Editor Talk – เมื่อ Wearable ทั้งหลายที่ใช้วัดระดับน้ำตาลไม่ได้รองรับจาก FDA ทางเลือกเรามีอะไรบ้าง

มีประเด็นนึงที่น่าสนใจ มาเล่าให้ฟังกัน อย่างที่ติดตามกัน ผมค่อนข้างที่จะสนใจเรื่อง wearable หลากหลาย ที่ไม่ใช่แค่ใช้เพื่อความสะดวกในชีวิตประจำวัน แต่รวมไปถึงสุขภาพต่างๆ ล่าสุดมี Smart Ring ที่ออกมาเคลมว่าสามารถวัดระดับน้ำตาลหรือวัดกลูโคสได้ ซึ่งก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากอย่างที่รู้เรื่องสุขภาพปัจจุบัน ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่หลายช่วงวัยก็ล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกันมากขึ้น จากแอคทิวิตี้ และอาหารในปัจจุบัน ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เมื่อมี Smart device หรือบรรดา Wearable ต่างๆ ออกมาทำให้ติดตามผลได้อย่างสะดวก ก็ทำให้ได้รับความสนใจ แน่นอน อย่างนึงคือ การวัดค่ากลูโคส หรือระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าจะให้แม่นยำ หรือทำกันมานานเลยก็คือต้องเจาะเลือดออกมาตรวจ คือต้องวัดจากเลือดจริงๆ แต่ทว่าเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งเดาได้เลยว่าเป็นอัลกอริธึมในการคำนวณค่าออกมาอย่างบน Wearable ต่างๆ ทั้ง Smart Watch, Smart Ring ทั้งหลายที่จริงๆ มีออกมาสักพักใหญ่แล้วนะ แน่นอนว่ามีประเด็นเรื่องเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐกับจีนด้วย แต่มาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกปัจจุบันคือ FDA ที่เป็นองค์กรกลางที่อยู่ในสหรัฐนั่นแหล่ะ กลับมาตรงการคำนวณค่าต่างๆ ก็ทำให้มีรีพอร์ตออกมาให้ติดตามได้สะดวก  มาถึงตรงนี้คือการใส่อุปกรณ์เหล่านี้ ไม่ได้มีการเจาะเข้าไปในใต้ชั้นผิวหนัง แน่นอนว่าไม่ได้เอาเลือดเรามาตรวจโดยตรง ซึ่งผมเชื่อว่า ก่อนที่จะมีอุปกรณ์ออกมาขาย กันขนาดนี้ ก็ต้องมั่นใจในระดับนึง แต่ยังไงก็ยังไม่ได้ผ่านการรับรองการใช้งานอุปกรณ์ที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์อย่าง FDA นะ เหมือนแต่ก่อนนี้ก็มีบรรดา Apple Watch ที่วัดเรื่องความดันอะไรแบบนี้ ก็กว่าจะผ่านได้ก็ไม่ง่าย คือต้องใช้เวลา และอุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากไหนครับ? จีนนั่นเอง

นั่นคือทำให้มีผลพวง ที่หลีกไม่ได้อย่าง ทางด้านการค้า เพราะ หากมีการรับรองเทคโนโลยีนี้ สิ่งที่จะเกิดก็คือ พี่จีนจะได้เปรียบในทันที เพราะเทคโนโลยีนี้พร้อมแล้ว และพี่จีนมีขายกันเกลื่อนเมือง นั่นคือพอรับรองปุ๊ป พี่จีนทำตลาดได้ปั๊ป เป็นเจ้าตลาดทันที ในขณะที่ Apple Watch หัวหอกของสหรัฐนั้นยังต้องใช้เวลาพัฒนาและตรวจสอบ และจริงๆ มีอีกหลายขั้นตอนมากกว่าจะผ่านได้ เอาจริงๆ ในการขายในบ้านเราก็ไม่ง่ายนะ ที่จะผ่านการรับรอง จากองค์กรที่เกี่ยวข้องในไทย เพราะจริงๆ ก็อ้างอิงจาก FDA นั่นแหล่ะครับ ซึ่งในตลาดปัจจุบัน ที่มีเลือกซื้อกันอยู่ก็คือออนไลน์ และไม่ได้ผ่านการรับรองอะไรเลย ซึ่งถ้าให้แนะนำ ก็เอามาวัดค่าได้ แต่ต้องเอามาประกอบกับ ผลจากการตรวจจากคุณหมอที่โรงพยาบาล เพื่อดูค่าความคลาดเคลื่อน ว่าประมาณไหน สำหรับรายที่มีปัญหาจริงๆ แบบซีเรียส ยังไม่แนะนำอุปกรณ์เหล่านี้นะครับ แต่ถ้าต้องการแค่แทรคดูว่า ตอนนี้เกินไม่เกิน หรือจะตรวจสุขภาพแล้ว เอามาลองวัดดูว่าค่าน้ำตาลที่ตรวจกับที่เราวัดเอง เป็นอย่างไรบ้าง อะไรแบบนี้ ได้อยู่ หรือในรายที่ไม่ได้ซีเรียสมาก คือ ถ้าขึ้นหรือลง แบบฉับพลัน มันก็จะพอมีสัญญาณพอให้รู้อยู่ว่า ตอนนี้ต้องจัดการยังไง เช่นระดับน้ำตาลตก ต้องเพิ่ม อะไรแบบนี้ เพราะอย่างนึงผมเชื่อว่า อัลกอริธึมที่ทำออกมา จะไม่ได้ error จนขนาดที่ว่า ระดับน้ำตาลตก แต่ในรายงานที่วัดได้บน Smart device ทั้งหลาย จะบอกว่าน้ำตาลสูงเกิน จนต้องลดระดับน้ำตาล  แต่ถามว่ามีโอกาสไหม ก็เป็นไปได้ เพราะการสวมใส่ของเราไม่ได้นิ่งตลอดเวลา สมมติว่าบนข้อมือ เราก็อาจจะมีการเปลี่ยนตำแหน่ง มีปัจจัยอีกหลายอย่างที่อาจจะทำให้คลาดเคลื่อนได้ คล้ายกับวัดอัตราการเต้นของหัวใจในปัจจุบัน ที่บางทีก็เพี้ยนอยู่ในระดับนึง เอาเป็นว่า อันนี้อยู่ที่ดุลพินิจ เพราะเกี่ยวข้อมถึงชีวิตของเรา หรือผู้ป่วย ดังนั้น เค้าก็เลยไม่แนะนำให้ซื้อมาใช้เอง เพราะความเข้าใจในการใช้งานและวิเคราะห์ จริงๆ แล้ว ควรเป็นคุณหมอ เพราะคนทั่วไป ผมเชื่อว่าอย่างนึงที่ขาดคือ ความรู้ความเข้าใจในการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้อย่างท่องแท้ ก็เป็นที่มาที่ไปของความซีเรียสที่ FDA ออกมาแอคชั่นว่าอุปกรณ์เหล่านี้เชื่อถือไม่ได้นั่นเอง

มาถึงตรงนี้แล้ว หากใครที่มีปัญหาอยู่ ตอนนี้มีทางเลือก สำหรับผมที่ค่อนข้างบ้าในเรื่องอุปกรณ์พวกนี้ ก็มีติดตามอยู่เป็นระยะ และเอาจริงๆ แล้ว จะมาแนะนำอุปกรณ์ Wearable ที่ต้องบอกว่าเชื่อถือได้ มีการผ่านการรับรองจาก อย. หรือการนำเข้าอย่างถูกต้อง มีตัวแทนในไทย มีทั้งคุณหมอแนะนำ และจริงๆ สามารถที่นำมาใช้เองได้ไม่ยากอีกด้วย และแน่นอนว่าไม่ได้วัดจากการยิงเลเซอร์เข้าไปในชั้นผิว แต่เป็นการเจาะเข้าไปวัดในร่างกายเรา ก็คือคล้ายๆ เจาะเลือดแต่ แค่ไม่ได้เอาเลือดออกมาวัดด้านนอก แต่จะเป็นการติดเซ็นเซอร์ไว้ในผิวหนังเราและมอนิเตอร์กันตลอดเวลา ซึ่งจะได้รับความถูกต้องและแม่นยำ ข้อดีก็คือ ไม่ต้องเจาะหลายๆ ครั้ง บางคนคือพรุนไปหมด อันนี้คือเจาะครั้งเดียว ติดไว้ยาวๆ อาจจะสัก 10 วันขึ้นไป ซึ่งข้อเสียก็มีครับ เพราะมันเป็นเซ็นเซอร์ที่ติดตามร่างกายของเราตลอดเวลา คือบางทีมันก็จะรำคาญนั่นล่ะ กับเวลาอาบน้ำ มันก็มีโอกาสที่จะหลุดได้ เพราะจริงๆ ก็คืออุปกรณ์ที่เป็นเข็มเจาะใต้ผิวหนังเราไว้ และแปะกาวหรือสก๊อตเทปที่เค้าออกแบบมาว่าติดแน่น แล้วนั่นเอง แน่นอนว่าเรามีการขยับทำกิจวัตรประจำวันอยู่ แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ก็มีโอกาสหลุดได้นะ จะมากน้อยก็แล้วแต่แอคทิวิตี้แต่ละคน บางคนผมว่าก็ติดยาวๆ กันไปได้เลย ส่วนราคาค่าตัวสำหรับเรื่องสุขภาพ ก็เริ่มตั้นที่พันกว่าบาท ไปจนถึงเป็นหมื่น ก็อยู่ที่ว่าจะมอนิเตอร์กันกี่มากน้อย ซีเรียสแค่ไหน แต่ผมเชื่อว่าเพื่อสุขภาพ จ่ายได้ ทั้งหมดคือมีแอปเก็บข้อมูลเอาไว้ เพื่อมอนิเตอร์ และนำไปให้คุณหมอดูได้ ซึ่ง data ตรงนี้สำคัญมากๆ นะ  ผมจะเน้นเรื่องนี้ตั้งแต่พวก Wearable ตั้งแต่ช่วงแรกๆ แล้วล่ะ ซึ่งส่วนค่ายหรือแบรนด์ที่ทำให้ใทยอย่างถูกต้องที่แนะนำก็มี 3 ทางเลือก ICan I3 ผมว่าอันนี้มีราคาเหมาะสม ติดตั้งใช้งานง่าย ใช้ได้กับคนทั่วๆ ไป ทำเองได้ ไม่ต้องรอคุณหมอ Anytime CT3 ก็ถือว่าดี น่าจะดีสุดแล้ว แต่ราคาอาจจะขึ้นไปอีกนิด ส่วนนึง Yuwell C3 อันนี้ก็น่าสนใจ เพราะต้องไปพร้อมๆ กับคุณหมอ ที่น่าจะแนะนำได้ทั้งการใช้งานและการดูและรักษาแบบชัดเจนที่สุด ราคาก็สูงกว่า แต่สำหรับคนที่ซีเรียสเคสก็แนะนำทางเลือกนี้นะ ส่วนโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ใช้อันนี้ยังไม่มีข้อมูลเหมือนกัน ถ้ามีไว้แวะมาแปะให้อีกที แน่นอนว่าทั้งหมดนี้ก็ไปที่ https://www.elifegear.com/ ได้เลย ไม่ได้ค่าโฆษณานะ แต่เค้าทำด้านนี้โดยเฉพาะ มีการรับประกันชัดเจน มีการผ่านหน่วยงานที่รับรองในไทยเรียบร้อย คือเชื่อถือได้ ผมเองก็ว่าจะสั่งมาใช้งานอยู่ แต่ก็แค่แทรคและทดสอบเท่านั้นแหล่ะครับ กับจะเอามาวัดกับบรรดา wearable ในตลาด ถ้ามีเวลาจะลองเหมือนกัน จะได้รู้ว่าค่าความคลาดเคลื่อนมันมากน้อยแค่ไหน

สรุปเลยก็คือ ซีเรียสเคส ตอนนี้ผมก็ยังเห็นด้วยกับ FDA ที่ไม่ควรเชื่อหรือนำมาเป็นตัววัดหลัก ที่ใช้เป็นการตัดสินใจว่ามีผลแบบนี้ออกมาควรทำอย่างไรต่อไป เพราะด้วยหลายปัจจัยเสี่ยงเรื่องความแม่นยำที่บอกไว้นะ ส่วนด้านสุขภาพทั่วไป แค่อยากรู้ ผมว่าศึกษาเพิ่มเติมสักนิด ถึงความถูกต้อง ความแตกต่าง เอามาเป็นเกณฑ์ได้เบื้องต้น แต่อย่าเชื่อซะทีเดียว ควรมีตัวเปรียบเทียบ ง่ายๆ ก็คือฟังเสียงร่างกาย คือมีอาการยังไง อะไรบ้าง หรือเรากินอะไรไปบ้าง หวานมากหวานน้อย มีน้ำตาลมากไหม ถ้ากินเยอะ แล้วแอปมีรายงานว่าคงที่ ก็ต้องแทรคดูว่า กินแบบนี้ไปอาทิตย์นึง แล้วยังรายงานว่าน้ำตาลไม่ขึ้น แบบนี้ก็เอามาเป็นตัววัดไม่ได้นะ ซึ่งก็แล้วแต่บุคคลอีก อันนี้ผมก็ตอบไม่ได้จริงๆ เพราะแอคทิวิตี้การกิน การนอน การออกกำลังกายแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน แต่สุดท้าย ก็เป็น gadget อย่างนึงที่จะมาแน่ๆ ในอนาคต เพียงแค่ว่าจะช้าหรือเร็วแค่นั้น ก็ฝากเอาไว้เรื่องสุขภาพกับ wearable มาคุยกันได้นะ



ถูกใจบทความนี้  0