April 2018

ถูกใจบทความนี้  2